1 มิ.ย. 2022 เวลา 07:27 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
#เลือก Smart Switch ต้องดูอะไรบ้าง
บทความนี้จะกล่าวถึงอุปกรณ์สวิตช์ไฟ (ต่อไปขอใช้คำว่า Smart Switch) ที่เป็นอุปกรณ์ Smart Home พื้นฐานในบ้าน โดยส่วนตัวจะใช้หลักในการเลือก Smart Switch ดังนี้
Smart Switch แบบต่างๆ
1. จำนวนวงจรหลอดไฟของแผง Switch หรือ จำนวนแก๊ง (Gang) มีให้เลือกตั้งแต่ Switch 1/2/3/4 Gang ให้เราเลือก Gang ตามจำนวนวงจรหลอดไฟที่เราต้องการควบคุม (ตามแผง Switch เดิมที่เปลี่ยน) หรือเลือกจำนวน Gang เกินเผื่อเพิ่มการทำงาน Automation ก็ได้
จำนวน Gang-วงจรหลอดไฟ
2. เลือกสัญญาณที่เชื่อมต่ออุปกรณ์ ได้แก่ สัญญาณ wifi (2.4GHz), สัญญาณ Zigbee, สัญญาณ Bluetooth,
โดยทั่วไปบ้านมีสัญญาณ wifi อยู่แล้วอาจจะเริ่มต้นด้วย smart switch แบบ wifi แต่ถ้าจะใช้แบบสัญญาณ Zigbee หรือ Bluetooth จำเป็นต้องมี zigbee/Bluetooth gateway ทำหน้าที่ควบคุมการสื่อสารอุปกรณ์ด้วย
3. เลือกจากคุณสมบัติภายนอก ได้แก่
3.1 ขนาดของแผง Switch มีแบบ US type และแบบ UK type ซึ่งในบ้านเราส่วนใหญ่จะเป็น US type ที่แผงสวิตช์เป็นขนาดสี่เหลี่ยมผืนผ้า ส่วนแบบ UK จะเป็นขนาดสี่เหลี่ยมจัตุรัส
3.2 รูปแบบปุ่มเปิดไฟ : แบบปุ่มสัมผัส หรือ แบบปุ่มกด(ให้ความรู้สึกเสมือนปุ่ม Switch แบบธรรมดา)
ขนาดของแผง Switch
4. เลือกSmart Switch แบบมีช่อง N และไม่มีช่อง N: เลือกตามลักษณะวงจรสายไฟที่แป้น Switch โดยวงจรหลอดไฟจะประกอบด้วยสาย L (Line) และสาย N (Neutral) การเดินสายตรงตำแหน่งแป้น Switch มี 2 แบบ
4.1. แบบที่เดินสาย L+N ที่สามารถต่อใช้งาน Smart Switch แบบมีช่อง N ได้เลย และ
Smart Switch ต่อสาย N
4.2 วงจรที่เดินสาย L มาอย่างเดียว แต่สาย N แยกสายเดินไปที่หลอดไฟเลย (มักพบในบ้านหรือคอนโดสมัยใหม่) กรณีนี้จะต้องเลือกใช้ Smart Switch แบบที่ไม่มีช่อง N และใช้ตัวเก็บประจุ Capacitor ต่อคร่อมที่หลอดไฟเพื่อเป็นตัวจ่ายไฟอ่อนๆให้กับ Smart Switch ทำงานได้ (ปล. มี Smart Switch บางรุ่นมีช่อง N แต่รองรับวงจรที่ไม่มีสาย N ใช้คู่กับ Capacitor ได้)
Smart Switch ไม่ใช้สาย N - ใช้ Capacitor คร่อมหลอดไฟ
วงจรหลอดไฟที่ไม่มีสาย N ที่แป้น Switch
5. เลือก Smart Switch ตาม Function การใช้งาน เช่น แบบ Basic /แบบ Mini DIY/หรือแบบไร้สาย-ใช้ Battery
5.1 Basic Smart Switch ใช้กรณีเดินสายวงจรใหม่ต่อระหว่าง Breaker สายไฟและหลอดไฟเลย หรือกรณีที่ไม่ต้องการเปลี่ยนแผง Switch เดิมแต่ต้องกดเปิดไว้ตลอดและใช้การเปิดปิดผ่าน Smart Switch แทน
แบบ Basic ยี่ห้อ Sonoff
5.2 Mini/DIY Smart Switch ใช้งานร่วมกับแผง Switch ตัวเดิมหรือ Trigger Switch, หรือใช้ตัดต่อทำ Switch 2 ทาง DIY Switch มีขนาดเล็กสามารถซ่อนไว้ในช่องหลังแป้นสวิตช์เดิม ซ่อนไว้บนฝ้าหรือในโคมไฟ
แบบ mini DIY
5.3 Wireless Smart Switch: ทำงานโดยใส่ battery และเชื่อมต่อสัญญาณ Zigbee/RF/Bluetooth ในการสั่งเปิดปิดอุปกรณ์ผ่าน App หรือ pairing กับ Smart Switch ตัวอื่น เป็นต้น ใช้สำหรับติดตั้งในจุดที่ไม่ต้องการเดินสายไฟใหม่ หรือใช้ทำ Switch 2 ทางโดยการสร้าง Scene Automation
Smart Switch แบบ Wireless
6. เลือกยี่ห้อของอุปกรณ์: เพราะการเลือกยี่ห้ออุปกรณ์ Smart Switch หรือ Smart Product อื่นที่ยี่ห้อเดียวกัน ทำให้สามารถใช้งาน App ตัวเดียวในการควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมดภายในบ้าน (อย่างไรก็ตามมีกรณีที่สามารถใช้ App เดียวควบคุมอุปกรณ์ต่างยี่ห้อได้เช่น Home Assistant ซึ่งเป็น Open Source Software)
7. เลือกจากคุณสมบัติหรือ Function การทำงานเสริมอื่นๆ เช่น Function การ setup ด้วย BLE , Function RF (433 MHz) รองรับการปรับแต่งสีสถานะของปุ่มไฟสัมผัส, รองรับการสั่งงานด้วยเสียง Google Home, Alexa เป็นต้น
จบแล้วครับสำหรับหลักในการเลือก Smart Switch ที่เป็นความคิดเห็นส่วนตัวที่เอามาแชร์กัน หากมีข้อแนะนำรบกวนฝาก comment ไว้ด้วยครับ เพื่อการพัฒนา blog ต่อไปครับ ขอบคุณครับ
#WAYUtech
#design your smart life
โฆษณา