Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
b
born for this
•
ติดตาม
29 พ.ค. 2022 เวลา 07:51 • หนังสือ
ระบบกล้ามเนื้อ ร่างกายแบ่งกล้ามเนื้อออกเป็น 3 ชนิด คือ กล้ามเนื้อยึดกระดูกหรือกล้ามเนื้อลาย (skeletal muscle or striated muscle) กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle) กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) โดยที่กล้ามเนื้อลายนั้นถูกควบคุมอยู่ภายใต้อำนาจจิตใจหรือรีเฟล็กซ์ ส่วนกล้ามเนื้อเรียบและกล้ามเนื้อหัวใจทำงานนอกอำนาจจิตใจ
1.กล้ามเนื้อลายหรือกล้ามเนื้อยึดกระดูก (skeleton muscle)
เป็นกล้ามเนื้อที่เกาะติดกับโครงกระดูกหรือกล้ามเนื้อลาย เช่น กล้ามเนื้อแขน กล้ามเนื้อขา จึงทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยตรง เมื่อนำเซลล์กล้ามเนื้อเหล่านี้มาศึกษาด้วย กล้องจุลทรรศน์จะมองเห็นเป็นแถบลาย เซลล์กล้าม
เนื้อนี้มีลักษณะเป็นทรงกระบอกยาว แต่ละเซลล์ มีหลายนิวเคลียส การทำงานของกล้ามเนื้อยึดกระดูกถูกควบคุมโดยระบบประสาทโซมาติก การทำงานของกล้ามเนื้อชนิดนี้ ร่างกายสามารถบังคับได้ซึ่งถือว่าอยู่ในอำนาจจิตใจ
2.กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle)
ภาพกล้ามเนื้อหัวใจ
เซลล์มีรูปร่างเป็นทรงกระบอก แต่สั้นกว่าเซลล์กล้ามเนื้อยึดกระดูกและเห็นเป็นลายเช่นเดียวกัน แต่ตอนปลายของเซลล์มีการแตกแขนง และเชื่อมโยงติดต่อกับเซลล์ข้างเคียง การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจถูกควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนวัติ ดังนั้นร่างกายไม่สามารถบังคับได้ จึงเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่นอกอำนาจจิตใจ
3.กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle)
ภาพกล้ามเนื้อเรียบ
กล้ามเนื้อเรียบเป็นกล้ามเนื้อที่พบอยู่ตามอวัยวะภายในเช่นผนังกระเพาะอาหาร ผนังลำไส้ ผนังหลอดเลือด และม่านตา เป็นต้น กล้ามเนื้อเหล่านี้ ประกอบด้วยเซลล์ที่มีลักษณะยาว หัวท้ายแหลม แต่ละเซลล์มี 1 นิวเคลียส ไม่มีลายพาดขวาง การทำงานของกล้ามเนื้อเรียบถูกควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนวัติ
การทำงานของกล้ามเนื้อ
เมื่อสมองสั่งให้ร่างกายเคลื่อนไหว กล้ามเนื้อจะเกิดการหดตัวและคลายตัว ทำงานประสานเป็นคู่ ๆ พร้อมกัน แต่ตรงข้ามกัน ในขณะที่กล้ามเนื้อมัดหนึ่งหดตัว กล้ามเนื้ออีกมัดหนึ่งจะคลายตัว การทำงานของกล้ามเนื้อในลักษณะนี้ เรียกว่า Antagonistic muscle
มัดกล้ามเนื้อไบเซพ (Biceps) อยู่ด้านบน และไตรเซพ (Triceps) อยู่ด้านล่างของแขน
ไบเซพหรือ (Flexors) คลายตัว ไตรเสพ หรือ (Extensors) หดตัว »» แขนเหยียดออก
ไบเซพหรือ (Flexors) หดตัว ไตรเสพ หรือ (Extensors) คลายตัว »» แขนงอเข้า
แสดงการทำงานของกล้ามเนื้อไบเซพ (Bicep) หรือ (Flexors) และกล้ามเนื้อไตรเซพ (tricep) หรือ (Extensors)
หน้าที่กล้ามเนื้อมนุษย์
1. คงรูปร่างท่าทางของร่างการ (Maintain Body Posture)
2. ยึดข้อต่อไว้ด้วยกัน (Stabilize Joints)
3. ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหว (Provide Movement)
กล้ามเนื้อทำให้ให้เราเคลื่อนไหวในส่วนที่ต้องการได้ กิจกรรมทุกอย่างที่เราทำอยู่ทุกๆวันนี้เกิดขึ้นได้เพราะร่างกายเราสามารถเปลี่ยนเอาพลังงานที่ได้จากสารอาหารมาเป็นพลังงานกล (Mechanical Energy) หรือพลังงานที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว
4. รักษาระดับอุณหภูมิของร่างกาย (Maintain Body Temperature) โดยผลิตความร้อนออกมาตามที่ร่างกายต้องการ
การรักษาให้ระบบกล้ามเนื้อแข็งแรง (Keeping the Muscular System Healthy)
1. ออกกำลังกาย (Exercise) การออกกำลังกายแบบแอโรบิค (Aerobics Exercise) จะช่วยทำให้หัวใจและปอดแข็งแรงขึ้น คุณจะเดิน จะขี่จักรยาน จะว่ายน้ำ หรือจะวิ่ง และการเดินขึ้นบันไดก็สนุกได้เหมือนกันนะ ทั้งการเดิน การวิ่งเหยาะๆ การขี่จักรยาน การว่ายน้ำ หรือการเดินขึ้นบันได
เป็นแค่ตัวอย่างเล็กน้อยของการออกกำลังกายแบบแอโรบิค การออกกำลังกายที่ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและมีขนาดใหญ่ขึ้นนั้นเรียกว่า การออกกำลังกายแบบ แอนแอโรบิค (Anaerobics Exercise) ทั้งการเสริมสร้างความแข็งแกร่ง การยกน้ำหนัก หรือการวิ่งระยะสั้น เมื่อนำไปรวมกับการออกกำลังกายแบบอื่นแล้วก็สามารถทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้นเช่นกัน
2. โภชนาการที่เหมาะสม (Proper Nutrition) การรับประทานผัก ธัญพืช และผลไม้อร่อยๆ รวมถึงการดื่มน้ำมากๆ ลดความเครียด ก็ช่วยได้เหมือนกัน ชื่อและตำแหน่งของกล้ามเนื้อในร่างกาย
ที่มา :
http://muscularsystemmwits42.blogspot.com
สุขภาพ
หนังสือ
ข่าวรอบโลก
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย