Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Mission To The Moon
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
27 พ.ค. 2022 เวลา 10:17 • ไลฟ์สไตล์
เมื่อกี้เราจะพูดเรื่องอะไรกันนะ? เป็นไหมเริ่มขี้หลงขี้ลืมเรื่องง่ายๆ มารู้จักอาการและสาเหตุกัน
เป็นไหม? จำหน้าได้แต่ก็นึกชื่อไม่ออก
บ่อยไหม? ที่เราลืมว่าเอาโทรศัพท์ไปวางไว้ที่ไหน
ตอนเช้าเราทานอะไรไปกันนะ?
หรือเมื่อกี้เราจะพูดเรื่องอะไรกันนะ? นึกไม่ออกสักที!
คำถามพวกนี้ดูเป็นคำถามง่ายๆ ที่ไม่ต้องคิดอะไรมาก แต่เชื่อไหมว่าเรากลับตอบไม่ได้ หรือต้องใช้เวลานึกนานเป็นพิเศษ ยิ่งแต่ละวันมีเรื่องให้ต้องใส่ใจมากเท่าไหร่ เราก็ยิ่งหลงลืมสิ่งอื่นๆ มากเท่านั้น
เป็นเรื่องธรรมดาที่คนเราจะเกิดอาการ ‘หลงลืม’ ได้ง่ายๆ เพราะในชีวิตประจำวันเรามักต้องสลับไปทำนู่นทำนี่อย่างเร่งรีบ จึงไม่แปลกเลยที่คนเราจะมีความทรงจำระยะสั้นเพิ่มมากขึ้นทุกวัน
จากผลการสำรวจจากบทความวิจัย Replication and Analysis of Ebbinghaus’ Forgetting Curve พบว่า 56% คนเราจะลืมเรื่องที่เกิดขึ้น เมื่อผ่านมาแล้ว 1 ชั่วโมง ขณะที่คนราว 66% มักลืมหลังจากเรื่องนั้นผ่านมาแล้ว 1 วัน และราว 75% ลืมหลังจากผ่านไป 6 วัน
มาดูกันว่าอะไรบ้างที่ทำให้เรามีอาการ “หลงๆ ลืมๆ”
[ ] เมื่อคนเราเจอการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในแต่ละวัน เช่น การสลับไปทำกิจกรรมหลายๆ อย่าง ความสามารถด้าน ‘การรับรู้’ ของเราจะลดลง
[ ] การทำงานหลายอย่างพร้อมๆ กัน ทำให้สมองของเราทำงานหนัก และหลงลืมได้ง่ายๆ โดยนักประสาทวิทยาได้อธิบายว่า สมองคนเราทำงานเหมือนกับคอมพิวเตอร์ที่เปิดแท็บ (Tap) ไว้พร้อมกันหลายๆ หน้าต่าง และเมื่อเราต้องทำหลายอย่างพร้อมๆ กันไป ก็เป็นไปได้มากเลยที่เราจะเป็น ‘คนลืมง่าย’
[ ] อาการลืมง่ายอาจมาจากความเครียดที่สะสม จากการวิจัยของ Dr.Shields ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา ระบุว่าผู้ที่มีความเครียดสะสมจะทำให้มี ‘ความจำระยะสั้น’ มากกว่าคนทั่วไป
[ ] การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ภาวะซึมเศร้า หรือการหลับแบบไม่เต็มอิ่ม ล้วนส่งผลกระทบต่อความทรงจำของเราทั้งสิ้น
[ ] การเล่นมือถือระหว่างที่เรากำลังทำสิ่งอื่นๆ ไปด้วย จะทำให้การเก็บเรื่องต่างๆ ไว้ในความจำยากตั้งแต่แรก เช่น ถ้าเราเล่นมือถืออยู่ แต่เพื่อนกลับพูดเรื่องสำคัญกับเราอยู่ ก็มีความเป็นไปได้ว่าเราจะต้องถามกลับไปใหม่ว่าเขาพูดอะไรไป
เมื่อรู้จักสาเหตุที่ทำให้เราหลงๆ ลืมๆ กันมาบ้างแล้ว ทีนี้ก็มาดูวิธีที่จะทำให้เรามี ‘ความทรงจำระยะยาว’ กันบ้างดีกว่า
[ ] ขั้นแรกเลยคือ ให้การ ‘ลืม’ เป็นเรื่องธรรมชาติ
ลองปล่อยให้ ‘อาการหลงๆ ลืมๆ’ เป็นไปตามธรรมชาติ เพราะหากเราหมกมุ่นกับการพยายามจำสิ่งต่างๆ จะยิ่งทำให้เรา ‘หงุดหงิด’ ง่าย และเมื่อเราหงุดหงิดง่าย อารมณ์ก็เข้ามาครอบครองพื้นที่การทำงานของสมองเรา ซึ่งก็จะยิ่งทำให้การเรียกเอาความทรงจำกลับมายากมากขึ้น
1
[ ] ขั้นที่สองคือ หยุดทำหลายสิ่งในเวลาเดียวกัน
เป็นเรื่องธรรมดาที่การระลึกหรือการพยายามนึกถึงสิ่งที่เราลืมไปแล้วจะทำได้ยาก ขณะที่การตั้งใจจำรายละเอียดต่างๆ ภายในครั้งแรกก็เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเช่นกัน โดย Dr.Kikus กล่าวว่าจริงๆ แล้วเราควรใส่ใจกับการดำเนินกิจวัตรเล็กๆ ในแต่ละวันก่อน อย่างตอนที่เราแปรงฟันก็ควรตั้งใจแปรงฟันอย่างเดียว โดยสิ่งที่ห้ามทำเลยคือ การแปรงฟันไปพร้อมๆ กับการเล่นมือถือ
1
หากใครรู้สึกว่าจำอะไรไม่ได้ อาจลองหันกลับมาให้ความสนใจกับกิจวัตรเล็กๆ ที่เราทำเป็นประจำในทุกวันแบบทีละอย่างก่อน เพื่อไม่ให้สมองของเราต้องทำงานหนักราวกับคอมพิวเตอร์ที่ถูกเปิดไว้หลายหน้าต่างมากเกินไป
[ ] ขั้นที่สามคือ ทำให้สมองปลอดโปร่ง
Dr.Mednick ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาประจำมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ระบุว่า ความเครียดและการคิดมากจะลดประสิทธิภาพการทำงานของสมองส่วนกลีบหน้า ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการจดจำและการนึกคิด
นอกจากนี้ เขายังให้คำแนะนำวิธีที่จะทำให้สมองของเราปลอดโปร่ง ผ่านการเล่นโยคะ หรือการสนทนากับคนรอบข้าง ซึ่งวิธีนี้ยังช่วยลดความคิดลบ (Toxic) ออกจากสมองได้ด้วย เมื่อเรามีสมองที่ปลอดโปร่งก็จะยิ่งทำให้เราถูกรบกวนได้น้อยลง
[ ] ขั้นที่สี่คือ จดจ่อเมื่อผู้อื่นพูด
เมื่ออยู่ในวงสนทนาที่มีคู่สนทนาจำนวนมาก การ ‘ลืมไปว่าเราจะพูดอะไรกัน’ จึงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้บ่อยๆ หรือบางทีเราก็มักลืมไปว่าคู่สนทนาของเราชื่ออะไรกัน?
การหลงลืมถือเป็นเรื่องปกติในวงสนทนาขนาดใหญ่ แต่ก็อาจสร้างความอึดอัดต่อคู่สนทนาได้ ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดสถานการณ์ชวนอึดอัดใจ เราก็ควรที่จะให้ความสนใจและจดจ่อกับสถานการณ์ตรงหน้า รวมถึงฝึกพบปะผู้คนหรือการพูดคุยบ่อยๆ ก็จะช่วยให้เรามีทักษะการจดจำได้มากยิ่งขึ้น
เรียกได้ว่า ไม่ว่าจะอายุเยอะหรือน้อยก็ต้องเคยมีอาการ ‘หลงๆ ลืมๆ’ กันมาบ้าง แม้ว่าระดับความรุนแรงจะแตกต่างกัน แต่เราก็อดรู้สึกหงุดหงิดไม่ได้ใช่ไหม เวลาที่ต้องนึกอะไรที่ลืมไปแล้วให้ออก ดังนั้นการค่อยๆ ปรับวิถีชีวิตให้ช้าลง เพื่อจดจำรายละเอียดเล็กๆ ในชีวิต การใส่ใจและจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็จะช่วยให้เรามีสมาธิ และยังเป็นการสร้างนิสัยที่ดีที่จะเสริมสร้าง ‘ความทรงจำ’ ระยะยาวได้อีกด้วย
อ้างอิง
https://on.wsj.com/3wCdgjI
https://bit.ly/3ySAFAi
https://bit.ly/3ze7WpR
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast
#softskill
missiontothemoon
พัฒนาตัวเอง
15 บันทึก
12
16
15
12
16
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย