Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
สรุปหุ้น กองทุน ต่างประเทศ - BottomLiners
•
ติดตาม
31 พ.ค. 2022 เวลา 13:45 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เทียบกันชัด ๆ รถยนต์แต่ละชนิด แบบไหน? เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมกว่า
หลายคนอาจจะงงอยู่ว่าสรุปตอนนี้ รถยนต์แบบไหนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมกันแน่
บางคนบอกว่า รถ EV ไม่ดี
สุดท้ายก็ต้องใช้ไฟฟ้า
ซึ่งไฟฟ้าก็ใช้พลังงานจากน้ำมันหรือถ่านหินต่าง ๆ เป็นส่วนใหญ่อยู่ดี…
บ้างก็ว่าขั้นตอนการขุดแร่มาทำแบตเตอรีทำลายโลก …
หรือบ้างก็ว่าใช้เซลล์ไฮโดรเจน (FCEV) ดีกว่า…
โพสต์นี้จะทำให้คุณไม่ต้องมานั่งเถียงกันอีกต่อไป ว่าแบบไหนดีกว่ากัน
ด้วยการเทียบแบบ “Well to Wheel” หรือการเก็บข้อมูลจากทุกกระบวนการตั้งแต่ต้นทางแหล่งกำเนิดพลังงาน กระบวนการขุดเจาะ ผลิต ทำเซลล์พลังงาน ไปจนถึงขับเคลื่อนรถยนต์ ว่าแบบไหนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่ากัน
เพราะถ้าเทียบแค่การขับเคลื่อนตัวรถ รถยนต์ที่ไม่ได้ใช้พลังงานสันดาปจากน้ำมันโดยตรงก็เป็น zero emission เหมือนกันหมด
แต่หากเทียบทุกกระบวนการผลิตจนถึงขับเคลื่อนรถ เราจะเห็นชัดว่าแตกต่างกันพอสมควร
=====
#คนรู้อยู่แล้วอ่านข้ามได้เลย
เริ่มต้นเราต้องเข้าใจก่อนว่า ตัวย่อในภาพมีความหมายว่าอย่างไรบ้าง
#ICE (internal combustion engines) รถพลังงานสันดาปหรือรถใช้น้ำมันทั่วไปนั้นเอง
—--
#HEV (hybrid electric vehicles) รถยนต์ไฮบริดแบบเก่า คือใช้น้ำมันปกติ และจะมีมอเตอร์ในการสลับทำงานร่วมด้วย แต่ไม่สามารถชาร์ตไฟฟ้าจากภายนอกได้ ระบบจะเก็บพลังงานไฟฟ้าจากการขับเคลื่อนล้อเท่านั้น
—--
#PHEV (plug-in hybrid electric vehicles) รถยนต์ไฮบริดแบบใหม่ ยังมีเครื่องยนต์อยู่ และมีมอเตอร์ด้วย แตกต่างจากแบบเก่าคือสามารถชาร์ตไฟฟ้าจากภายนอกได้
—--
#BEV (battery electric vehicle) รถยนต์แบบนี้จะไม่มีเครื่องยนต์แล้ว มีมอเตอร์อย่างเดียว ชาร์ตไฟฟ้าจากภายนอก และไม่ต้องเติมน้ำมันอีกต่อไป
—--
#FCEV (fuel cell electric vehicle) รถยนต์แบบนี้ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าอย่างเดียวเหมือน BEV แตกต่างกันตรงที่แหล่งเก็บพลังงานไม่ได้ใช้แบตเตอรี่เก็บไฟฟ้า แต่ใช้ก๊าซไฮโดรเจนในการกำเนิดพลังงานไฟฟ้า
=====
#วิธีดูchart
ในภาพจะเป็น chart แบบ range bar chart
ซึ่งจะบอกข้อมูล จุดสูงสุด-จุดต่ำสุดของแต่ละประเภทด้วยหน่วยเป็น gCO2-eq/km และค่าเฉลี่ยทั่วโลกด้วย (จุดสีเหลือง) ว่าเฉลี่ยแล้วแบบไหนปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่า
ซึ่งสาเหตุที่แต่ละประเภทนั้นมี range ที่ไม่เท่ากัน
เพราะในกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้มาซึ่งพลังงาน
แต่ละที่ แต่ละกระบวนการมีใช้แหล่งพลังงานที่แตกต่างกัน
เช่น บางประเทศใช้การผลิตไฟฟ้าแบบ clean energy จากน้ำ ลม แสงอาทิตย์ บางประเทศใช้พลังงานจากเชื้อเพลิง และถ่านหิน รวมถึงความยากในการขนส่ง กระบวนการผลิตที่แตกต่างกัน
=====
#ข้อมูล
#ICE จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ที่ 151-245 gCO2-eq/km
ค่าเฉลี่ยทั่วโลก 202 gCO2-eq/km
—--
#HEV จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ที่ 101 - 189 gCO2-eq/km
ค่าเฉลี่ยทั่วโลก 136 gCO2-eq/km
ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่ารถน้ำมันเฉลี่ย 32%
—--
#PHEV จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ที่ 44 - 187 gCO2-eq/km
ค่าเฉลี่ยทั่วโลก 107 gCO2-eq/km
ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่ารถน้ำมันเฉลี่ย 47%
—--
#BEV จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ที่ 0 - 187 gCO2-eq/km
ค่าเฉลี่ยทั่วโลก 83 gCO2-eq/km
ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่ารถน้ำมันเฉลี่ย 58%
—--
#FCEV จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ที่ 0 - 367 gCO2-eq/km
ค่าเฉลี่ยทั่วโลก 101 gCO2-eq/km
ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่ารถน้ำมันเฉลี่ย 50%
=====
#สรุป
ไม่ว่าจะรถไฟฟ้าแบบไหนก็ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งนั้น แม้จะไม่เท่ากัน
โดย HEV ลดได้น้อยสุด PHEV และ FCEV นั้นลดได้พอ ๆ กัน
ส่วนแชมป์ (ในปัจจุบัน) ยังเป็นของ BEV ที่ใช้ลดลงถึง 58%!!
ซึ่งอนาคตสถิติเหล่านี้อาจเปลี่ยนแปลงได้อีก ลดลงมากกว่านี้ หรือตำแหน่งแชมป์อาจเปลี่ยน
แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม อยากสนับสนุนให้คนหันมาใช้รถไฟฟ้ากันเยอะ ๆ เพราะมันเป็นผลดีต่อโลกของเราแน่นอน :)
BottomLiner
=====
Source:
iea.org
#รถไฟฟ้า #รถยนต์ไฟฟ้า #ICE #HEV #PHEV #BEV #FCEV
20 บันทึก
10
11
20
10
11
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย