Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ว่าด้วยเรื่องของภาษา
•
ติดตาม
30 พ.ค. 2022 เวลา 13:47 • ข่าว
🔵 ขนาดฝรั่งยังไม่ใช้เลขของตัวเอง (เลขโรมัน) แล้วไปใช้เลขจากอินเดีย-อาหรับ (เลขฮินดู-อารบิก) แทนเลย
ท่ามกลางการดีเบตถึงความเหมาะสมของการใช้เลขไทย vs เลขอารบิกในเอกสารราชการ โดยฝ่ายหนึ่งยกเรื่องเอกลักษณ์ความเป็นไทย ขณะที่อีกฝ่ายยกเรื่องการอ่านที่เข้าใจง่ายและความเป็นสากล
หลายคนเข้าใจว่าเลขอารบิก 1234567890 เป็นเลขที่รับมาจากฝรั่ง เพราะว่าในภาษาต่างๆ ของยุโรป ต่างใช้เลขอารบิกกันทั่วไป ทำให้เกิดอคติว่า “จะใช้เลขฝรั่งทำไม สู้ใช้เลขไทยของเราเองดีกว่า”
หลายคนยังเข้าใจว่า “อารบิก” คือชื่อของเลขชุดนี้ ไม่ได้มีอะไรเป็นพิเศษ แต่หากอ่านชื่อเต็มๆ ของมันคือ “เลขฮินดู-อารบิก” (Hindu-Arabic numerals) จะพบว่าชื่อมันบอกไว้ชัดๆ เลยว่า Hindu=อินเดีย และ Arabic=อาหรับ
หรือก็คือ เลข 1234567890 มันคือเลขที่มีต้นกำเนิดจาก “อินเดีย” และ “อาหรับ” ไม่ใช่เลขของยุโรปหรือฝรั่งเลยนะ
🔵 แล้วเลขฝรั่งแบบแท้ๆ มันคือเลขแบบไหนล่ะ?
คำตอบคือ “เลขโรมัน” ที่เขียนกันเป็น I, II, III, IV, V, VI, VII, VIII, IX, X นี่แหละเลขฝรั่งของแท้และดั้งเดิม
คนที่เรียนการเขียนเลขโรมันจะรู้เลยว่า แต่ละจำนวนมีระบบการเขียนที่ยุ่งยาก ตัวน้อยอยู่หลังให้บวก อยู่หน้าให้ลบ แถมยังไม่มีเลข 0 ใช้อีก
ชาวยุโรปใช้เลขโรมันต่อเนื่องมาตั้งแต่ยุคโบราณที่จักรวรรดิโรมันเรืองอำนาจ จนเข้าสู่ยุคกลางเป็นเวลาพันกว่าปี
จนกระทั่งศตวรรษที่ 13 ที่ชาวยุโรปรับตัวเลขของชาวอาหรับผ่านการค้าขายสินค้าต่างๆ และพบว่าเลขอาหรับมันใช้งานง่ายกว่าเลขโรมัน สามารถเขียนเลขจำนวนมากได้โดยใช้สัญลักษณ์เพียงไม่กี่ตัวเช่น 1871 หากเขียนเลขโรมันจะเป็น MDCCCLXXI ที่ยาวกว่ามาก
เลขโรมันเทียบกับเลขอารบิก แค่นี้ก็ปวดหัวแล้ว
แถมเลขอาหรับยังใช้คำนวณตัวเลข บวก ลบ คูณ หารได้อย่างรวดเร็ว แถมยังมีไฮไลต์เด็ดคือเลข 0 ที่แสดงถึงความว่างเปล่า เรียกว่าดีกว่าเลขโรมันในทุกๆ ด้าน เหมาะกับเหล่าพ่อค้าวาณิชที่ต้องใช้คำนวณราคาสินค้าอย่างมาก
ดังนั้นการเรียกเลข 1234567890 ว่า Arabic Numerals จึงเป็นการบอกที่มาว่าเป็นเลขจากอาหรับ (แต่พอภาษาไทยแปลเป็น “เลขอารบิก” ทำให้คนไทยงงไปเลยว่ามันคือเลขอะไร ของใคร รู้แค่ว่าเป็นเลขที่ฝรั่งใช้กัน)
และเลขอารบิก ก็ถูกต่อยอดในการคำนวณที่ซับซ้อนมากขึ้น ตั้งแต่เลขยกกำลัง, ตรีโกณ, แคลคูลัส, ลอการิทึม ยันจำนวนเชิงซ้อน (ที่หลายคนเกลียด) แต่เพราะสิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 16 (ยุค Renaissance) ซึ่งเป็นยุคที่เทคโนโลยีต่างๆ พัฒนาอย่างก้าวกระโดด จนกลายเป็นรากฐานขององค์ความรู้ต่างๆ จนเป็นโลกที่เราใช้ชีวิตในทุกวันนี้
* ฝรั่งมารู้ภายหลังว่าเลขอารบิก จริงๆ มาจากอินเดีย เลยเพิ่มชื่อเป็น Hindu-Arabic numerals หรือเลขฮินดูอารบิก เพื่อบอกที่มาของตัวเลขนี้ว่าเกิดที่อินเดีย อาหรับรับมาใช้ และยุโรปก็รับอาหรับมาอีกที
🟠 กลับมาที่เลขไทยบ้าง หลายคนมักจะอ้างว่าเป็นระบบฐาน 10 เหมือนกับเลขอารบิก มันก็ควรจะใช้แทนกันได้เลยสิ
ตรงจุดนี้แอดมินต้องขอโฟกัสที่ “การใช้ตัวเลขระดับข้อความ” หรือการใช้ตัวเลขประกอบในข้อความส่วนเนื้อหาเป็นหลัก โดยจุดประสงค์ของข้อความ (message) คือ “สื่อสารข้อมูลให้เข้าใจถูกต้องตรงกันระหว่างผู้ส่งสาร และผู้รับสาร”
หากคุณอ่านเอกสารราชการที่ใช้เลขไทยล้วนจะพบเลยว่า มันอ่านยาก ยิ่งตัวเลขที่เขียนคล้ายกันอย่าง ๔,๕,๘ หรือ ๓,๗,๙ ต้องเพ่งกันซักพักกว่าจะรู้ว่ามันคือตัวไหน หรืออ่านผิดไปเลย ยิ่งการใช้ตัวเลขไทยในเชิงเทคนิคอย่างสูตรคณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์ ที่มีอักษรละติน ABC ประกอบด้วยยิ่งไม่เข้ากันเลย
นอกจากนี้เลขไทยยังต้องกด shift (aka ยกแคร่) เพื่อพิมพ์ในแถวบนสุดอีกด้วย ขณะที่เลขอารบิกแค่กดตรง Numpad หรือในโน้ตบุ๊กก็กดที่แถวบนแบบไม่ shift ได้เลย
เรียกว่าเลขไทยมันไม่ practical สำหรับการสื่อสารด้วยข้อความอีกต่อไปแล้ว เพราะเลขอารบิกสื่อสารได้ง่าย, ชัดเจน และรวดเร็วกว่าหลายเท่า
1
ใช้เลขในในลิงค์ URL มันไปด้วยกันไม่ได้เลย!!
.
🟠 ส่วนตัวไม่ได้มองว่าเลขอารบิกคือเลขของฝรั่งหรือแขก แต่มองว่ามันคือ “ตัวกลางในการสื่อสาร (medium of communication)” สำหรับบอกจำนวนให้เข้าใจร่วมกันเท่านั้น
ขนาดฝรั่งยังใช้เลขอารบิกกันแพร่หลายราวกับเป็นเลขของตัวเอง โดยไม่เคยมีคนมาเรียกร้องเลยว่า “จะใช้เลขอาหรับของแขกไปทำไม กลับไปใช้เลขโรมันที่เป็นของบรรพบุรุษเราสิ” (หรือเคยมีแต่ตายไปหมดเมื่อหลายร้อยปีที่แล้วฟะ 😐)
แม้แต่ภาษาที่อนุรักษ์นิยมจ๋าอย่างภาษาจีนและญี่ปุ่น ก็ยังใช้เลขอารบิกกันแพร่หลาย ขณะที่ตัวเลขจีน (一二三四五六七八九十) ก็ไม่เห็นมีคนจีน-ญี่ปุ่นหน้าไหนมาเรียกร้องว่าให้ใช้เลขจีนเพื่ออนุรักษ์ความเป็นจีน-ญี่ปุ่นเลย
🟠 ที่พูดมาทั้งหมดนี้ไม่ใช่ต้องการยกเลิกเลขไทยและให้ใช้เลขอารบิกอย่างเดียว
ตัวเลขทั้งสองแบบต่างมีฟังก์ชันการใช้งานที่ต่างกันชัดเจน เลขอารบิกใช้สื่อสารได้ง่ายและชัดเจนกว่า ก็ควรใช้เป็นเลขหลักสำหรับการสื่อสารผ่านข้อความ เพื่อให้ทุกคนอ่านเข้าใจร่วมกัน
ขณะที่เลขไทย ก็ควรใช้ในจุดที่เหมาะสมของมัน เช่นการเขียนชื่อ, หัวข้อ, ป้าย หรือภาพกราฟิก แถมพื้นที่เหล่านี้ยิ่งเด่นสะดุดตากว่าการใช้เลขไทยในข้อความที่อ่านยากด้วยซ้ำ
ที่เรารณรงค์ให้ใช้เลขอารบิกในเอกสารราชการ เหตุผลหลักคือ "เพื่อให้อ่านเข้าใจง่าย" เพราะเอกสารราชการถูกใช้กับบุคลากรของหน่วยงานต่างๆ ไปจนถึงประชาชนทั่วไป ดังนั้นเลขอารบิกจะตอบโจทย์ตรงนี้ได้มากกว่า
เลขโรมันยังปรากฏในหน้าปัดนาฬิกา
🟠 การอนุรักษ์ทำได้หลายทาง แต่ต้องไม่ยัดเยียดให้ทำ ถ้าอยากจะอนุรักษ์เลขไทยไว้ มันก็มีพื้นที่อีกมากมายที่ใช้แสดงออกได้ เหมือนกับเลขโรมันหรือเลขจีนที่ก็ยังปรากฏตามชื่อ, ข้อความ, ป้ายที่แสดงออกถึงวัฒนธรรมดั้งเดิม ไม่ได้สูญพันธุ์ไปเลยซักหน่อย
ทำไมเราไม่เลือกที่จะอยู่ร่วมกัน และใช้เลขทั้ง 2 แบบตามความเหมาะสมการใช้งาน ทำไมเราต้องบังคับให้ใช้เลขเพียงแบบเดียวไปเลยโดยอ้างว่า “อนุรักษ์ความเป็นไทย”
🔴 แทนที่จะดราม่าเรื่องเลขไทย (ที่เราก็เอามาจากเขมรอีกที และมีต้นกำเนิดที่อินเดียเหมือนกับเลขอารบิก) เราควรไปส่งเสริมความเป็นไทยที่เป็น Soft Power ด้านอื่นอย่างอาหาร, ซีรีส์ไทย, ภาพยนตร์ไทย, Tpop ให้โด่งดังในระดับโลก ให้ชาวต่างชาติรู้จักประเทศไทยผ่านสิ่งเหล่านี้ไม่ดีกว่าเหรอ?
1 บันทึก
5
1
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย