Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Techsauce
•
ติดตาม
28 พ.ค. 2022 เวลา 01:00 • ธุรกิจ
ทำงานแบบ Hybrid คืออะไร? ทำไมบริษัทชั้นแนวหน้าถึงนิยม
1
หลังจากเกิดการแพร่ระบาดใหญ่ของโควิด-19 มาเป็นเวลานาน ส่งผลให้มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมายในโลกการทำงาน หนึ่งในนั้นคือการที่บริษัทต่างๆ หันมาใช้รูปแบบการทำงานแบบ Hybrid มากขึ้น
3
การทำงานแบบ Hybrid คือ การที่บริษัทอนุญาตให้พนักงานสามารถทำงานทางไกลได้บางวันผสมกับการทำงานที่ออฟฟิศ ซึ่งขึ้นอยู่กับบริษัทว่าจะให้พนักงานเข้าออฟฟิศกี่วันและทำงานทางไกลกี่วันต่อสัปดาห์ โดยปกติแล้วการทำงานแบบ Hybrid จะเป็นที่นิยมมากกว่าการทำงานทางไกล 100% เพราะสามารถนำมาปรับใช้ได้ง่ายกว่าและไม่ต้องลงทุนในการเปลี่ยนโครงสร้างการทำงานใหม่เท่าการทำงานทางไกลเต็มรูปแบบ
6
■
5 บริษัทชั้นนำที่ใช้การทำงานแบบ Hybrid
1
1. Apple
1
อุตสาหกรรม: เทคโนโลยี ซอฟต์แวร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อผู้บริโภค
รูปแบบการทำงาน: Hybrid, Office-first (ทำงานออฟฟิศเป็นหลัก)
1
Apple เป็นบริษัทเทคโนโลยีที่มีชื่อเสียงด้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ บริการออนไลน์ และซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ รวมถึงเป็นบริษัทเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดโลก เมื่อเดือนมิถุนายน 2021 บริษัทยักษ์ใหญ่ได้ประกาศให้พนักงานทำงานในออฟฟิศแค่ 3 วัน/สัปดาห์ และสามารถเลือกวันทำงานที่บ้านได้ 2 วัน/สัปดาห์
3
2. Microsoft
1
อุตสาหกรรม: เทคโนโลยี ซอฟต์แวร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อผู้บริโภค
รูปแบบการทำงาน: Hybrid
1
Microsoft เป็นบริษัทเทคโนโลยีที่นำรูปแบบการทำงานแบบ Hybrid เข้ามาใช้ตั้งแต่เริ่มมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยทางบริษัทอนุญาตให้พนักงานจากที่ไหนก็ได้ 50% ของเวลาทำงานหนึ่งสัปดาห์
3. Shopify
อุตสาหกรรม: เทคโนโลยี อีคอมเมิร์ซ
รูปแบบการทำงาน: Hybrid, Remote-first (ทำงานทางไกลเป็นหลัก)
เมื่อเดือนพฤษภาคม 2020 ซีอีโอของ Shopify ได้ทวีตว่า “Digital by default” เป็นการสื่อให้เห็นว่าทางบริษัทจะเริ่มทำงานแบบ Remote-first หรือทำงานทางไกลแบบเต็มรูปแบบ ส่วนใครที่อยากเข้าออฟฟิศก็สามารถทำได้เช่นกัน
3
4. Slack
3
อุตสาหกรรม: เทคโนโลยี ซอฟต์แวร์ และการบริการ
รูปแบบการทำงาน: Hybrid
1
ในปี 2020 Slack ได้เสนอทางเลือกให้พนักงานว่าจะทำงานจากที่บ้านแบบถาวรหรือจะเข้าไปทำงานที่ออฟฟิศก็ได้ นอกจากนี้ ตำแหน่งใหม่ๆ ก็เปิดรับสมัครผู้ที่ทำงานทางไกลมากขึ้น และจะนำการทำงานแบบ Asynchronous หรือการทำงานที่ไหนเมื่อไหร่ก็ได้ เข้ามาใช้กับการทำงาน เพื่อสนับสนุนให้พนักงานมีเวลาการทำงานที่เหมาะสมกับตัวเอง
1
5. Spotify
อุตสาหกรรม: เทคโนโลยี สื่อสตรีมมิ่ง
รูปแบบการทำงาน: Hybrid
Spotify ได้นำรูปแบบการทำงานแบบ Hybrid เข้ามาใช้ ทำให้พนักงานสามารถทำงานได้จากทั่วทุกมุมโลก อีกทั้งยังมีการจัดพื้นที่ไว้ทำงานร่วมกันหากพนักงานอยากทำงานในออฟฟิศแต่ไม่ได้อยู่ใกล้ออฟฟิศ
ข้อดี/ข้อเสียของการทำงานแบบ Hybrid
ข้อดีสำหรับบริษัทอย่างหนึ่งเมื่อให้พนักงานทำงานแบบ Hybrid คือ จะสามารถดึงดูดคนให้เข้ามาสมัครงานกับทางบริษัทได้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้บริษัทสามารถค้นหาคนที่ตรงกับความต้องการได้มากกว่าเดิม อีกทั้งยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายของบริษัทด้วย
4
นอกจากนี้ จากรายงานโดย Global Workplace Analytics ได้เผยว่า การมีทางเลือกให้พนักงานสามารถทำงานทางไกลได้ยังช่วยลดการลางานแบบกระชั้นชิดด้วย เพราะพนักงานมีเวลาจัดการธุระที่เกิดขึ้นแบบกะทันหันได้มากขึ้นโดยไม่ต้องลางาน
3
แต่การนำรูปแบบการทำงานแบบ Hybrid เข้ามาใช้ก็เพิ่มความท้าทายหลายอย่างให้กับฝั่งนายจ้างเช่นกัน เช่น ปัญหาการขาดความมีส่วนร่วมของพนักงาน เพราะการทำงานทางไกลทำให้ต้องมีการสื่อสารกันแบบออนไลน์ ซึ่งหมายความว่าทางบริษัทจะต้องมีการตั้งเป้าหมายการทำงานให้ชัดเจนและโปรแอคทีฟขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหานี้
1
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันสถานการณ์โควิดเริ่มคลี่คลาย ทำให้หลายบริษัทเริ่มให้พนักงานกลับเข้าไปทำงานที่ออฟฟิศ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วพนักงานก็ยังคงอยากทำงานทางไกลมากกว่า เพราะช่วยประหยัดเวลาและประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำงาน อีกทั้งการทำงานที่บ้านยังทำให้มีสมาธิในการทำงานมากกว่าด้วย
1
อ้างอิง :
https://www.hcamag.com/us/news/general/these-10-well-known-companies-offer-fully-remote-or-hybrid-work-arrangements/314596
1
ConNEXT คอมมูนิตี้ พื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้และความคิด เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่ เชื่อมคนรุ่นใหม่กับองค์กร และแบ่งปันสิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับชีวิตการทำงานและทักษะที่จำเป็น เพื่อก้าวสู่โลกการทำงานในอนาคตได้อย่างมั่นใจ
มาร่วม CONNEXT THE DOT ก้าวสู่โลกการทำงานอย่างมั่นใจไปด้วยกันกับเรา
Website :
https://techsauce.co/connext
Facebook :
https://www.facebook.com/ConNextTS
hybridworkplace
81 บันทึก
24
96
81
24
96
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย