31 พ.ค. 2022 เวลา 04:48 • สุขภาพ
1 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป ตัวเลขโควิดที่มีการรายงาน จะลดลงเป็นอย่างมาก เพราะเหตุใด ?
1
หลังจากที่ประเทศไทยพบเคสแรกของโควิด-19 เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2563 นับถึงวันนี้ก็เป็นเวลา 2 ปี 4 เดือนเศษแล้ว
ประเทศไทยได้ผ่านระลอกใหญ่ของโควิดมาทั้งสิ้น 4 ระลอกด้วยกัน ประกอบด้วย
ระลอกที่ 1
มกราคม ถึง พฤษภาคม 2563
ระลอกที่ 2
ธันวาคม 2563 ถึง มีนาคม 2564
ระลอกที่ 3
เมษายน ถึง ธันวาคม 2564
ระลอกที่ 4
1 มกราคม 2565 จนถึงปัจจุบัน
จะเห็นพัฒนาการของการรายงานสถิติตัวเลขเกี่ยวกับโควิด-19 มาเป็นลำดับดังนี้
1) ผู้ติดเชื้อ
1.1 โควิดระลอกที่ 1-3 จะรายงานผู้ติดเชื้อที่ตรวจยืนยันด้วยวิธี RT-PCR เท่านั้น
1.2 ระลอกที่ 4 จะรายงานผู้ติดเชื้อทั้งตรวจยืนยันแบบ RT-PCR และตรวจแบบ ATK
1.3 ระลอกที่ 4 นับตั้งแต่ 15 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นมา ไม่มีการตรวจ ATK เชิงรุกโดยหน่วยงานของรัฐ ชนิดไม่เก็บค่าใช้จ่ายอีกต่อไป
2) ผู้เสียชีวิต
2.1 ระลอกที่ 1-3 จะรายงานทุกเคสที่เสียชีวิตถ้ามีการตรวจพบว่าติดโควิด (Died from COVID-19 และ Died with COVID-19)
2.2 ระลอกที่ 4 ช่วง 1 มกราคมถึง 30 เมษายน 2565 ยังคงรายงานการเสียชีวิตแบบระลอกที่ 1-3
2.3 ระลอกที่ 4 ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นมา จะรายงานเฉพาะผู้เสียชีวิตจากโควิดโดยตรง (Died from COVID-19) ไม่รายงานผู้เสียชีวิตจากโรคร่วมหรือโรคประจำตัวแต่ติดโควิด (Died with COVID-19)
ขณะนี้โควิดของไทยอยู่ในช่วงขาลงพร้อมกับประเทศต่างๆทั่วโลก จึงเกิดมาตรการผ่อนคลายที่หลากหลายกันไป
รวมทั้งเรื่องการรายงานสถิติต่างๆ บางประเทศเริ่มรายงานเป็นรายสัปดาห์ บางประเทศรายงานเฉพาะผู้เสียชีวิต
สำหรับประเทศไทย นับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 เราจะเปลี่ยนการรายงานจากผู้ติดเชื้อ เป็นผู้ป่วยที่มีอาการและต้องรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลเท่านั้น
1
ซึ่งจะทำให้สถิติโควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป จะมีตัวเลขที่ลดลงอย่างมาก
1
จึงจำเป็นจะต้องทราบข้อเท็จจริง และเข้าใจวิธีการจัดทำรายงานสถิติดังกล่าวด้วย
ที่สำคัญคือ แม้โควิดจะอยู่ในช่วงขาลง มีตัวเลขสถิติต่างๆลดลง แต่ก็ยังควรที่จะใส่หน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในสถานที่หรือมีกิจกรรมเสี่ยง
รวมทั้งรับวัคซีนอย่างน้อย 3 เข็ม เพื่อเป็นการป้องกันตัวเองไม่ให้ติดเชื้อ และช่วยกันทำให้สถานการณ์ของประเทศดีขึ้นต่อไป
Reference
ศูนย์ข้อมูล โควิด-19
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
โฆษณา