30 พ.ค. 2022 เวลา 22:43 • ธุรกิจ
ธุรกิจครอบครัว Book Smart หรือ Street Smart
หลายครั้งที่เรามักเห็นการขัดแย้งในธุรกิจครอบครัว ที่มาจากภูมิหลังการศึกษาที่แตกต่างกัน
เหมือนกับที่หลายคนชอบพูดว่า Book Smart กับ Street Smart นั้น
แบบนั้นดีกว่าแบบนี้ คนที่เรียนหนังสือ จบสถาบันมีชื่อเสียง หรือ เป็นเด็กที่เรียนหนังสือเก่ง แต่ปรากฎว่าเด็กที่เรียนมาน้อยหรือหนังสือไม่เก่ง กลับประสบความสำเร็จมากกว่าเด็กที่เรียนหนังสือเก่ง
2
ลองดูสิมหาเศรษฐีของโลกเขาไม่ต้องเรียนก็ได้ลาออก แล้วลงมือทำธุรกิจตั้งแต่อายุยังน้อย สามารถสร้างกิจการ ประสบความสำเร็จ
1
มันมาเกี่ยวข้องกับธุรกิจครอบครัวก็ตรงที่เรามักจะเห็น
1
พ่อแม่ที่ต้องทำงานตั้งแต่อายุน้อย ไม่ได้จบสูง พอมีลูกก็ดั่นด้น ส่งให้ลูกเรียนสูงที่สุดเท่าที่จะทำได้
บางคนถึงขั้นจบปริญญาเอกอยู่เมืองนอกเป็นสิบๆปี เชี่ยวชาญชำนาญ ในแขนงนั้นๆ แต่ก็ทำให้เขามีความสนใจในศาสตร์ต่างๆ พอลูกกลับมาก็ไม่อยากมาทำงานที่บ้าน
5
พ่อแม่ที่ให้ลูกคนโตอยู่ใกล้ตัว และส่งคนกลาง คนเล็กไปเมืองนอก ที่พอน้องๆกลับมาก็พูดแต่จะเอาบริษัทเข้าตลาด ความพร้อมภายในองค์กรไม่ปรับปรุง บุคลากรสำคัญๆยังไม่มี ก็เกิดประเด็นขัดแย้งกันอีก
1
พ่อแม่ที่ทำงานแบบข้าเต่าเก่าเลี้ยงดูแลคนเก่าคนแก่ ลูกกลับมาก็มีลุงป้าน้าอาอยู่เต็มบริษัท จะขยับอะไรแต่ละทีก็เหมือนเขาว่า จับช้างเต้นระบำ
3
พ่อแม่ที่ประสบความสำเร็จมากในสาขาวิชาชีพอะไร กลายเป็นลูกไม่อยากเรียนอย่างนั้นเพราะรู้สึกอยู่ภายใต้เงาอยู่ตลอดเวลา
พ่อแม่ที่มีความเชื่อว่าการทำงานหนักเท่านั้นที่จะเป็นบ่อเกิดความสำเร็จ อาจจะมองลูกที่นั่งทำงานอยู่ในห้องเอาแต่วิเคราะห์ตัวเลข มันจะสัมผัสธุรกิจได้อย่างไร
1
เคยมีคนกล่าวไว้ว่า
ความสำเร็จมาจากการตัดสินใจที่ถูก
การตัดสินใจที่ถูกมาจากประสบการณ์
ประสบการณ์มาจากการตัดสินใจที่ผิด
การตัดสินใจที่ผิดมาจากความกล้า
20
ในฐานะเจ้าของกิจการที่ต้องตัดสินใจปูทางให้ลูก
ที่เชื่อว่าทุกคน คงอยากให้เขามาสืบทอดธุรกิจ คงคิดหนักว่าจะให้เขาไปทางไหนดี
1
จะส่งให้เรียนอย่างเดียว เป็น Book Smart ก็กลัวจะไม่มีไหวพริบแบบ Street Smart
ครั้นจะเก็บไว้ใกล้ตัว ให้มากด้วยประสบการณ์ แบบ Street Smart ก็กลัวเขาขาดวิสัยทัศน์ สังคมแคบและไม่สนใจเรื่องวิทยาการสมัยใหม่
4
เรื่องราวแบบนี้จึงไม่มีสูตรสำเร็จแต่อยาก แชร์ประสบการณ์ ของบ้านที่ได้สัมผัส แล้วเห็นการอบรมทายาทที่น่าสนใจ เผื่อเป็นแนวทาง สำหรับท่านเจ้าของกิจการ ที่กำลังวางแนวทางสำหรับทายาทกัน
1. ในวัยเด็ก เขานำลูกมาในที่ทำงานด้วย เพื่อบอกว่าพ่อแม่ทำอะไร พาเดินเล่น แนะนำให้รู้จักกับทุกคนในบรืษัทและทุกคนที่ทำงานแม้แต่ในโรงงาน ที่สำคัญเขาสอนให้ลูกมีสัมมาคารวะต่อผู้ที่อาวุโสกว่า ไม่ว่าเขาเหล่านั้นจะทำงานตำแหน่งอะไร
2
2. เขาเลือกให้ลูกเรียนโรงเรียนไทยในระดับประถม เพื่อให้ภาษาไทยแข็งแรง และมีเพื่อนร่วมชั้น ก่อนที่จะส่งไปเรียนหนังสือต่างประเทศ บางบ้านเลือกให้จบตรีเมืองไทย ก่อนไปต่อโทเมืองนอก เพราะเราคงปฎิเสธไม่ได้ว่าการมีเพื่อนร่วมรุ่นมีความหมายมากในการทำงานของเขาในอนาคต รวมทั้งขณะที่เขายังเล็ก ความใกล้ชิดกับครอบครัวก็เป็นเรื่องสำคัญ
3
3. หากธุรกิจที่มีการขยายงานไปในต่างประเทศ ในวัยมัธยม อาจจะเลือกย้ายไปเรียนที่ต่างประเทศหรือรอจนจบมัธยม ไปต่อในต่างประเทศ เนื่องจากภาษา ยิ่งเริ่มต้นไวยิ่งดี หรือเลือกการไป summer หรือฝึกงาน 3-4 เดือนที่ปิดภาคเรียน
4. สาขาวิชาคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษจะเป็นสองวิชาหลักที่ปลูกฝังให้ลูกมาโดยตลอด ตั้งแต่เล็กจนเขาเติบใหญ่ ถึงแม้ลูกไม่ชอบวิชาการ แต่เป็นสองสาขาที่ห้ามละเลย
2
5. หากลูกมีผลการเรียนที่ไปไหวก็จะเลือกหลักสูตรสายวิทย์ให้ในระดีบปริญญาตรี แล้วต่อด้วย MBA หรือหลักสูตรทางบริหารในระดับปริญญาโท แต่ถ้าเขาไม่ชอบ ลองดูความสนใจอาจจะให้เขาเริ่มรับผิดชอบ project แล้วเรียนรู้จากการทำงาน
6. ทางด้านภาษา นอกจากไทยและอังกฤษแล้ว ภาษาจีนและญี่ปุ่น จะได้รับความนิยมรองมา แต่กลับมีเรื่องที่น่าสนใจ คือการเรียนภาษาประเทศเพื่อนบ้านเรา ไม่ว่าจะเป็น เมียนมาร์ เขมร ลาว เวียดนาม มลายู กำลังได้รับความนิยมต่อเนื่อง
7. ระหว่างที่เรียนหนังสือ การทำงานในวันเสาร์ ของลูกหลานเหล่านี้ คือเข้ามาช่วยหยิบจับงานในสำนักงาน หรือเยี่ยมเยียนสาขาในต่างจังหวัด เคยมีเรื่องเล่า ว่า ครอบครัวหนึ่งใช้เวลาเดินทางจาก กรุงเทพ ถึงหัวหินกว่า 8 ชั่วโมงเพราะ คุณพ่อพาแวะเวียนเยี่ยมเยียนสาขาต่างๆตลอดเส้นทาง
2
8. การสอนเรื่องการใช้จ่าย อย่างที่เคยเรียนไว้ว่า พ่อแม่ต้องการลูกเป็นอย่างไรตัวเองต้องปฏิบัติเป็นตัวอย่าง ถ้าต้องการสอนให้ลูกเป็นคนระมัดระวังเรื่องการใช้จ่าย พ่อแม่ก็ต้องทำเป็นตัวอย่าง ไม่มีพ่อแม่ฟุ่มเฟือยคนไหน สอนให้ลูกประหยัดได้ และเช่นกัน เด็กไม่มีทางเข้าใจถ้าคุณไม่ทำตามสิ่งที่พูด
1
9. เข้าใจในความสามารถของลูก แต่ก็มักผลักดันเขาให้ใช้ความสามารถเต็มที่
เรื่องการห่วงใย ดูแลปกป้องลูกคงเป็นเหมือนกันทุกครอบครัว แต่จะสังเกตได้ว่าครอบครัวที่ประสบความสำเร็จนั้นจะผลักดันให้ลูกแสดงศักยภาพนั้นอย่างเต็มที่ที่สุด
10. เป็นทั้งผู้ปกครองและผู้ให้คำปรึกษาในเวลาเดียวกัน อาจจะเรียกได้ว่า สามารถสร้างสายสัมพันธ์ที่เหนียวแน่นกับลูกได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมากเพราะ เงื่อนเวลาและภาระกิจรัดตัว การที่สามารถไปร่วมกิจกรรมกับลูก จึงถือเป็นยิ่งกว่าหน้าที่ในการบริหารงานใดๆ
สุดท้ายคงเห็นว่า ทั้ง Book Smart และ Street Smart มีความสัมพันธ์ไม่ยิ่งหย่อนกัน ฉะนั้นการยอมรับและชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของทั้งสองสิ่ง จึงเป็นหน้าที่ของพ่อแม่โดยแท้ เนื้อหาวิชาการทำให้เราไม่ต้องเสียเวลากับกาารตกผลึกทางความคิด แต่ประสบการณ์ในการวิเคราะห์สถานการณ์ตรงหน้า และการตัดสินใจ เร็วช้าหนักเบา ต้องเคยเจอถึงจะรู้จังหวะที่เหมาะสม
2
และชีวิตจริงไม่ใช่เวทีโต้วาที ที่เราต้องเลือกข้าง หรือเชื่อว่าสิ่งใดดีที่สุดแบบหลับหูหลับตา การนำแนวคิดแต่ละแบบมามองแบบพินิจพิเคราะห์และดึงข้อดีแต่ละจุดมาใช้ต่างหาก คือ
การเป็นคน Smart อย่างแท้จริง
5
สุวภา เจริญยิ่ง
โฆษณา