Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรื่องเล่าว่าที่สัตวแพทย์ - Vet Stories
•
ติดตาม
14 มิ.ย. 2022 เวลา 11:01 • สัตว์เลี้ยง
ปัญหาการฉีดยาคุมในสุนัขและแมว 🐶🐱
❌ความเสี่ยงที่เจ้าของต้องรู้ว่า… มันไม่เคยคุ้ม❌
3
ปัจจุบัน การฉีดยาคุมให้สัตว์เลี้ยงผิดกฏหมายนะคะ‼️
2
📣 ทางกรมปศุสัตว์ได้ประกาศยกเลิก “การฉีดยาคุมกำเนิด” ตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2560
💉การฉีดยาคุมกำเนิดในสุนัขและแมว คือ การฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ Progesterone
1
■
ตามปกติแล้ว Progesterone มีการผลิตจากรังไข่เพื่อยับยั้งการติดสัดและระงับการตกไข่ และคงอยู่เพื่อให้ “การตั้งท้อง” ผ่านไปได้ด้วยดี
■
พูดง่ายๆ คือหากฉีดยาคุมหมาแมวจะไม่ท้อง ไม่มีลูก
■
เพราะเราหลอกร่างกายสัตว์ให้เข้าใจว่า “กำลังตั้งท้อง” อยู่นั่นเอง‼️
1
ซึ่งแบบนี้จะทำให้วงจรการเป็นสัดชะงัก
⚠️ แต่มีข้อแม้คือ จำเป็นต้องฉีดให้ถูกช่วงเท่านั้น ⚠️
📍การคุมกำเนิดแบบชั่วคราวในสัตว์เพศเมียลักษณะนี้เป็นที่นิยมกันมากในอดีต ทั้งในด้านความสะดวก รวดเร็ว สัตว์ไม่ต้องเจ็บตัวเยอะและราคาที่จับต้องได้
ที่สำคัญถือเป็นหนึ่งในวิธีช่วยควบคุม “ปัญหาประชากรหมาแมว”
💬 คำถาม: แล้วทำไมทางปศุสัตว์ถึงแจ้งให้ยกเลิกการฉีด⁉️
1
✓
เหตุผลที่สำคัญที่สุดคือ เนื่องจากเป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่ทำให้สัตว์เกิดมดลูกอักเสบ (pyometra) และเสียชีวิตในเวลาต่อมาได้
2
แถมปริมาณสัตว์ที่เกิดภาวะนี้หลังฉีดยาคุมก็มีจำนวนมากจนเป็นปัญหาเสียด้วย 😰
🤔 ยาคุมเข็มเล็กๆ ทำให้เกิดมดลูกอักเสบได้ยังไง⁉️
เรื่องนี้เริ่มต้นด้วยฮอร์โมนสังเคราะห์ที่ฉีด
จะเข้าไป “ยับยั้งการหลั่งของฮอร์โมนจากสมอง”
⚠️ 1. ผลที่ตามมาคือ มดลูกมีการทำงานที่ผิดปกติ
■
หลั่งสารคัดหลั่งเพิ่มมากขึ้น
■
มดลูกบีบตัวน้อยลง
■
เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย🦠
ท้ายที่สุดเมื่อมีการติดเชื้อก็จบที่ “ภาวะมดลูกอักเสบ”
⚠️ 2. ฉีดผิดช่วงชีวิตเปลี่ยน ❌
ยังจำที่น้องหมอบอกว่า “จำเป็นต้องฉีดให้ถูกช่วงเท่านั้น” ได้ใช่ไหมคะ
✅ ถ้าให้ดีจะต้องเป็นระยะที่สัตว์เลี้ยงไม่อยู่ในภาวะเป็นสัด (Anestrus)
เหตุผลที่ต้องเป็นระยะนี้เท่านั้นก็เพราะเป็นช่วงที่ฮอร์โมนเพศมี “ปริมาณต่ำ” จนไม่มีอิทธิพลกับมดลูกและรังไข่
💬 เห็นหมาแมวร่าเริงดี ตาแป๋วแข็งแรง
ซื้อยาคุมมาฉีดให้ได้ไหม?
🚫 ห้ามนะคะ มองแค่ภายนอกแถมจับฉีดเองแบบนี้คุณหมอมีกรี๊ด🚫
เพราะบางระยะสัตว์เลี้ยงจะยังไม่ได้แสดงอาการให้เราเห็นชัดเจน ฉีดผิดช่วงเตรียมหาหมอทันที:
1.
พึ่งได้รับการผสม 👉🏻 ก็ท้องอยู่ดี ยุติการตั้งครรภ์ไม่ได้‼️
2.
กำลังเริ่มเป็นสัด 👉🏻 มดลูกอักเสบเดี๋ยวเจอกัน
3.
ฉีดตอนท้องอยู่ 👉🏻 ลูกสัตว์มีแนวโน้มที่จะพิการ มักอยู่ในท้องแม่นานกว่าปกติจนเน่าตาย และไม่สามารถคลอดออกมาได้ 😵💫
1
โดยทั่วไปเพียง 2 เดือนลูกหมาแมวก็คลอดแล้ว
แต่เมื่อถูกฉีดยาคุมระยะเวลาตั้งท้องจะถูกยืดนานกว่าปกติ บางทีเลยไป 3 เดือนแล้วลูกก็ยังไม่ออกก็มีค่ะ
⚠️ 3. พฤติกรรมเปลี่ยน: เพิ่มความอยากอาหาร กินนำ้มาก💧
■
หลังการฉีดยาคุม เจ้าของดีใจที่สัตว์เลี้ยงดูกินเก่งแถมมีนำ้หนักเพิ่มขึ้น แต่ในหลายๆ ครั้งสิ่งนี้คือสัญญาณเตือน‼️
■
เพราะความอ้วนที่เห็น มันอาจเป็นมดลูกอักเสบที่กำลังขยายใหญ่ มีเลือดคั่งและสะสมหนองอยู่ภายใน 🩸
■
เมื่อเวลาผ่านไปเรื่อยๆ ก็จะเบียดท้องและสร้างความเจ็บปวดให้สัตว์เลี้ยงมากขึ้น
📍ท้ายที่สุดก็ต้องจบที่การผ่าตัดแก้ไขสภาวะมดลูกอักเสบ เอามดลูกออกเพื่อรักษาชีวิต (ทำหมันอยู่ดี)
💸 หากเทียบกันแล้วการพาสัตว์เลี้ยงไปทำหมัน “ราคาถูกและดีกว่า” การผ่าตัดแก้ไขสภาวะมดลูกอักเสบเป็นไหนๆ
ยิ่งถ้ามีอาการแทรกซ้อนขึ้นมา เช่น ติดเชื้อในกระแสเลือด หรือภาวะไตวายร่วมด้วยค่าใช้จ่ายสามารถพุ่งไปหลักหมื่นได้เลยทันที 🚀
1
ผลลัพธ์แบบนี้…
มันไม่คุ้มและไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นจริงๆ ค่ะ
อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้แท้ที่จริงก็มีหลักฐานให้เราเห็นมากมายในเพจของโรงพยาบาล-คลินิกรักษาสัตว์ กลุ่มคนรักสัตว์เลี้ยง หรือแม้แต่คำเตือนของคุณหมอ
■
บางตัวรับการรักษาไม่ทัน เสียชีวิตจากการติดเชื้อในกระแสเลือด🩸
■
บางตัวท้องแต่คลอดไม่ได้ ทำลูกสัตว์พิการ เสียยกครอก 😰
ดังนั้นขอให้พึงระลึกไว้เสมอ ชีวิตของสัตว์เลี้ยงขึ้นอยู่กับทุกการตัดสินใจของเจ้าของนะคะ ❤️
1
★
วิธีคุมกำเนิดสัตว์เลี้ยงที่ดีที่สุดที่หมอแนะนำคือ การทำหมัน
1
7
❤️ ขอบคุณที่เข้ามาอ่านบทความค่า
🌱 ฝากกด Like กด Share และกดติดตามเพื่อเป็นกำลังใจให้กับน้องหมอนะคะ 😘
1
References:
1.
ขอขอบคุณรูปภาพประกอบจากโรงพยาบาลสัตว์อัมพวา 24 ชั่วโมง
https://www.facebook.com/332979940511721/posts/1308493666293672/
2.
https://www.naewna.com/lady/198885
3.
https://www.facebook.com/1081920998618128/posts/1394086157401609/
4.
https://www.facebook.com/leangmhatammor/photos/a.511066156094334/1068758176991793/?type=3
5.
https://www.baanlaesuan.com/237096/pets/health/pyometra
สัตว์เลี้ยง
สาระน่ารู้
ความรู้รอบตัว
4 บันทึก
23
25
22
4
23
25
22
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย