1 มิ.ย. 2022 เวลา 04:00 • ประวัติศาสตร์
เลขไทยมาจากเลขเขมร จริงหรือ ?
ช่วงนี้มีดราม่าบางอย่างเกี่ยวกับการใช้ไม่ใช้เลขไทยอย่างที่ปรากฏในสื่อต่าง ๆ รวมทั้งมีบางส่วนบอกว่าเลขไทยไม่ใช่ของไทยแท้แต่มาจากเลขเขมร
เลขไทยสมัยต่าง ๆ ที่มาภาพ ราชบัณฑิตยสภา/Wikimedia Commons
อันที่จริงเลขทั้งเลขไทยเลขเขมรล้วนได้รับอิทธิพลมาจาก เลขขอม
ว่ากันตามวิชการเลขขอมนั้นวิวัฒนาการมาจากตัวเลขปัลลวะ อันเป็นส่วนหนึ่งของอักษรปัลลวะที่มาจากอาณาจักรปัลลวะในอินเดียใต้อีกต่อหนึ่ง
โดยที่อักษรปัลลวะเป็นที่นิยมของทุกอาณาจักรโบราณในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายหลังได้พัฒนากลายเป็น อักษรหลังปัลลวะ
ต่อมาอักษรหลังปัลลวะ ได้เกิดพัฒนาการขึ้นเป็นอักษร ๓ ชุด คือ อักษรมอญโบราณ , อักษรขอม และอักษรกวิ
เมื่อมาถึงตรงนี้หลายท่านก็คงสงสัยว่า ขอมก็คือเขมรไม่ใช่หรือ
ด้วยเหตุที่ชาวเขมรไม่เคยเรียกพวกตนเองว่า ขอม ไม่ว่าจะสมัยไหนก็ตาม แต่เป็นคนไทย รวมถึงกลุ่มชนอื่นที่พูดภาษาตระกูลไทย-ลาว เรียกกลุ่มชนพวกหนึ่งว่า ขอม การจะหาข้อสรุปว่า ขอมคือใครก็คงต้องหาจากหลักฐานฝั่งที่พูดภาษาไทย-ลาว
จารึกปู่ขุนจิดขุนจอด ที่มาภาพ db.sac.or.th
จารึกปู่ขุนจิดขุนจอด สมัยสุโขทัย ข้อความหนึ่งระบุว่า
"จุลศักราช ๗๕๔ มหาศักราช ๑๓๑๔ ขอมปีวอก ไทยปีเต่าสันเดือนสี่บูรณมี ขอมวันพฤหัสบดี ไทยวันเต่าเม็ด"
ปีเต่าสัน วันเต่าเม็ด ยังพบว่ามีการใช้ในหนังสือยุคหลังของชาวล้านนาและชาวอีสานอยู่บ้าง รวมไปถึงคติความเชื่อเรื่องวันดีไม่ดีของโหราศาสตร์ล้านนา
จากจารึกนี้ก็เข้าใจได้ว่า ในมุมมองของคนสุโขทัยสมัยนั้น พวกขอมใช้วันจันทร์-ศุกร์ และปีนักษัตร ชวด-กุน แบบที่คนไทยปัจจุบันใช้
ทีนี้เราลองมาดู ปีนักษัตรของขอมซึ่งคนไทยและเขมรปัจจุบันใช้ทั้งคู่
หากเขมรเท่านั้นคือขอม ก็คงไม่มีความจำป็นที่ต้องบัญญัติอะไรให้ไม่ตรงกับภาษาพูดของตน เพราะเรื่องปีก็เป็นเรื่องที่ชาวบ้านใช้ในชีวิตประจำวันอย่างหนึ่ง
ปรากฏว่าชื่อ ๑๒ นักษัตร มีคำภาษาเขมรแท้คำเดียว คือ ขาล ที่มาจาก ขลา แปลว่า เสือ
ส่วนคำอื่นมาจากภาษาอื่น เท่าที่พอหาข้อมูลได้ เช่น
-ภาษากูย (ส่วย) เช่น วอก จอ มะเส็ง (น่าจะมาจาก กาซัน ที่แปลว่า งู ในภาษากูย)
-ภาษาตระกูลไทย-ลาว ก็มี มะโรง (น่าจะมาจาก ลวง แปลว่า นาค , มังกร ในภาษาตระกูลไทย-ลาว ที่ยังพอพบในเอกสารล้านนา)
-ผสมภาษากูยและไทย-ลาว เช่น ระกา (น่าจะมาจากการรวมคำว่า หลู้ย ภาษากูย และ ไก่ ภาษาตระกูลไทย-ลาว ที่มีความหมายเดียวกัน)
อาจจะยังมีกลุ่มชนพูดภาษาอื่นนอกจาก ๓ กลุ่มนี้ ที่ยังสืบค้นไม่ได้อีก
จากตัวอย่างเท่าที่เห็น กลุ่มที่ประกอบขึ้นเป็น ขอม ตามมุมมองของคนไทยสุโขทัย ไม่ได้มีแค่เขมร หรือที่พวกเขาเรียกตัวเองในจารึกยุคก่อนสมัยพระนครคว่า เกมร เพียงพวกเดียว
ปราสาทบายัง สถานที่พบจารึกที่มีตัวเลขขอมที่เก่าแก่ที่สุด ที่มาภาพ guidetrip.info
ตัวเลขขอมก็ดูเหมือนจะเป็นตัวยืนยันเรื่องนี้เช่นกัน
ตัวอักษรทั้งหลายในโลกรวมถึงตัวเลข ต่างสร้างขึ้นมาเพื่อรับใช้ภาษาพูดของเจ้าของภาษานั้น ๆ
เลขขอมมีเลข ๐-๙ คือเป็นเลขฐาน ๑๐ เช่นเดียวกับเลขไทย
แต่ภาษาเขมรในหลักหน่วยมีแค่ ๐-๕ คือ ๐ (โซล) , ๑ (มวย) , ๒ (ปี) , ๓ (เบย) , ๔ (บวน) , ๕ (ปรำ) พูดง่าย ๆ ว่าเป็นเลขฐาน ๖
ในขณะที่ ถ้าจะพูดเลข ๖-๙ ต้องผสมเลข ๕ ตัวแรกเว้นแต่ ๐ คือ ๖ (ปรำมวย) , ๗ (ปรำปี) , ๘ (ปรำเบย) , ๙ (ปรำบวน)
หากขอมคือเขมรเท่านั้น ย่อมสามารถดัดแปลงอักษรที่ประดิษฐ์ขึ้น หรืออักษรที่ยืมมาจากกลุ่มอื่นให้ตรงกับภาษาพูดของตนโดยไม่ต้องคำนึงถึงชนกลุ่มอื่น แบบเดียวกับที่ เกาหลีเพิ่มสัญลักษณ์บนอักษรจีนเพื่อให้สามารถรองรับเสียงในภาษาตนได้ จากเดิมที่ไม่สามารถออกเสียงให้เหมือนได้เต็มที่ เป็นต้น
หรือหากเขมรคือผู้มีอิทธิพลทางวัฒนธรรมหรือการเมืองสูงสุดของกลุ่ม คนกลุ่มอื่นใต้อิทธิพลเขมรย่อมต้องเข้าใจภาษาเขมรในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะเรื่องตัวเลขที่เป็นพื้นฐานของชีวิตอย่างหนึ่งของคน ก็ไม่มีเหตุผลที่ต้องคงเลขให้เป็นฐาน ๑๐ อยู่ดี
เว้นแต่ว่า ขอมประกอบด้วยคนหลายจำพวก , มีจำนวนไม่น้อยที่ใช้เลขฐาน ๑๐ และคนหลายจำพวกเหล่านั้นมีบางกลุ่มหรือหลายกลุ่มที่รวมกันแล้วมีอิทธิพลสำคัญต่อทุกกลุ่มที่ถูกเรียกรวม ๆ ว่า ขอม
ถ้าเรามาลองดูกลุ่มอื่นที่เป็นส่วนหนึ่งของชาวขอมข้างต้นจากข้อสังเกตเรื่อง ๑๒ นักษัตร เช่น ชาวกูย
การแต่งกายของชาวกูย (ส่วย) ที่มาภาพ https://www.facebook.com/%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B3-474238909581302/?ref=page_internal
ก็ปรากฏว่า ชาวกูยก็มีเลขฐาน ๑๐ เช่นเดียวกับชาวไทยแต่ก็มีเอกลักษณ์เฉพาะของตน คือ ๑ (หมูย) , ๒ (เบีย) , ๓ (ไป) , ๔ (ปอน) , ๕ (เซิง) , ๖ (กาผัด) , ๗ (กาโผล) , ๘ (กาค๊วล) , ๙ (กาแข๊ะ) , ๑๐ (กาเจ็ด)
จากการศึกษาในปัจจุบัน ชาวกูยไม่มีตัวอักษรของตัวเอง ไม่แน่ใจว่าอดีตเคยมีหรือไม่
นอกจาก ๒ กลุ่มนี้ กลุ่มที่รวมเป็นขอม อาจจะมีกลุ่มอื่นอยู่อีก ซึ่งเมื่อรวมกับกลุ่มกูยและไทย-ลาว แล้ว ก็คงมีอิทธิพลทั้งทางวัฒนธรรมหรือการเมืองมากพอที่ทำให้เลขดังกล่าวต้องคงไว้เพื่อความเข้าใจของชนทุกกลุ่ม อย่างที่ได้กล่าวถึงไปแล้ว
การสรุปว่าเลขแบบนี้เป็นของเขมรเพียงฝ่ายเดียว และไทยรับเลขจากเขมร
เป็นข้อสรุปที่ไม่น่าจะใช่ครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา