Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
IDis
•
ติดตาม
26 พ.ค. 2022 เวลา 13:29 • การเกษตร
เส้นใยไหม (Silk Fibre)
ได้ชื่อว่าเป็น “ราชินีแห่งเส้นใย” ได้มาจาก โปรตีนที่หนอนไหมขับออกมา เพื่อป้องกันตัวมันเองขณะเป็นดักแด้ แบ่งออกได้เป็น
ไหมดิบ (Raw Silk)
1. ไหมเลี้ยง [Mulberry Silk: ไหมบอมบิกซ์ มอริ (Bombyx mori)] เพาะเลี้ยงด้วยใบหม่อน มีสีค่อนข้างขาว ลอกกาวแล้วจะมีความเป็นมันวาว
2. Eri Silk เป็นผ้าไหมประเภทที่ไม่จำเป็นต้องฆ่าหนอนไหม จึงถูกเรียกว่า Peace silk หรือผ้าไหมที่สงบสุข เป็นผ้าไหมที่มีความคงทนกว่าผ้าไหมหม่อน
ไหมเลี้ยง (ซ้าย) - Eri Silk (ขวา)
3. Tasar Silk ผ้าไหมประเภทที่ถูกผลิตเป็นอันดับสอง ตัวหนอนมีสีเขียว ส่วนใหญ่มักพบในอินเดีย และญี่ปุ่น
4. Spider silk ใยไหมจากแมงมุม มีราคาแพงมากเนื่องจากมันไม่สามารถผสมพันธ์ได้เหมือนหนอนไหม มักใช้ทำเสื้อเกราะกันกระสุน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
5. Muga silk ใยไหมที่ผลิตในรัฐอัสสัมในอินเดียเท่านั้น ค่อนข้างเป็นที่รู้จักกันในวงแคบ มักใช้สำหรับ ผู้สูงศักดิ์ในรัฐ
6. Sea silk เส้นใยที่ทำจากหอยแมลงภู่สายพันธ์หนึ่งในทะเลเมดิเตอเรเนียน หรือเรียกอีกอย่างว่า “ผ้าไหมหอยแมลงภู่”
7. Coan silk มาจากหนอนไหมสายพันธุ์หนึ่งชื่อ Pacypasa atus ที่กินต้นสนจูนิเปอร์และต้นโอ๊ก ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในกรุงโรมโบราณ แต่หายากในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ผ้าไหมชนิดนี้จะใช้เพื่อเสริมสร้างเส้นใยชนิดอื่นๆ
เส้นใยไหมเป็นเส้นใยธรรมชาติชนิดเดียวที่เป็นเส้นใยยาว โดยมีความยาวต่อเนื่องตลอดเส้นที่เกิดจากรังไหมในแต่ละรัง ความยาวอยู่ระหว่าง 1,300–2,000 ฟุต (390–600 เมตร)
แต่ละเส้นของใยไหม ประกอบด้วยไฟโบรอิน (Fibroin) ที่มีลักษณะคล้ายกับเส้นใยสองเส้นเกาะติดกัน และเคลือบด้วยกาวไหมที่เป็น เซริซิน (Sericin)
องค์ประกอบและโครงสร้าง
80% ของการผลิตเส้นใยไหมทั่วโลกจะได้มาจากเส้นใยไหมเลี้ยง ไหมไทย มีเส้นใยเป็นสีเหลือง ค่อนข้างหยาบ มีส่วนประกอบที่เป็นกาวไหมมากถึง 38% (ปกติ = 20-25%) ทำให้ผ้าไหมไทยมีลักษณะเฉพาะตัว
กรรมวิธีการทำผ้าไหมไทย
การเลี้ยงไหม
วงจรชีวิตของไหมหรือหนอนไหมใช้เวลาประมาณ 45 – 52 วัน หนอนไหมจะกินใบหม่อนหลังจากฟักออกจากไข่ประมาณ วันที่ 10 จากนั้นจะหยุดกินอาหารและลอกคราบ ระยะนี้เรียกว่า “ ไหมนอน ” ต่อจากนั้นจะกินนอนและลอกคราบประมาณ 4 ครั้งเรียกว่า “ ไหมตื่น ” ลำตัวจะมีสีขาวเหลืองใสหดสั้น และหยุดกินอาหาร ระยะนี้เรียกว่า “ หนอนสุก ”
วงจรชีวิตไหม
ช่วงนี้ผู้เลี้ยงไหม ต้องรีบแยกหนอนไหมสุกออกจากกองใบหม่อน และเตรียม “ จ่อ ” คืออุปกรณ์ที่จะให้ตัวไหมเกาะเพื่อชักใยห่อหุ้มตัวหนอนจะเริ่มพ่นใยได้ประมาณ 6-7 วัน ก็จะสามารถเก็บรังไหมออกจากจ่อได้
การสาวไหม
เมื่อได้รับไหมสดจะต้องนำไปอบให้แห้ง จากนั้นนำไหมที่อบแห้งไปต้มในน้ำที่สะอาดที่มีคุณสมบัติเป็นกลาง รังไหมจะเริ่มพองตัวออก ใช้ปลายไม้เกี่ยวเส้นใยออกมารวมกันหลายๆ เส้น การสาวต้องเริ่มต้นจากขุยรอบนอกและเส้นใยภายในรวมกัน เรียกว่า “ ไหมสาว ” หรือ “ ไหมเปลือก ” ครั้นสาวถึงเส้นใยภายในแล้ว เอารังไหมที่มีเส้นภายในแยกไปสาวต่างหากเรียกว่า “ เส้นไหมน้อย ” หรือ “ ไหมหนึ่ง ”
การสาวไหม
การตีเกลียว
การตีเกลียวไหมจะช่วยทำให้ผ้าที่จะทอมีความหนา
การตีเกลียวไหม
การย้อมสี
การย้อมสีไหมจะต้องนำไหมดิบมาฟอกเพื่อไม่ให้มีไขมันเกาะ โดยจะใช้ด่างจากขี้เถ้าไปฟอกไหม เรียกว่า “ การดองไหม ” จะทำให้เส้นไหมขาวนวลขึ้น แล้วจึงนำไปย้อม
การทอผ้า
ขั้นตอนสุดท้ายก่อนที่จะออกมาเป็นผ้าผืน การทอผ้าไหมจะประกอบไปด้วยเส้นด้าย 2 ชุด คือ “ เส้นด้ายยืน ” จะขึงไปตามความยาวผ้า หรือแกนม้วนด้านยืน อีกชนิดหนึ่งคือ “ เส้นด้ายพุ่ง ” จะถูกกรอเข้ากระสวย เพื่อให้กระสวยเป็นตัวนำเส้นด้ายพุ่งสอดขัดเส้นด้ายยืนเป็นมุมฉาก ทอสลับกันไปตลอดความยาวของผืนผ้า
บันทึก
1
2
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย