27 พ.ค. 2022 เวลา 14:55 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ราคาหุ้นขึ้นลงจากอะไร ? เป็นคำถามที่นักลงทุนสงสัยและถามกันเข้ามาบ่อยมาก วันนี้แอดมีคำตอบให้ครับ
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า หุ้นของบริษัทต่างๆ นั้นมี Underlying Asset การซื้อหุ้นจึงเปรียบเสมือนการซื้อธุรกิจ กำไรขาดทุนของบริษัทจึงมีผลกระทบโดยตรงต่อราคาหุ้น เนื่องจาก หากกำไรของบริษัทมาก ผู้ถือหุ้นก็จะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นตัวนั้นมากขึ้นในรูปของเงินปันผล รวมไปถึงส่วนต่างราคา (Capital Gain)จากการที่ราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นนั่นเอง
เราจึงมักเห็นกันบ่อยครั้งว่าหลายๆบริษัทที่มีแนวโน้มผลประกอบการออกมาถดถอยลง หรือมีผลประกอบการที่ขาดทุน ไม่ว่าจะสาเหตุมาจากภาวะเศรษฐกิจ หรือการแข่งขันที่รุนแรงในอุตสาหกรรม ราคาหุ้นมักปรับตัวลดลงมาสะท้อน Performance ของบริษัทที่ทำได้ในขณะนั้นหรือจากการคาดการณ์ของนักลงทุนนั่นเอง
โดยหลักแล้ว ปัจจัยที่ทำให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้น ลง มีอยู่ด้วยกัน 2 มิติ ได้แก่ Fundamental และ Valuation
1)Fundamental
หากเราจะวัดผลการดำเนินงานของบริษัท เราจะใช้ "กำไรต่อหุ้น" (EPS)โดยจะพิจารณาในส่วนของศักยภาพในการทำกำไรของบริษัท และสร้าง Financial Projection ขึ้นมาช่วยในการคาดการณ์ผลประกอบการ หากนักลงทุนมองว่า บริษัทน่าจะมีผลประกอบการที่ดี กำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้น จึงตัดสินใจลงทุนในหุ้นตัวนั้น จากมุมมองที่คาดหวังต่อตัวบริษัทเช่นนี้ จึงส่งผลให้ราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้นจากแรงซื้อที่มีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง
2)Valuation
การประเมินมูลค่า เป็นเรื่องที่ทั้งผู้ลงทุนและผู้ประกอบการให้ความสำคัญ ผู้ลงทุนก็อยากจะทราบว่ากิจการที่จะเข้าไปลงทุนนั้น ควรซื้อที่ราคาเท่าไร ผู้ประกอบการก็ต้องการทราบว่าจะต้องขายด้วยราคาเท่าไร
เราจึงใช้ P/E Ratio ย่อมาจากคำว่า "Price to Earning Ratio" ซึ่งจะสะท้อน “ความคาดหวัง” ของนักลงทุน ว่าจะยอมซื้อหุ้นแพงกว่าเป็นกี่เท่าของ “กำไรสุทธิ” หากนักลงทุนมองว่าหุ้นราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงมากหรือที่เรียกว่ามี Margin Of Safety สูง เขาก็จะซื้อ ถ้าราคาหุ้นแพงกว่าก็ต้องขาย ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นลงนั่นเอง
โฆษณา