2 มิ.ย. 2022 เวลา 04:25 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ไปเที่ยว "ดอย" กันไหม?
(ข้อมูลบางส่วนจาก คอลัมน์ ทันเศรษฐกิจ โดย...ศาสตราจารย์ ดร.สรศาสตร์ สุขเจริญสิน คณบดีคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)
อากาศหนาวบนดอยทางภาคเหนือย่อมเป็นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้แห่กันไปขึ้นดอยเพื่อสัมผัสอากาศสดชื่นเย็นสบายประหนึ่งเหมือนได้ไปเทือกเขา Alps ที่ยุโรป แต่.....สำหรับนักลงทุนและนักเก็งกำไร ไม่ว่าจะในสิทรัพย์โลกเก่าอย่างหุ้น อนุพันธ์ ค่าเงิน ทอง หรือโลกใหม่อย่าง คริปโต ล้วนไม่อยากขึ้นไปเที่ยวดอยกันทั้งนั้น
"ติดดอย" เป็นศัพท์ที่เหล่านักลงทุนใช้พูดถึงเมื่อมูลค่าของสินทรัพย์ที่ลงทุนลดลงจากทุนที่ตัวเองลง สรุปง่าย ๆ คือ ขาดทุนนั่แหละ และไม่ว่าคุณจะเก่ง จะเก๋าประสบการณ์ รวยจากไหนหรือมีเครื่องมือดีแค่ไหน ย่อมต้องเคยไปเที่ยวดอยกันทั้งนั้น (ยกเว้นเจ้ามือ!) คำถามที่ชวนคิดคือ
#เมื่อต้องไปเที่ยวดอยแล้วจะกลับบ้านได้อย่างไร?
สิ่งแรกก่อนหาทางกลับบ้าน ควรทำความเข้าใจก่อนว่า การติดดอยนั้นมีความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์โลก คือ รัก โลภ โกรธ หลง ...
Professor Daniel Kahneman ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยา แต่ได้รับรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ ปี2002 เพราะท่านคิดค้นทฤษฎีที่ใช้อธิบายพฤติกรรมการตัดสินใจเมื่อต้องเผชิญความเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเสี่ยงในการลงทุน
โดยมีkey word สำคัญคือ "เรามักเกลียดการสูญเสียแต่ก็ไม่ค่อยดีใจกับการได้มา" ลองถามตัวเองว่าจริงหรือไม่เวลาติดดอย คือ เมื่อคุณติดดอยก่อนจะตั้งสติหาทางลงดอยก็จะหาวิธีการ "ปลอบใจ" หรือ หลักเลี่ยงความเสียใจ (Regret aversion) และเมื่อมีสติจะเกิดพฤติกรรม หาวิธีการลงดอย หรือพฤติกรรมหนีการขาดทุน (Loss aversion) ที่เรามักได้ยินวลีคลาสสิค "ไม่ขายไม่ขาดทุน"
ลองไตร่ตรองดูให้ดีว่า วลีดังกล่าว เป็นวลีปลอบใจหรือหลอกตัวเองใช่หรือไม่? เพราะในความเป็นจริง ราคาหุ้น ราคาเหรียญลดลงต่อเนื่องทุกวัน ๆ จนแทบไม่เหลือค่าเลย เช่น LUNA ซึ่งความคิดแบบนั้นกลายเป็นพฤติกรรมที่เรียกว่า ตรรกะวิบัติ (สรศาสตร์ สุขเจริญสิน, 2565)
ในทางเศรษฐศาสตร์มีต้นทุนตัวหนึ่งเรียกว่า "Sunk Cost" หรือ ต้นทุนจม เวลาผมสอนวิชาบัญชีบริหาร ผมจะอธิบายต้นทุนตัวนี้ว่า มันคือเงินที่ลงลงทุนแล้วมันจมหายไปแล้วในอดีต ปัจจุบันมันก็จมไปแล้วจะเอาคืนมาก็ต้องหาทางออกในปัจจุบัน โดย
อาจารย์สรศาสตร์ แนะนำวิธีหาทางกลับบ้านจากดอยสูงไว้ 2 วิธี
1. Stop Loss , Cut Loss
ผมมักเรียกวิธีนี้ว่า "เจ็บสั้นดีกว่าปวดนาน" คือ เมื่อเห็นอยู่เต็มตาแล้วว่า ขาดทุน จึงแม้นจะเห็นคำว่า Unrelize gain/loss ในport ซึ่งก็คือวลี ไม่ขายไม่ขาดทุน แต่ถ้าปล่อยไว้แทนที่จะขาดทุนน้อย จะกลายเป็น เจ๊งไม่เหลืออะไรเลย เชื่อว่า นลท. ทำการกำหนดจุด stop loss เป็นอยู่แล้วคงไม่กล่าวถึง แต่จะต่างกันแต่ละคนตรงที่ ใครอึดมากกว่า
2. SBL (Securities Borrowing and Lending)
คือ การให้ยืมหุ้นที่เรามีให้คนอื่นเอาไปซื้อ-ขาย แล้วมีการให้ผลประโยชน์ตามที่ตกลงกันระหว่างคนให้ยืมกันคนยืม ถ้าในโลกคริบโต คือการ Stak เหรียญ หรือ ทำ Farm ก็มีแนวคิดเดียวกัน แต่วิธีนี้หากเป็นหุ้น จะทำได้ควรมีหุ้นจำนวนมากในมือที่จะให้ชาวบ้านยืม
แถมให้อีกวิธี คือ "ขายทิ้งทั้งหมด" (กรณีคุณถือหุ้นปั่นที่พื้นฐานบริษัทไม่ดี เช่น พวกหุ้นตระกูล ต่ำบาท ต่ำ 5 บาท หุ้นปั่นกว่าราคาจะกลับมาก็ไม่รู้เมื่อไรอาจจะแค่ 1 อาทิตย์หรือเป็นปี ๆ) แล้วเอาเงินต้ที่เหลืออยู่จากที่ขาดทุนไปเข้าหุ้นที่มีพื้นฐานดี อย่างน้อยราคายังไม่ขยับจนทำให้มีกำไรเป็นกอบเป็นกำ แต่ยังได้เงินปันผลเข้ามาก็ยังดีกว่าไม่ได้อะไรเลย
หรือ "ขายบางส่วน" (กรณีนี้เหมาะกับหุ้นที่คุณถือเป็นหุ้นพื้นฐานดีแต่ราคาลงเพราะ sentiment ตลาด)
ดังนั้น วลีที่ว่าไม่ขายไม่ขาดทุน อาจเป็นมายาคติที่ทำให้คุณไปซื้อบ้านอยู่บนดอยเป็นการถาวรจนหาทางกลับบ้านไม่ได้
โฆษณา