Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย
•
ติดตาม
3 มิ.ย. 2022 เวลา 03:15 • สุขภาพ
โควิดไทยดีขึ้นชัดเจนแล้ว ทำไมประกาศโรคประจำถิ่นยังไม่ได้ ?
สถานการณ์โควิดของไทย ณ ปัจจุบัน (3 มิถุนายน 2565) ดีขึ้นอย่างชัดเจนในทุกมิติ เมื่อเปรียบเทียบสถิติของวันนี้ กับยอดสูงสุดหรือพีคในระลอกที่ 4 จากไวรัสโอมิครอน ประกอบด้วย
1) ผู้ติดเชื้อแบบ PCR
ลดลงจาก 28,379 ราย
เหลือ 2976 ราย
2) ผู้ติดเชื้อแบบ ATK
ลดลงจาก 49,494 ราย
เหลือ 4,387 ราย
3) ผู้ติดเชื้อรวม
ลดลงจาก 72,478 ราย
เหลือ 7363 ราย
4) ผู้รักษาตัวอยู่ในระบบ
ลดลงจาก 259,126 เตียง
เหลือ 34,898 เตียง
5) ผู้ป่วยหนักมีอาการปอดอักเสบ
ลดลงจาก 2123 เตียง
เหลือ 818 เตียง
6) ผู้ป่วยหนักมากใช้เครื่องช่วยหายใจ
ลดลงจาก 940 เตียง
เหลือ 398 เตียง
7) ผู้เสียชีวิต
ลดลงจาก 129 ราย
เหลือ 32 ราย
แต่ทำไมยังไม่สามารถประกาศให้เป็นโรคประจำถิ่น (Endemic) ได้
ทั้งนี้ก็เนื่องมาจาก ได้มีการกำหนดและประกาศต่อสาธารณะว่า เกณฑ์ที่จะถือว่าโควิด-19 ของไทย เป็นโรคประจำถิ่นได้นั้น ประกอบด้วย
1) อัตราผู้เสียชีวิตต่อผู้ติดเชื้อ จะต้องน้อยกว่า 0.1% (โดยคิดเป็นค่าเฉลี่ยรายสัปดาห์ติดต่อกันอย่างน้อยสองสัปดาห์)
2) อัตราครอบคลุมการฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 ต้องมากกว่า 60% ทั้งในกลุ่มประชาชนทั่วไปและกลุ่มผู้สูงอายุ
3) สถิติอื่นๆประกอบด้วย
จำนวนผู้ติดเชื้อ
จำนวนผู้ป่วยหนัก
อัตราการครองเตียงในระดับ 2,3
1
เมื่อสำรวจตรวจสอบสถิติต่างๆตามเกณฑ์ดังกล่าวแล้วพบดังนี้
อัตราผู้เสียชีวิตต่อผู้ติดเชื้อ
ถ้าคำนวณเฉพาะโควิดระลอกที่ 4 จากไวรัสโอมิครอนพบว่า
อัตราผู้เสียชีวิตต่อผู้ติดเชื้อแบบ PCR เท่ากับ 0.37% (ผู้เสียชีวิต 8415 ราย จากผู้ติดเชื้อ 2,237,121 ราย)
อัตราผู้เสียชีวิตต่อผู้ติดเชื้อที่รวม ATK ด้วย เท่ากับ 0.21% (ผู้เสียชีวิต 8415 ราย จากผู้ติดเชื้อ 4,004,771 ราย)
ถ้าพิจารณาอัตราผู้เสียชีวิตต่อผู้ติดเชื้อทุกระลอก (ระลอกที่ 1-4) รวมกัน
1
แบบ PCR คิดเป็น 0.67% (เสียชีวิต 30,113 ราย จากผู้ติดเชื้อ 4,460,556 ราย)
และถ้าคิดอัตราผู้เสียชีวิตต่อผู้ติดเชื้อที่รวม ATK ด้วย จะได้ 0.48% (ผู้เสียชีวิต 30,113 ราย จากผู้ติดเชื้อ 6,228,206 ราย)
จึงทำให้ยังไม่เข้าเกณฑ์โรคประจำถิ่นที่กำหนดไว้
ส่วนในเรื่องของการฉีดวัคซีน
ขณะนี้ฉีดไปแล้ว 137.88 ล้านโดส
เข็มที่หนึ่ง 56.76 ล้านโดส (81.6%)
เข็มที่สอง 52.70 ล้านโดส (75.8%)
เข็มที่สาม 28.40 ล้านโดส (40.8%)
โดยเกณฑ์ของการเป็นโรคประจำถิ่นจะต้องฉีดวัคซีนเข็มสาม ให้มากกว่า 60% จึงยังไม่ถึงเกณฑ์เช่นกัน
ในประเด็นเรื่องอัตราการเสียชีวิตต่อผู้ติดเชื้อนั้น คงจะถึงเกณฑ์ 0.1% ได้ค่อนข้างลำบาก
เนื่องจากได้มีการปรับหลักเกณฑ์การรายงานผู้ติดเชื้อใหม่ เป็นรายงานเฉพาะผู้ติดเชื้อที่มีอาการและเข้ารับการรักษา (ไม่รวมผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ)
นอกจากนั้นยังมีการตรวจเชิงรุกโดยเฉพาะ ATK ลดลงอย่างมีนัยสำคัญคือ ยกเลิกการตรวจของสปสช.ไปเมื่อ 15 พฤษภาคม 2565 ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อที่มีการรายงานลดลง
แม้จะได้มีการปรับเกณฑ์การรายงานผู้เสียชีวิต เมื่อ 1 พฤษภาคม 2565 ให้ลดลงมาสอดคล้องกับความเป็นจริงคือ
รายงานเฉพาะผู้เสียชีวิตจากโควิด (Died from COVID-19) ไม่นับรวมผู้เสียชีวิตจากโรคร่วมแต่มีเชื้อโควิด (Died with COVID-19) แล้วก็ตาม
ก็ยังทำให้อัตราการเสียชีวิตต่อผู้ติดเชื้อลงมาไม่ถึง 0.1%
การกำหนดเกณฑ์ของโควิด-19 ที่จะเป็นโรคประจำถิ่นของประเทศไทย จึงเป็นเกณฑ์ที่ทำได้ยาก แม้สถานการณ์โควิด-19 ของเรา จะดีขึ้นในภาพรวมแล้วก็ตาม
1
Reference
ศูนย์ข้อมูล โควิด-19
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
13 บันทึก
49
15
27
13
49
15
27
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย