Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
TopNewsFocus
•
ติดตาม
30 พ.ค. 2022 เวลา 07:20 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ไทยส่งออกอาหารพุ่ง “ข่าวดี” ที่ต้องระวัง
เป็นที่ทราบกันดีว่าในช่วงเวลานี้ทั่วโลกกำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจหลายด้านทั้งที่เกิดจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ยาวนานกว่า 2 ปี และปัญหาที่เกิดจากสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน โดยประเด็นปัญหาทางเศรษฐกิจจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนนั้นส่งผลอย่างมากต่อราคาพลังงาน สินค้าเกษตรและอาหาร
จนถึงขั้นที่ธนาคารโลก (World Bank)ต้องออกมาเตือนถึงความเสี่ยงของโลกที่อาจจะประสบกับภาวะวิกฤตอาหารโลก Global Food Crisis ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า 30 ประเทศทั่วโลกที่เริ่มระงับ หรือห้ามการส่งออกสินค้าประเภทอาหารและเกษตรหลายชนิด
สำหรับประเทศไทยการส่งออกในปัจจุบันดูจะเป็นผลงานที่รัฐบาลและกระทรวงพาณิชย์มุ่งมั่นที่จะใช้ตัวเลขการขยายตัวของการส่งออกมาเป็นผลงาน โดยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ เปิดเผยถึงตัวเลขการส่งออกเดือนเมษายน 2565 ว่า มีมูลค่า 23,521 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 9.9%
โดยสินค้าเกษตรมีอัตราการเติบโตในเดือนเมษายนประมาณ 3% มูลค่าราว 2,508 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2565 เติบโตราว 2.2% มูลค่าประมาณ 8,389 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งสินค้าที่ขยายตัวเป็นอย่างมากได้แก่ มันสำปะหลังเติบโต 49.5% มูลค่าราว 503 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ข้าวเติบโตมากถึง 44% มูลค่าราว 300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สำหรับสาเหตุที่การส่งออกข้าวขยายตัวเป็นอย่างมากเนื่องจาก ตลาดสหรัฐอเมริกา อิรัก ดูไบ เซเนกัล ซื้อข้าวจากไทยมากขึ้น โดยข้าวหอมมะลิ โต 102% ข้าวนึ่งโต 45% ทำให้มั่นใจว่าปีนี้ไทยจะส่งออกข้าวได้ราว 8 ล้านตัน เกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 6.1 ล้านตัน
การขยายตัวของการส่งออกสินค้าอาหารของไทยนั้นมองในมุมหนึ่งถือเป็นเรื่องดี แต่ก็ต้องระวังและวางแผนให้ดี เพราะปัจจุบันสาเหตุของวิกฤตอาหารโลกนั้นมีอยู่ 3 ประเด็นหลัก ได้แก่
1.ผลพวงจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวสาลีและสินค้าเกษตรรายใหญ่ของยุโรป
2.ราคาปุ๋ยแพง เนื่องการคว่ำบาตรต่อรัสเซียซึ่งเป็นผู้ส่งออกส่วนประกอบปุ๋ยรายใหญ่ของโลก การที่ปุ๋ยราคาสูงย่อมทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตรสูงขึ้น และในทางกลับกันผลผลิตทางการเกษตรจะลดลงเมื่อเกษตรกรใช้ปุ๋ยน้อยลง
3.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ที่ทำให้การทำการเกษตรในหลายพื้นที่ยากลำบากมากขึ้น บางพื้นที่ไม่สามารถทำการเกษตรได้เลย ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อความมั่นคงทางอาหาร
ธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดว่าปัญหาวิกฤตอาหารโลกนั้นอาจกินระยะเวลายาวนานถึงสิ้นปี 2566 เป็นอย่างน้อย ทำให้หลายประเทศเริ่มวางแผนและใช้นโยบาย Food Protectionism เพื่อความมั่นคงทางอาหารในประเทศ
ซึ่งประเทศไทยซึ่งเป็นผู้ผลิตและส่งออกสินค้าประเภทอาหารและเกษตร จำเป็นที่จะต้องวางแผนให้ดี เพราะถือเป็นความมั่นคงของประเทศ หากไม่มีการวางแผนที่ดีพอ อาจจะทำให้ประเทศไทยต้องประสบปัญหาสินค้าด้านเกษตรและอาหารราคาแพงขึ้น หรืออาจถึงขั้นที่สินค้าบางอย่างอาจขาดแคลนมีไม่เพียงพอได้
โฟกัสทุกความเคลื่อนไหว ที่น่าสนใจและอัดแน่นไปด้วยสาระ ที่ TopNewsFocus เลือกสรรมาให้คุณเติมอาหารสมองกันได้ทุกวัน
ติดตาม Topnewsfocus ได้ทุกช่องทางที่
Website :
https://topnewsfocus.com/
facebook :
https://www.facebook.com/Topnewsfocus
Twitter :
https://twitter.com/Topnewsfocus
ส่งออก
การส่งออก
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย