Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Right SaRa by Bom+
•
ติดตาม
28 พ.ค. 2022 เวลา 15:52 • ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ของไข้ทรพิษ (คน)
1
การต่อสู้ของมนุษยชาติจนหมดจากโลกนี้ สู่บทใหม่ของไข้ทรพิษลิงสู่คน
เครดิต: ภาพบน – มิวเซียมสยาม museumsiam.org ภาพล่าง - fineartamerica.com by Mary Evans Picture Library
โรคไข้ทรพิษ หรือ โรคฝีดาษ (Smallpox) เกิดจากเชื้อไวรัสที่ชื่อ Variolar ในตระกูลของ Orthopoxvirus เป็นโรคระบาดร้ายแรงที่คร่าชีวิตผู้คนสะสมหลายล้านคนก่อนหน้าที่เชื้อนี้จะสูญพันธุ์ไปจากโลก ในปี ค.ศ. 1980 ตามประกาศแบบทางการขององค์การอนามัยโลก (WHO)
...
อาการของโรคนี้เริ่มด้วยมีไข้สูง ปวดหัว ปวดตัว คลื่นไส้อาเจียน ตามปกติ แล้วจึงค่อยออกผื่น ก่อนที่ผิวหนังจะกลายเป็นตุ่มขึ้นตามตัวและใบหน้า จนกลายเป็นตุ่มหนอง แล้วจึงค่อยๆแห้งจนตกสะเก็ดไป สภาพน่ากลัวและเป็นที่น่ารังเกียจเป็นอย่างมาก
✓
โรคนี้มีอัตราการเสียชีวิตของผู้ที่ติดเชื้อยู่ที่ 30% ส่วนใหญ่เป็นเด็ก ผู้ป่วยที่สามารถรอดชีวิตจากการติดโรคนี้ได้จะมีภูมิคุ้มกันแบบถาวร แต่ร่างกายจะมีรอยแผลเป็นหรือเสียโฉมตลอดชีวิต รวมถึงอาจตาบอดได้
3
5
★
ประวัติศาสตร์การระบาดของโรค
จุดกำเนิดเริ่มต้นของโรคนี้บนโลกยังไม่มีความแน่นอนชัดเจน นักปราชญ์สมัยก่อนมีความเชื่อว่ามีการอุบัติของโรคนี้ตั้งแต่ยุคที่มนุษย์มีการตั้งรกรากและทำการเกษตรกรรมของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย (ราว 5 พันปีก่อนคริสตกาล) และ ในบริเวณที่ราบหุบเขาของแม่น้ำไนล์ (ราว 3 พันปีก่อนคริสตกาล) แต่ความเชื่อนี้ยังขาดหลักฐานที่ชัดเจนอยู่มาก
...
หลักฐานที่พบชัดเจนและเก่าแก่สุดของการมีอยู่ของโรคนี้ คือการพบร่องรอยของตุ่มหนองซึ่งเป็นอาการของโรคนี้ บริเวณศีรษะมัมมี่ของฟาโรห์รามเสสที่ 5 (Ramses V) ซึ่งมีอายุราว 3,000 ปีมาแล้ว
1
2
มัมมี่ของฟาโรห์รามเสสที่ 5 ที่มา: CDC
■
ไทมไลน์สำคัญการระบาดของโรคนี้ที่มีปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษร
(ปีที่แสดงเป็นการนับแบบคริสต์ศักราช)
...
✓
ศตวรรษที่ 2: เกิดการระบาดในจักรวรรดิโรมัน คร่าชีวิตชาวโรมราว 5-10 ล้านคน
ภาพแกะสลักยมทูตเคาะประตูบ้าน ความตายจากโรคระบาดในโรม ที่มา: Wikimedia Commons, CC BY 4.0
✓
ศตวรรษที่ 4: พบการระบาดที่จีน
✓
ศตวรรษที่ 6: มีการค้าระหว่างกันเพิ่มขึ้นในจีนและเกาหลี ทำให้มีการข้ามไประบาดที่เกาะญี่ปุ่น
✓
ศตวรรษที่ 7: การขยายอาณาเขตของชาวอาหรับ นำพาโรคระบาดไปสู่ตอนบนทวีปแอฟริกา สเปน และโปรตุเกส
✓
ศตวรรษที่ 11: สงครามครูเสดแผ่ขยาย ทำให้เกิดการระบาดทั่วยุโรป
✓
ศตวรรษที่ 15: โปรตุเกสเข้ายึดครองแอฟริกาฝั่งตะวันตก และนำมาสู่โรคระบาดในบริเวณนี้
ในช่วงเวลาเดียวกัน ในสยามประเทศ คือ พ.ศ. 1997 (ค.ศ. 1454) ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แห่งกรุงศรีอยุธยา เกิดเหตุการณ์ไข้ทรพิษระบาดครั้งใหญ่ ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก จนเรียกว่าเป็น “โรคห่า” ครั้งที่ 2 หลังจากเกิดโรคห่าระบาดครั้งแรกก่อนหน้านี้ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (เชื่อว่าเป็นโรคอหิวาตกโรค)
ภาพการ์ตูนของการระบาดโรคห่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เครดิตภาพ: 100 ปี การสาธารณสุขไทย จากอดีตสู่ปัจจุบันการสาธารณสุขเพื่อชุมชน หน้า 16
✓
ศตวรรษที่ 16: ผู้อพยพชาวยุโรปและการค้าทาสชาวแอฟริกา นำพาโรคระบาดมาสู่แผ่นดินของทวีปอเมริกา คือ ดินแดนแถบทะเลแคริบเบียน และ ทวีปอเมริกากลางและใต้
●
สเปนเดินทางสำรวจโลกใหม่ และนำโรคนี้ไปแพร่ยังชนพื้นเมืองอีกด้วย เกิดเป็นโรคระบาดใหญ่ มีคนตายนับแสน ส่งผลให้อาณาจักรแอซเท็ค (Aztec) อันรุ่งโรจน์ในเม็กซิโก ต้องล่มสลายพ่ายแพ้ให้กับสเปนในเวลาไม่นาน
2
สเปนสามารถเข้ายึดอาณาจักรแอซเท็ค เพราะนำโรคไข้ทรพิษมาระบาด เครดิตภาพ: https://www.pastmedicalhistory.co.uk/smallpox-and-the-conquest-of-mexico
...
●
ในช่วงเวลาเดียวกัน ในสยามประเทศ คือ พ.ศ. 2076 (ค.ศ. 1533) สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (สมเด็จหน่อพุทธางกูร) แห่งกรุงศรีอยุธยา ประชวรและสิ้นพระชนม์จากโรคไข้ทรพิษ (ฝีดาษ) เป็นช่วงที่โปรตุเกสได้เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีทางการค้ากับอาณาจักรอยุธยา
2
1
สมเด็จหน่อพุทธางกูรประชวรเป็นฝีดาษ เครดิตภาพ: ฉากจากภาพยนตร์เรื่อง สุริโยไท พ.ศ. 2544
✓
ศตวรรษที่ 17: ผู้อพยพชาวยุโรปนำพาโรคนี้มายังดินแดนของทวีปอเมริกาเหนือ
ในช่วงเวลาเดียวกัน ในสยามประเทศ คือ พ.ศ. 2238 (ค.ศ. 1695) สมัยพระเพทราชา เกิดโรคทรพิษระบาดอีกครั้ง มีคนตายมากถึง 80,000 คน มีมิชชันนารีฝรั่งเป็นผู้รักษาโดยใช้การถ่ายเลือด เพื่อระบายพิษออกจากร่างกาย ซึ่งเป็นเทคนิคที่เป็นที่นิยมในยุโรปในสมัยนั้น
1
✓
ศตวรรษที่ 18: นักสำรวจชาวอังกฤษนำพาโรคนี้มายังดินแดนของทวีปออสเตรเลีย
★
ประวัติโดยย่อการต่อสู้กับโรคนี้ของมนุษยชาติ
...
■
คริสต์ศตวรรษที่ 17 “Variolation” เป็นเทคนิคที่เริ่มใช้ป้องกันไข้ทรพิษ โดยประเทศทางเอเชียเป็นผู้ริเริ่มใช้ โดยการฝัง หรือ เป่าเศษชิ้นส่วนเนื้อเยื่อที่ขูดได้จากแผลของผู้ป่วยไข้ทรพิษเข้าทางจมูก เพื่อเป็นการให้ติดเชื้อของโรคนี้แบบอ่อนๆ และร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา พบว่ามีอัตราการตายของผู้ได้รับการสร้างภูมิโดยใช้วิธีนี้อยู่ที่ 1% - 2% ซึ่งต่ำกว่ามากเมื่อติดเชื้อแบบธรรมชาติคือ 30%
1
ภาพการสร้างภูมิต้านไข้ทรพิษในจีน ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 เครดิตภาพ: https://www.scmp.com/magazines/post-magazine/short-reads/article/3078436/powdered-pus-nose-and-other-chinese-precursors
ต่อมาจนถึงสิ้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 วิธีการสร้างภูมิแบบนี้ได้ถูกใช้แพร่หลายไปยัง แอฟริกา อินเดีย และอาณาจักรออตโตมัน
✓
โดยที่ในเอเชียและแอฟริกาจะใช้วิธีการเป่าเนื้อเยื่อที่ขูดมาเข้าทางจมูก แต่ทางยุโรปจะใช้วิธีการปลูกฝังเนื้อเยื่อที่ขูดมาโดยการเจาะฝังเข้าไปในผิวหนังแทน
■
ค.ศ. 1717 เลดี แมรี่ เวิร์ธลี่ มองตากิว ภรรยาท่านเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำจักรวรรดิออตโตมัน เธอได้พบเห็นวิธี Variolation เข้าระหว่างที่ประจำการอยู่ที่นั่น จึงได้นำเข้าไปเผยแพร่ในสหราชอาณาจักร ในปี ค.ศ. 1720
เลดี แมรี่ เวิร์ธลี่ มองตากิว เห็นวิธี Variolation และนำมาเผยแพร่ในสหราชอาณาจักร เครดิต: ห้องสมุดมหาวิทยาลัยอิสตันบูล/ Getty Images
...
ประวัติของเลดี้แมรี่นี้ในวัยเยาว์เคยเป็นไข้ทรพิษมาก่อนครับ เธอรอดชีวิตมาได้แต่ก็ต้องทนทุกข์จากแผลเป็นจากโรคนี้ เธอได้ใช้วิธีนี้ป้องกันโรคให้บุตรของเธอที่ตุรกี วิธีการนี้ลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ลงอย่างเห็นผลได้จริง จากบันทึกเชื่อว่าสามารถลดอัตราตายได้จาก 33% เหลือต่ำกว่า 5%
...
แต่ว่าวิธีการป้องกันโรคแบบนี้ก็ยังไม่ดีพอ เพราะว่าผู้รับภูมิเองก็ยังถือว่ามีความเสี่ยงที่สูงอยู่เนื่องจากวิธีการใช้เชื้อที่ยังมีชีวิต ทำให้มีโอกาสติดเชื้อรุนแรงจนเสียชีวิตได้ และยังสามารถแพร่เชื้อไปบุคคลอื่นได้อีก
เกิดเหตุการณ์ที่ลดความเชื่อมั่นอย่างมากในการใช้วิธีนี้ คือ การเสียชีวิตของเจ้าชายออกตาเวียส พระโอรสองค์ที่ 13 ในพระเจ้าจอร์จที่ 3 ของสหราชอาณาจักรภายหลังการเข้าทำ Variolation ในปี ค.ศ. 1783
1
■
ค.ศ. 1774 (ประมาณ 20 ปีก่อนค้นพบวัคซีน) ชาวนาชาวอังกฤษชื่อว่า Benjamin Jesty เคยสังเกตว่า หญิงรีดนมวัวที่เคยเป็นแผลที่เกิดจากโรคฝีดาษวัวมาก่อนจะไม่ติดโรคไข้ทรพิษ เลยทดลองป้องกันโรคนี้ให้ภรรยาและลูกชายสองคนของเขา (เขาเคยเป็นฝีดาษวัวแล้ว) โดยใช้เข็มปักไหมพรมขูดหนองจากแผลของวัว แล้วขูดที่ผิวหนังของทั้งสาม ปรากฏว่าภรรยาของเขาป่วยหนัก
1
ภาพวาดสีน้ำมันของ Benjamin Jesty ที่มา: Wikimedia Commons, CC BY 4.0
แน่นอนครับว่าเขาต้องโดนชาวบ้านในชุมชนเดียวกันแบน เพราะทำไม่สำเร็จ จนต้องย้ายไปอยู่เมืองอื่น วิธีการที่เขาทำคือรากฐานในการปลูกฝีที่ประสบความสำเร็จในเวลาต่อมา เขาจึงได้รับเครดิตโดยที่ป้ายหลุมศพของเขา ได้มีจารึกว่าเป็นคนแรกที่ค้นพบการปลูกฝีจากฝีดาษวัว
■
ค.ศ. 1798 นายแพทย์ Edward Jenner เป็นผู้ทำการศึกษาเรื่องวัคซีนไข้ทรพิษ และได้ทำการฉีดวัคซีนดังกล่าวให้แก่ผู้ร่วมทดลอง 23 คน โดยส่วนใหญ่เชื้อเป็นที่ใช้ฉีดมาจากแผลที่มือของสตรีรีดนมวัวซึ่งได้รับเชื้อจากวัวแล้ว วิธีการคือกรีดแผลที่ผิวหนังของผู้ทดลอง 2 แผล แผลละประมาณครึ่งนิ้วแล้วใส่เชื้อจากฝีดาษวัวเข้าไป จากรายงานการศึกษาผู้เข้าร่วมการทดลองทุกรายรอดชีวิตจากวิธีนี้ หรือ ต่อมาเรียกว่า “การปลูกฝี”
1
ภาพวาดของ Edward Jenner มีฉากหลังเป็นหญิงรีดนมวัว ที่มา: National Geographic
ช่วงแรกของการเริ่มทดลองการปลูกฝีในคน เขาได้รับการต่อต้านจากกลุ่มแพทย์หัวอนุรักษ์นิยม แต่หลังจากได้พิสูจน์แล้วว่าได้ผลดีและปลอดภัยสูง วิธีนี้จึงเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย และเป็นนโยบายด้านสาธารณสุขที่บังคับเด็กแรกเกิดต้องได้รับการปลูกฝีในยุคต่อมา
★
คำว่า “วัคซีน - Vaccine” จึงมีที่มาจากคำว่า “Vacca” ในภาษาละติน แปลว่า “แม่วัว” ซึ่งผู้คิดค้นใช้เชื้อเป็นจากวัวที่เป็นโรคไข้ทรพิษวัว (Cow pox) มาใช้ปลูกหรือสร้างภูมิต้านทานให้แก่มนุษย์
2
★
ดังนั้นโรคทรพิษจึงเป็นโรคแรกในโลกที่มนุษยชาติใช้วิธีการฉีดวัคซีนเข้าร่างกาย เพื่อกระตุ้นสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย และเป็นรากฐานให้กับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคต่างๆอีกมากมายจนถึงปัจจุบัน
2
■
ในสมัยรัตนโกสินทร์ของไทย จากบันทึกของหมอบรัดเลย์ ที่ระบุว่าในสมัยรัชกาลที่ 3 มีการระบาดของฝีดาษอย่างหนัก ทำให้หมอบรัดเลย์ริเริ่มการปลูกฝีบำบัดโรคฝีดาษเป็นครั้งแรกในไทยในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2379 โดยใช้เชื้อหนองฝีโคที่นำเข้ามาจากอเมริกา และได้เขียนตำราชื่อ “ตำราปลูกฝีให้กันโรคธระพิศม์ไม่ให้ขึ้นได้” ปรากฏมาจนถึงทุกวันนี้
การปลูกฝีให้เด็กใน พ.ศ. 2445 ที่มาภาพ: MGR Online
■
WHO ได้เร่งทำแผนเพื่อขจัดโรคไข้ทรพิษให้หมดจากโลกนี้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1967 และประสบความสำเร็จเมื่อพบผู้ป่วยรายสุดท้ายที่ติดเชื้อแบบธรรมชาติ เป็นชาวโซมาเลีย เมื่อ ค.ศ. 1977 และประกาศว่าโรคนี้ไม่มีการระบาดในมนุษยชาติอีกต่อไปอย่างทางการในปี ค.ศ. 1980
แผนที่การพบผู้ป่วยติดไข้ทรพิษเป็นคนสุดท้ายในแต่ละภูมิภาค ที่มา: CDC
■
สำหรับประเทศไทยมีการบันทึกไว้ว่าไข้ทรพิษระบาดเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อ พ.ศ. 2504 ที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย โดยรับเชื้อมาจากรัฐเชียงตุงของพม่า ทำให้กระทรวงสาธารณสุขเริ่มโครงการกวาดล้างไข้ทรพิษในไทย รณรงค์ปลูกฝีป้องกันโรค จนสิ้นสุดในไทยเมื่อปี พ.ศ. 2523
★
บทใหม่ของฝีดาษลิงสู่คน
เครดิตภาพ: Pixabay
ในช่วงนี้เราคงได้ยินข่าวการระบาดของโรคฝีดาษลิง (Monkey Pox) ซึ่งเป็นโรคที่ระบาดจากสัตว์สู่คน เกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูลของ Orthopoxvirus เหมือนกับฝีดาษคน
...
✓
โรคนี้มี 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ West African clade ซึ่งมีอาการไม่รุนแรง อัตราป่วยตายอยู่ที่ 1% และสายพันธุ์ Central African clade ซึ่งมีอาการรุนแรงกว่า อัตราป่วยตายอยู่ที่ 10% ส่วนสัตว์นำโรคยังไม่มีความรู้ที่แน่ชัด แต่คาดว่าน่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก โดยเฉพาะสัตว์กัดแทะและลิง
...
การติดต่อแบ่งออกเป็น
●
จากสัตว์สู่คน โดยการสัมผัสกับสารคัดหลั่งหรือแผลของสัตว์ป่วย หรือการกินสัตว์ที่ปรุงไม่สุก
1
●
จากคนสู่คน โดยการสัมผัสสารคัดหลั่งทางเดินหายใจของผู้ป่วยหรือสัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่งหรือแผลของผู้ป่วย เช่น เสื้อผ้า
1
...
ศ.นพ. ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นว่า กรณีล่าสุดกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ของไทยกำลังตรวจวิเคราะห์ประสิทธิภาพวัคซีนฝีดาษที่แช่แข็งกว่า 40 ปี ซึ่งใช้ก่อนหมดยุคระบาดครั้งสุดท้าย
โอกาสที่จะนำมาใช้ใหม่อาจจะมีข้อจำกัด อาจจะมีผลข้างเคียง จึงอาจจะใช้ไม่ได้ในกลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ก็อาจจะเป็นทางเลือกหนึ่ง แต่เสี่ยงค่อนข้างมาก ขณะเดียวกันหากจะไปใช้วัคซีนไข้ทรพิษกันฝีดาษลิงที่สหรัฐอเมริกาหรือในอังกฤษมีการใช้บางกลุ่ม ก็อาจจะต้องแย่งชิงกับประเทศอื่นหากมีการระบาดเกิดขึ้นจริง
...
ณ ตอนนี้ 28 พ.ค. 2565 ถึงแม้ว่ายังไม่พบผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงในไทยเลย อย่างไรก็ตามเราก็มีการคอยสังเกตการณ์เรื่องนี้อย่างใกล้ชิดอยู่
เรียบเรียงและสรุปโดย Right SaRa
28th May 2022
■
แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
World Health Organization -
https://www.who.int/health-topics/smallpox
Britannica -
https://www.britannica.com/science/smallpox
https://www.zocalopublicsquare.org/2020/04/26/roman-empire-smallpox-plague-lessons-covid-19/ideas/essay/
Museum Siam -
https://m.museumsiam.org/da-detail2.php?MID=3&CID=200&CONID=4529
Centers for Disease Control and Prevention -
https://www.cdc.gov/smallpox/history/history.html
พระโหราธิบดี, พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ (กรุงเทพฯ: แสงดาว, 2544), หน้า 16.
U.S. National Library of Medicine -
https://www.nlm.nih.gov/exhibition/smallpox/sp_variolation.html
เพจศัลยกรรมโรงพยาบาลกรุงเทพระยอง -
https://web.facebook.com/brhsurgery/posts/111048344317162?_rdc=1&_rdr
Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ -
https://www.hfocus.org/content/2014/08/7977
Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ -
https://www.hfocus.org/content/2022/05/25161
MGR Online -
https://mgronline.com/qol/detail/9650000050793
ประวัติศาสตร์
ฝีดาษลิง
โรคระบาด
9 บันทึก
30
42
32
9
30
42
32
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย