28 พ.ค. 2022 เวลา 08:22 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
หากคุณผู้อ่านขับรถโลดแล่นบนท้องถนนไปมา แล้วสายตาเหลือบไปมองเห็นอุปกรณ์บางอย่างที่มีหน้าตาคล้ายกับกระโปรงผู้หญิงอยู่บนต้นเสาไฟฟ้า
21
แต่หากใครช่างสังเกตยิ่งไปกว่านั้นอีก จะยิ่งพบว่า..ทำไมไม่ติดกันทุกเสา แล้วขึ้นไปติดได้อย่างไร เราเรียกว่าอุปกรณ์กันงูค่ะ เพื่อไม่ให้งูหรือสัตว์เลื้อยคลานขึ้นไปทำอันตรายบนเสาไฟฟ้า
3
แล้วมีความทนทานต่อการใช้งานนานแค่ไหน ที่สำคัญ..กันงู กันกระรอกได้จริงหรือเปล่า วันนี้รุ้งจะพาเพลินไปหาคำตอบกันค่ะ
3
ปัจจัยหลัก.. สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดไฟดับเท่าที่มีการบันทึกมากที่สุด คือ เกิดจากสัตว์ “โดยเฉพาะงู” เมื่อเวลางูเลื้อยขึ้นบนเสาไฟฟ้าไปโดนกับสายไฟหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า โดยเฉพาะจุดที่เป็นจุดเปลือยหรือจุดต่อต่าง ๆ งูเลื้อยขึ้นอาจไปพลาดระหว่างสายเกิดเหตุช็อตกันทำให้ไฟฟ้าดับ
5
สาเหตุที่เหล่าบรรดาสัตว์เลื้อยคลานทำให้ไฟฟ้าดับนั้น คงไม่ใช่การแค่การเลื้อยขึ้นไปอย่างเดียว แต่เกิดจากการที่สัตว์ต่าง ๆ นั้น อาจจะไปโดนในส่วนหรือบริเวณรอยต่อของปลอกสายไฟที่ไม่มีฉนวนหุ้ม ทำให้เกิดไฟฟ้าช็อต
2
และเมื่อเกิดไฟฟ้าช็อตขึ้น ระบบจะมีการปิดสวิทซ์ไฟอัตโนมัติ ซึ่งทำให้เกิดไฟดับนั่นเอง แต่ไม่ใช่ว่าดับแล้วดับเลย จะมีระยะเวลาของมัน.. โดยการตัดครั้งแรกนั้นจะเว้นไว้ที่ 3 วินาที และจะเริ่มจ่ายไฟเข้าไปใหม่อีกครั้ง
1
แต่ถ้างูยังไม่มีการเคลื่อนย้าย ก็จะมีการตัดกระแสไฟอีกครั้ง ซึ่งคราวนี้นั้นจะใช้เวลา 60 วินาที แต่ถ้างูหรือสัตว์เลื้อยคลานตัวต้นเหตุนั้นยังอยู่กับที่คราวนี้ก็ถือว่าเป็นการดับถาวร
6
ขั้นตอนต่อไปจำเป็นต้องส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปแก้ไข ไฟดับ 2 ครั้ง ซึ่งมากกว่า 1 นาที จะมีผลกระทบมากในแง่ของโรงงานอุตสาหกรรม
2
และอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันพวกสัตว์ นก งู กระรอก ไม่ให้ขึ้นไปก่อเหตุบนเสาไฟฟ้าได้นั้น
2
เราเรียกว่า Snake guard หรือว่าอุปกรณ์ป้องกันอุปกรณ์ชนิดนี้ทำจากตาข่ายไนลอน ยึดโครงด้วยลวดอลูมิเนียม และไม่ได้ป้องกันเฉพาะงูอย่างเดียวป้องกันทั้งกระรอก ทั้งงู หรือว่าสัตว์เลื้อยคลานต่าง ๆ
6
ซึ่งคุณสมบัติของตาข่ายนั้นมีความยืดหยุ่น เมื่องูหรือว่าสัตว์เลื้อยคลานต่าง ๆ ขึ้นไปชนกับไนลอนนั้น ก็ไม่สามารถที่จะเลื้อยต่อได้นั้นเอง ซึ่งวิธีการติดตั้งเค้าจะไปติดตั้งกันตอนไหน เสาต้นไหนบ้างที่จะติด แล้วมีวิธีการติดตั้งอย่างไร วันนี้จะพาไปหาคำตอบ
2
อายุในการใช้งาน ไม่นานเท่าไรเพราะว่าโดนน้ำ โดนฝนจะผุง่าย การติดตั้งอุปกรณ์กันงูนั้น ต้องติดตั้งเวลากลางวันเพื่อความปลอดภัย ส่วนระดับในการติดตั้งนั้นก็จะสูงกว่ากิ่งไม้เพื่อป้องกันไม่ให้งูนั้นเลื้อยพาดมายังเสาไฟฟ้าได้
1
(SOURCE : https://youtu.be/q60y9PtZroc)
และเนื่องจากตาข่ายไนลอนนั้นมีอายุการใช้งานเฉลี่ยประมาณ 6 เดือน หลังจากนั้นจะเริ่มชำรุดทรุดโทรม
(SOURCE : https://youtu.be/q60y9PtZroc)
เจ้าหน้าที่การไฟฟ้านครหลวงจึงได้คิดค้นอุปกรณ์ป้องกันงูที่มีหน้าตาทันสมัยและทนทานกว่าเดิม
อุปกรณ์ป้องกันงูขึ้นเสา เดิมเป็นตาข่าย แต่พอเวลาใช้ไปเกิดชำรุดต้องไปติดตั้งใหม่ทำให้เสียเวลาตัวเดิมติดตั้งลำบาก
จึงได้คิดค้นอุปกรณ์ใหม่ ซึ่งตัวที่คิดค้นใหม่นี้มีลักษณะการใช้งานคล้าย ๆ กัน คือใช้อุปกรณ์เพียงแค่ขันน็อต 2 ตัว การติดตั้งสะดวกกว่า รวดเร็วกว่า การเก็บรักษาสามารถจัดเก็บไว้ในกล่องไม่แตก ไม่เสียหาย ทำจากพลากสติก
2
(SOURCE : https://youtu.be/q60y9PtZroc)
วิธีติด..ติดตามรูปเสา ประกบให้แน่น ๆ กันเลื่อนขึ้น-เลื่อนลง การติดอุปกรณ์กันงูจะติดเฉพาะเสาไฟฟ้าต้นที่อยู่ใกล้กับต้นไม้ หรือบริเวณที่มีโพรงหญ้า และมีความเสี่ยงต่อการเลื้อยคลานของงู แม้กระทั้งเสาไฟฟ้าต้นที่อยู่ในชุมชน หรือเขตอุตสาหกรรม
(SOURCE : https://youtu.be/q60y9PtZroc)
เจ้างูนั้นเป็นต้นเหตุทำให้ไฟฟ้าดับบ่อย ๆ จึงจำเป็นต้องติดอุปกรณ์ป้องกันงู เพื่อลดความเสี่ยงไฟดับ
(SOURCE : https://youtu.be/q60y9PtZroc)
นอกจากงูแล้วยังมีสัตว์อื่น ๆ ที่สร้างความเสียหายและเป็นต้นเหตุให้ไฟฟ้าดับ หนึ่งในนั่น คือ “นก” นั่นเอง อุปกรณ์กันนก หรือ Bird guard เรียกว่าหนามกันนก มีลักษณะเหมือนสะพานหนาม ซึ่งทำจากพลาสติก กันนกไม่ให้เกาะ
2
เมื่อนกมาเกาะบริเวณที่มีความเสี่ยงที่ทำให้เกิดไฟฟ้าเกิดช็อตได้ ก็จะสัมผัสกับหนาม และด้วยความแหลมคมนี้เองที่สัมผัสเข้ากับเท้านก..ทำให้นกบินหนี การช็อตก็จะไม่เกิดขึ้น
การไฟฟ้านครหลวงนอกจากจะคอยดูแลให้ไฟฟ้าติดตลอดเวลา และคอยอำนวยความสะดวกให้ประชาชน เจ้าหน้าที่เองก็ยังคอยสอดส่องป้องกันไม่ให้ไฟดับ โดยการคิดค้นอุปกรณ์ต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อป้องกันสัตว์เหล่านี้
1
ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ไฟฟ้าดับบ่อยครั้ง การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทั้งหมดเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ให้เกิดการสั่งจ่ายไฟฟ้าได้อย่างไม่ขัดข้องและเพื่อความปลอดภัยของสัตว์อีกด้วย
3
ที่มา
ภารกิจของเรา : คือการเติมความอยากรู้ของคุณด้วยการแบ่งปันข้อเท็จจริง หากคุณมีหัวข้อที่ต้องการให้เราพูดถึงและพูดคุย คอมเม้นท์ส่งข้อความถึงเราได้ตลอดเวลา 💡
โฆษณา