28 พ.ค. 2022 เวลา 01:16 • การศึกษา
#MoneyRules : กติกาเรื่องเงิน ที่ชีวิตจริงสอนผม
#กติกา 9 “เก็บเงินมาทั้งชีวิต อย่าปล่อยให้เงินปลิว (จงปิดความเสี่ยงซะ!)”
#MoneyRules เป็น เรื่องราวและมุมมอง
ของมนุษย์เงินเดือนคนนึง
ที่มองว่าเรื่องเงิน แท้จริงแล้ว
ก็ไม่ต่างกับ "กติกาชีวิต"
เราแค่ต้องรู้ ก่อนลงเล่นแต่ละเกม
แล้วเราจะสนุก และไม่สะดุดขาตัวเอง
.
#เกรินนำ
แก็ปเชื่อว่า เพื่อนๆ หลายคน
ที่มีวินัย “เก็บเงิน” อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง
จนตอนนี้มีเงินก้อน
ย่อม “รักและหวงแหน” มันอย่างแน่นอน
“นี่มัน น้ำพัก น้ำแรงของฉัน!!“
// ยินดีด้วยครับ คุณผ่าน หัวใจดวงแรกของ
หลักการบริหารเงิน คือ “มีเงินเหลือ” //
และเชื่อว่า เพื่อนๆ ต้องคิดต่อแล้วหละ
ว่าจะทำให้ยังไงดีนะให้เงินต่อเงิน
ให้เงินมันงอกไว้ๆ
ผมเดาถูกต้องไหมละ!!
อยากเตือนแบบนี้ครับ
ก่อนจะกระโดดไป “ลงทุน”
หรือ สร้างความมั่งคั่งในชีวิตตัวเอง
อย่าลืม “ปกป้องเงิน” ตัวเอง
ด้วยการลองดูว่า
ชีวิตนี้มีความเสี่ยงอะไรบ้าง
แล้วค่อยๆ ปิดมันซะ
เพราะหัวขโมยที่เก่งที่สุด
ที่จะมาเอาเงินที่แสนหวงแหนไป
คือคนที่ชื่อว่า “ซวยจังวะ”
“ไม่คิดว่าจะโดน” “ไม่น่าเลย”
หรือ อาจจะไม่ได้ทันพูด แต่กลับ
ทิ้งภาระหนี้ก้อนโตไว้ให้คนข้างหลัง
เพราะ จากไปก่อนวัยอันควร
แล้วบังเอิญญญ เจ้าหัวขโมยคนนี้
ดันมีนิสัย ที่ชอบมาหาเรา
ในวันที่เรา “ไม่พร้อม” ด้วยซิครับเพื่อนๆ
ทำอย่างไรดี และ มีแนวคิด หรือ
หลักการจัดการเรื่องนี้อย่างไร?
วันนี้ #gapper3M จะมาเล่าให้ฟังครับ
#เข้าสู่เนื้อหา
ก่อนอื่นเลย อยากให้ทุกคนรู้จักกับคำว่า
“ความเสี่ยง” ก่อน ว่าในทุกๆ วันที่เราใช้ชีวิตเนี่ย
จะมีหลุมระเบิดอะไรบ้าง ที่มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้
เราลองไปสำรวจตัวเองกันดูครับ
.
4 ประเภทของความเสี่ยง
1.ความเสี่ยงส่วนบุคคล
คือความเสี่ยงที่เกิดจากตัวเรา
ทำให้ความสามารถในการหารายได้หายไป
เช่น เสียชีวิตก่อนวัยอันควร เจ็บป่วยเข้าโรงพยาบาล
ตกงาน หรือ เกษียณฯ
2.ความเสี่ยงต่อทรัพย์สินของเรา
คือความเสี่ยงต่อมูลค่าของทรัพย์สินที่เรามี นั้นลดลง
หรือถึงขั้น สูญหายไป เช่น บ้านไฟไหม้ น้ำท่วม
3.ความเสี่ยงที่เกิดกับคนในครอบครัว
คือความเสี่ยงที่ไปกระทบกับคนในครอบครัว เช่น
คุณพ่อที่เป็นเสาหลักรายได้ของครอบครัวเจ็บป่วย ตกงาน
หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิต ทำให้สมาชิกที่เหลือได้รับผลกระทบ
4.ความเสี่ยงต่อการรับผิดชอบ
คือความเสี่ยงที่เราไปผูกมัดกับความรับผิดชอบต่างๆ ของเรา
เช่นทางวิชาชีพ หรือ อาจเกิดจากการค้ำประกันให้ผู้อื่น
เช่น แพทย์หรือวิศวกรที่ถูกฟ้องร้อง จากการทำหน้าที่ผิดพลาด
หรือ คนที่เราค้ำประกันให้ แล้วคนนั้นเขาชิ่งไป
.
เมื่อเราสำรวจ “ความเสี่ยง” ทั้งหมดในชีวิตของเราแล้ว
สิ่งที่ควรทำต่อคือลงมือ “จัดการ” มันซะ
หรือผมชอบเรียกว่า “ #รับผิดชอบตัวเอง ”
.
ทีนี่เราจะจัดการยังไง
ผมมีหลักคิดมาให้แบบนี้ครับ
#ความเสี่ยง = #โอกาสเกิด X #ความรุนแรง
หมายความว่า ...
ความเสี่ยงจะมากหรือน้อย
จะแปรผันตรงมาจาก 2 อย่างคือ
“โอกาสที่จะเกิด” กับ “ความรุนแรง”
ว่าโอกาสที่จะเกิดขึ้นนั้น “สูง หรือ ต่ำ”
แล้วถ้าเกิดจริงๆ ไปแล้ว
สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นจะรุนแรง “มาก หรือ น้อย”
.
ดังนั้นจะสามารถแบ่งวิธีการ “จัดการ“
ได้เป็น 4 รูปแบบ มีอะไรบ้างไปดูกันครับ
#แบบที่1 ความเสี่ยงที่รุนแรงน้อย โอกาสสูง
วิธีจัดการ > ให้ควบคุมความเสี่ยง
(ลดโอกาสเกิด)
เช่น ออกกำลังกาย รักษาสุขภาพ
ลดโอกาส เป็นหวัด/ไข้
#แบบที่2 ความเสี่ยงที่รุนแรงมาก โอกาสสูง
วิธีจัดการ > ให้หลีกเลี่ยงความเสี่ยง
(แก้ที่ต้นเหตุ)
เช่น ขับรถระวังมากขึ้น ,
เมาแล้วต้องไม่ขับรถ
1
#แบบที่3 ความเสี่ยงที่รุนแรงน้อย โอกาสต่ำ
วิธีจัดการ > รับความเสี่ยงไว้เอง
(เตรียมทุน,วางมาตรการรับมือ)
1
เช่น ก่อนเพื่อนจะยืมเงิน
อาจจะต้องเตรียมตัวไว้ กรณีไม่ได้คืน ,
หยุดงาน 7 วัน มีเงินสำรองเตรียมไว้
สำหรับค่าใช้จ่ายในการยังชีพ
2
#แบบที่4 ความเสี่ยงที่รุนแรงมาก โอกาสต่ำ
วิธีจัดการ > ให้โอนความเสี่ยงด้วยการทำประกันครับ
เช่น ตัวเราเสียชีวิต แล้วยังไม่ภาระที่เครียไม่หมด
อาทิ บ้าน รถ หรือ รายได้ที่ต้องเลี้ยงดูที่บ้าน ,
โรคร้ายแรง อาทิ มะเร็ง หรือ เบาหวาน
ที่เมื่อเป็นแล้ว ต้องใช้เงินก้อนใหญ่ ในการรักษา
#ทิ้งทาย
เป็นอย่างไรบ้างครับ รู้แบบนี้แล้ว
อย่าลืมไป “จัดการ” ความเสี่ยง
ของตัวเองกันนะครับ
เพื่อนๆ หลายคนมักมองข้ามจุดนี้
เพราะมันดูไกลตัว มันน่าเกิดกับเรามั้ง
“ไม่น่า!!” ฮ่าๆๆๆ
ไม่น่า แปลว่า ยังเสี่ยง ครับ
ใช้ชีวิตด้วยความมั่นคง
ไม่สะดุดขาตัวเองระหว่างทาง
อย่าลืม ปกป้องเงิน แล้ว
ค่อยๆ ปิดความเสี่ยงกันครับ
#gapper3M
ที่ปรึกษาการเงิน และวางแผนความมั่งคั่ง
นักธุรกิจ และ นักการตลาด
ผมจะเล่าทุกเรื่องที่ "ช่วย" ให้ชีวิตดีขึ้น
3M = Mind x Money x Marketing
ติดตาม/สนับสนุน gapper3M ได้ที่
#gapper3M
โฆษณา