4 มิ.ย. 2022 เวลา 13:55 • ดนตรี เพลง
[รีวิวอัลบั้ม] Mr. Morale & The Big Steppers - Kendrick Lamar
-แน่นอนว่าผมตื่นเต้นกับการกลับมาในรอบ 5 ปีของเคนดริกอย่างมาก ในขณะเดียวกันการรีวิวงานเพลงของเคนดริกเกือบจะทุกรอบ (ยกเว้นเพลงประกอบหนัง Black Panther) เป็นอะไรที่ challenge ทุกครั้ง นอกจากจะเป็นแร็ปเปอร์ที่มีเซนส์ในการทำเพลงสไตล์ club banger เรียกเสียงเกรียวกราวจากคนหมู่มากได้แล้ว เค้ายังเป็นแร็ปเปอร์ที่สามารถคงไว้ซึ่ง pure art ให้ทุกคนได้ถอดรหัส ตีความอิสระได้เช่นกัน
นี่คือแร็ปเปอร์ที่ทุกคนต่างลงความเห็นว่า ใกล้เคียงความเป็นตำนานมากที่สุด
-ทุกๆผลงานไต่ระดับมาตรฐานสูงแทบทั้งนั้น good kid m.a.a.d city เป็นการบรรยายภาพสภาพแวดล้อมสุดอันตรายของ Compton ในรูปแบบหนังที่มี storytelling ที่ดีเลิศ To Pimp A Butterfly เป็นตัวกลางสมานความขัดแย้งในหมู่คนผิวสีที่มีบทกลอน กวีเป็นตัวขับเคลื่อน จุดเริ่มต้นของการยกระดับวงการฮิปฮอปบังเกิดขึ้น
ภาพรับรางวัล Pulitzer Prize เมื่อปี 2018 สาขาประพันธ์เพลงจากอัลบั้ม DAMN.
-ในขณะที่ DAMN. เป็นการขยาย scope แบบไม่ชี้ชัดว่าจะพูดถึงอะไรกันแน่ ตามเจตนารมย์ของเจ้าตัวที่อยากจะปล่อยให้เป็นปริศนาทางธรรม ให้คนฟังไปตีความกันเอง เป็นการสำรวจความซับซ้อนของมนุษย์ กลเกมทางโลก ลดทอนความยากจากงานก่อน ซาวน์ดเสียงให้ mainstream radio friendly เข้าถึงง่ายกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา มาพร้อมกับกิมมิคการจัดเรียงแทร็คสุดล้ำลึกที่สามารถฟังได้ทั้งไปข้างหน้าหรือย้อนหลังได้เช่นกัน
-อัลบั้มนี้นำมาสู่การรับรางวัลแห่งเกียรติยศด้านวรรณกรรมและประพันธ์เพลง Pulitzer Prize ที่ผ่าเหล่าสายแจ๊สและคลาสสิคได้เป็นคนแรกเสียด้วย
-ด้วยความบาร์มาตรฐานสูงขึ้นเรื่อยๆ ผมพอเข้าใจสถานการณ์ที่เคนดริกจะต้องเจอต่อจากนี้ ปัญหาอันน่ากุมขมับมันเปลี่ยนรูปแบบ จากความรุนแรงบนท้องถนนที่ตัวเองเติบโต มาเป็นปัญหาคลาสสิคของคนมีชื่อเสียงที่ถูกความคาดหวังจากคนอื่นเยอะเสียจนเขาเกรงว่า ถ้าพลาดเมื่อไหร่ เขามีสิทธิ์จมดินแน่ๆ
When shit hit the fan, is you still a fan?
Mortal Man-Kendrick Lamar
-วลีเด็ดจากเพลง Mortal Man เป็นการบอกสภาวะของคนที่กลัวการคาดหวังความสมบูรณ์แบบเสียจน หากวันใดผมเพลี่ยงพล้ำ คุณจะยอมรับผมในแบบที่เคยเป็นมั้ย แน่นอนว่าระดับสติปัญญาของเคนดริกคงไม่มีทางหาเหาใส่ตัวแน่นอน บางทีการโดนปรักปรำโดยไม่ทันตั้งตัว
-สังคมพร้อมพิพากษาจากดีกลายเป็นร้ายอยู่แล้ว ในเมื่อพวกคุณมองผมไปในทางสูงส่งแล้ว ผมจึงจำเป็นต้องแชร์ความไม่สมบูรณ์แบบ จุดด่างพร้อย flaws ในตัวจากการตกผลึกจากช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมา
-ใจความสำคัญของอัลบั้มนี้จึงอยู่ที่การโฟกัสจิตใจตัวเองล้วนๆ ผนวกกับคอร์ส therapy session ทั้งหมดทั้งมวลอยู่ในกรอบของสิ่งที่เรียกว่า Savior Complex (พฤติกรรมการเป็นพ่อพระ) ที่มักจะคิดว่า เราสามารถช่วยเหลือหรือเยียวยาคนอื่นได้ ทั้งที่ตัวเองร่อแร่โดยไม่รู้ตัว แต่กลับคิดไปว่า ตัวเองเอาอยู่ ยังคงทำสิ่งที่ทุกคนคาดหวังได้
-สิ่งที่ผมกำลังจะบอกคือ นี่อาจจะไม่ใช่อัลบั้มสำหรับทุกคนครับ โดยเฉพาะ casual listener ที่มองหาความบันเทิง club banger แบบที่ DAMN. เคยทำได้ หรือคนที่อยากรู้มุมมองทัศนคติจากแร็ปเปอร์ตัวท็อปของวงการที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงในวงการ hiphop หรือ black culture ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา
-สิ่งที่จะได้ยินต่อไปนี้คือการระบายความเครียดส่วนตัวของชายที่ชื่อ Kendrick Lamar ที่พ่น deep conversation ใส่คนฟังรัวๆ เราคงไม่จำเป็นต้องรู้กงการส่วนตัวของเขาด้วยซ้ำว่า เขาเครียดอะไร เขาไปทำผิดอะไรมา
-อย่างน้อยเคนดริกก็อธิบายให้คนฟังได้เข้าใจว่า ศิลปินก็คือคนเหมือนพวกคุณนั่นแหละ อย่าได้คาดหวังอะไรจากผมมากเลย ผมก็อยู่ในจุดที่ควบคุมตัวเองไม่ได้เหมือนกัน อัลบั้มนี้โคตร personal จัดเลยครับ ดั่งยาแรงที่เต็มไปด้วยรสชาติข้นๆคลั่กๆ ไม่ได้มีมุมสุนทรีย์มากมายนัก แต่ถ้าเปิดใจ มันก็พอช่วยคลายข้อสงสัยที่มีต่อเคนดริก แล้วสะท้อนกลับมาสำรวจตัวเราเองได้ไม่มากก็น้อย
Part 1 BIG STEPPERS
-9 แทร็คแรก ประหนึ่งคนขออัพเดทความเป็นไปของโลก หรือคนในวงการเสียหน่อย การแชร์ความคิดเห็นต่อความเป็นไปของสังคมในช่วง 5 ปีที่หายไป ประเด็นอะไรที่กระทบกับความรู้สึกหรือฉงนสนเท่ห์ หยิบยกออกมาเปรียบเปรยแบบหอมปากหอมคอ เป็นการวิพากษ์สังคมภาพใหญ่แล้วมาสะท้อนตัวเองอีกที สุ้มเสียงโดยรวมพลุ่งพล่าน วูบวาบ ประหนึ่งเพลง Side A จริงๆ
1. United in Grief
-เปิดอัลบั้มด้วยประโยคเกริ่นนำที่น่าสนใจไม่ว่าจะเป็น I hope you find some peace of mind in this lifetime ของ Sam Dew และ Tell them the truth ของ Whitney Alford (เมียตัวตัวจริงของเคนดริก) เป็นการหยอกเย้าทางความรู้สึกที่โคตรเหมาะเจาะ ประหนึ่งกว่าจะเจอทางสงบทางใจได้ ต้องผ่านการคายความจริง ให้คนรอบข้างได้รู้ เป็นการแก้ปมในใจให้ได้ขั้นต้นเสียก่อน
I've been goin' through somethin'
One-thousand eight-hundred and fifty-five days
-United in Grief เปิดประเด็นการพึ่งเงินและวัตถุในการบำบัดทุกข์บำรุงโศกอันเป็นปกติของแร็ปเปอร์ที่มักจะเติบโตในย่านอันตราย สะสมความเครียดจากเหตุการณ์รุนแรงในชุมชน ถีบตัวเองได้ก็ใช้เงินเต็มที่ แต่ความเศร้าโศกที่ผ่านมาดังกล่าวไม่ช่วยให้มีอารมณ์ในการเชยชมของหรูของแพงได้เลย
-ชอบตรงที่เคนดริกไม่ได้ judge เซเลปคนอื่นๆในแง่ของความฟุ่มเฟือยเกินเหตุ เป็นการใส่ความเห็นใจเสียมากกว่า ทุกคนผ่านความเศร้ามากน้อยต่างกัน อย่างไรเสียทุกคนก็มีความเศร้าที่ต่างนิยามกัน แต่จุดร่วมมันก็คือความเศร้าที่ทำให้ทุกคนกล้าที่จะฟุ่มเฟือยเพื่อบำบัดทุกข์เพียงชั่วคราวก็เท่านั้น
-ลูกเล่นการสับบีทสับเปลี่ยนอารมณ์แทบไม่ทัน เปิดด้วยจังหวะมาร์ชแล้วปุบปับโหมกระหน่ำรัวๆด้วยบีทกลองสไตล์แจ๊ส ใส่ความ tense ได้หนำใจสมการกลับมาที่ไม่ต้องประนีประนอมอีกต่อไป
2. N95
-ชื่อเพลงมาจากหน้ากากกันโควิดที่เรารู้ๆกัน ตั้งคำถามถึงประเด็นวิกฤติโลกระบาดที่แอบลดทอนอิสรภาพการใช้ชีวิตหรือไม่? ให้คนไม่ทำงานเพื่อลดการเป็นคลัสเตอร์ เป็นเหตุให้คนตกงาน นอนข้างถนนมากมาย พร้อมทั้งเสริมประเด็น cancel culture ที่สร้างอิมแพคต่อ freedom of speech ได้อย่างน่ากลัวและ toxic ในเวลาเดียวกัน สัญลักษณ์ของหน้ากากกันเชื้อนั้นสามารถเปรียบเปรยถึงการปิดบังความจริงของแต่ละคนเช่นกัน
The world in a panic, the women is stranded, the men on a run
The prophets abandoned, the law take advantage, the market is crashin', the industry wants
Ni**as and bitches to sleep in a box while they makin' a mockery followin' us
This ain't Monopoly, watchin' for love, this ain't monogamy, y'all gettin' fucked
N95-Kendrick Lamar
-ตัดสินใจได้ถูกที่เลือกเพลงนี้ตัดเป็นซิงเกิ้ล ด้วยพลังเพลงที่เดือดดาลพร้อมชนด้วยวิถีแร็ปเปอร์สาย hardcore ที่หลายคนคิดถึง อินโทรเปิดเพลง Hello New World all the boys and girls เป็นการแปลงอินโทรเปิดเพลง The Art of Peer Pressure บิดคำ พลิกบริบทถึงสังคมที่เปลี่ยนไปกลายเป็นนิวนอร์มอล
-การเล่นวลี Take off ทุกสิ่งอย่างก็สนุกปาก ไม่ใช่แค่หน้ากากอย่างเดียว แต่เป็นการถอดความจอมปลอมของเปลือกนอกทั้งหลาย Take off Wi-Fi ปิดมือถือชั่วขณะเพื่ออยู่กับโลกจริง หนีความ toxic ในโลกออนไลน์ หยุดการล่าแม่มด หยุดหาแสงหน่อยก็ดี หาก DAMN. มีเพลงเดือดๆอย่าง DNA. แทร็คนี้ก็คือตัวชูโรงของอัลบั้มนี้
3. Worldwide Steppers
-เป็นเพลงที่มีโทนปกคลุมขมุกขมัวอื้ออึงมากที่สุด ประเด็นที่อยู่ในเพลงก็ครุกกรุ่นพอกัน ขยายจากภาพเล็กไปภาพใหญ่ของวงจรอุบาทว์การแทงข้างหลังด้วยกันเองดั่งภัยเงียบที่ฆ่าคนโดยไม่รู้ตัว
-เฉกเช่น เรื่องของวีรกรรมของตัวเองที่เคยโจ๊ะกับสาวผิวขาวที่ Copenhagen ช่วงออกทัวร์อัลบั้ม good kid, m.A.A.d city ที่ทำเอาตัวเองรู้สึกอับอาย ย้อนแย้งกับคนที่มีภาพลักษณ์ปกป้องหรือรักใคร่คนผิวสีด้วยกันเอง กลับต้องมาแปดเปื้อนเพราะกระตุกจิตกระชากใจ กินตับสาวผิวขาว
-ปัญหาติดเซ็กส์อาจจะเป็นเรื่องส่วนตัวของใครของมัน แต่มันแอบแฝงไปด้วยแนวคิดเหยียดเชื้อชาติ การที่คนผิวสีเอาคืนคนผิวขาวด้วยการลุกล้ำทางเพศกลับแม่งเสียเลย
-ยังคงซัดประเด็นปัญหาของ cancel culture อย่างต่อเนื่องที่จ้องจะแบนไปเรื่อย ราวกับซอมบี้ที่จ้องกัดคน สุดท้ายไอ้พวกที่แบนเพื่อความเหนือกว่านั้น บางทีก็พลั้งพลาด โดนเค้ารุมรีพอร์ทอีกทีจนวนลูปกลายเป็นซอมบี้เสียเอง
-ประเด็นภาพใหญ่สุดโยงไปถึงความน่ากลัวขององค์กรมูลนิธิ องค์กรศาสนาที่เป็นอีแอบแสวงหากำไรบนความเป็นความตายหรือความศรัทธาของคนอื่น การที่ระบบมันเน่าเฟะฟะ มันเลยมีองค์กรพวกนี้คอยฉวยโอกาสความยากลำบากนี้อยู่
Playin' "Baby Shark" with my daughter
Watchin' for sharks outside at the same time
Life as a protective father, I'd kill for her
Worldwide Steppers-Kendrick Lamar
-มีท่อนนึงที่ชวนตลกร้ายเกี่ยวกับเพลงเด็กที่ earworm จนผู้ใหญ่รำคาญ การเป็นพ่อคนที่ต้องทำหน้าที่เปิดเพลง Baby Shark คลอลูกๆไป เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากโลกภายนอกที่ร้ายกาจดุจฉลาม มีจุดน่าสังเกตตรงปกอัลบั้มที่เคนดริกกำลังอุ้มเจ้าตัวน้อย แล้วดันมีปืนเหน็บไว้ในกางเกงด้วย บ่งบอกนัยยะถึงการปกป้องครอบครัวที่อาจจะต้องพกปืนป้องกันตัวเองเพื่อความจำเป็น
-การเอา Kodak Black เป็นความเซอร์ไพร์สที่ไม่คิดว่าเคนดริกจะเลือกมาเป็น Feature หลัก แถมให้เป็นตัวละครลับมี interlude เป็นของตัวเองในแทร็ค Rich และทำหน้าที่เปิดอินโทรบางเพลงด้วย ไม่แน่ใจว่าเคนดริกคิดอะไรอยู่
-ถ้าให้เดา เป็นการสวนกระแส Cancel Culture ด้วยหรือไม่ ? ราวกับว่ายังให้โอกาสแร็ปเปอร์ที่มีคดีความยาวเป็นหางว่าว ทั้งคดีอาวุธปืนและคดีทางเพศ เข้าออกคุกจนเป็นบ้านหลังที่สอง จุดนี้ทำเอาผมแปลกใจไม่น้อย เหมือนเคส Ye เชื้อเชิญ Marlilyn Manson มาฟีท
6. Rich (Interlude)
-ขอแทรกเพลงนี้ก่อนล่ะกัน นาย Yak แชร์ความกลัวที่อดีตสุดโชกโชนนั้นจะย้อนมาทำร้ายแกอีกครั้ง ตอนที่ shout out ถึงเคนดริกตรงๆว่า What you doing with Kendrick? / What you doing with a legend? เป็นอะไรที่ดักทางพวกทัวร์ลงอยู่แล้ว
-อย่างที่ทราบกันดีว่านาย Yak ถูกคนทั่วไปมองเป็นของต่ำตลอดเวลา ซึ่งห่างไกลจากเคนดริกที่มักจะได้รับการสรรเสริญเยินยอ สุดท้ายก็มีแฟนเพลงไม่พอใจที่เชิญนาย Yak มาฟีทอยู่ดี ไม่ขอวิเคราะห์ต่อว่าทำไมต้องเคนดริกถึงเลือกนาย Yak ทั้งๆที่ประวัติอันมลทินของเขา ช่างขัดกับไอเดียของอัลบั้มที่กล่าวถึงรากปัญหาความรุนแรงพอสมควร
4. Die Hard
-เบรคอารมณ์ตึงๆจากเพลงก่อนด้วย Die Hard ท่วงทำนองอาร์แอนด์บีสุดลื่นไหล มีน้ำเสียงประนีประนอมจาก Blxst ที่พยายามอย่างยิ่งยวดในการห้ามปรามไม่ให้มารผจญ เสียงหวานๆจาก Amanda Reifer ที่แสดงความเข้าอกเข้าใจ มองออกว่าไปเจออะไรมา ราวกับสายตาไม่เคยหลอกเธอได้ ซึ่งเพลงนี้มันว่าด้วยความพยายามอย่างยิ่งยวดในการประคับประคองตัวเอง ทั้งนี้ก็ขอให้เมียแกไว้เนื้อเชื่อใจให้เขาหลุดพ้นจากภาวะทางอารมณ์
5. Father Time
-เริ่มอินโทรด้วยเรื่องราวต่อเนื่องจากแทร็คที่แล้ว โดยเมียแกก็เสนอทางออกในการดีลกับ mental health กับนักจิตบำบัด Eckhart Tolle เคนดริกก็แอบส่ายหน้ากับข้อเสนอนี้ และร่ายยาวเกี่ยวกับ daddy issues ยึดโยงกับคำสาปวงตระกูลที่มีภูมิหลังทางสังคมที่เต็มไปด้วยความรุนแรง
-การถ่ายทอดวิถีลูกผู้ชายจากรุ่นสู่รุ่น การปลูกฝังให้แสดงออกถึงความแข็งแกร่งตลอดเวลาดั่งแผลกดทับ กลายเป็นปัญหาพ่อไม่เข้าใจลูกจนนำมาสู่ความอึดอัด มีตัวอย่างนึงที่โชว์ให้เห็นว่า พ่อของเคนดริกมีความตึงทางอารมณ์มากเกินไปก็คือ ต่อให้แม่ของเขา (ย่าเคนดริก) เสียชีวิตไปหมาดๆ เขายังกลับไปทำงานได้ปกติ ราวกับว่ารับมือความสูญเสียแม่แท้ๆเร็วเกินไป เพียงเพราะสัจธรรมที่ว่า นี่แหละชีวิต
Daddy issues, hid my emotions, never expressed myself
Men should never show feelings, being sensitive never helped
His momma died, I asked him why he goin' back to work so soon?
His first reply was, "Son, that's life, the bills got no silver spoon"
Father Time - Kendrick Lamar
-ประเด็นฮือฮาที่กลบซีนประเด็นส่วนตัวคือมุมมองที่มีต่อการคืนดีระหว่าง Drake และ Kanye West ที่กลับมาสมานฉันท์ได้อย่างรวดเร็ว ชวนให้เจ้าของอัลบั้มและชาวฮิปฮอปสับสนพอกัน ซึ่งเจ้าตัวก็อุปมานไปว่า สงสัยกูไม่ mature พอที่จะเข้าใจสถานการณ์แบบนี้ละมั้ง
-ประเด็นสองแร็ปเปอร์ผู้ยิ่งใหญ่กลับมาจูบปากกันแทบจะไม่ใช่ประเด็นสาระสำคัญเลยเท่ากับประโยคทองคำที่ว่า
 
'Til then, let's give the women a break, grown men with daddy issues
-ประโยคนี้แหละโคตร feminist เลย แต่ไม่ถึงขั้นยัดเยียดการเชิดชูผู้หญิงแล้วเกลียดเพศชายแบบซ้ายจัดขวาจัด เพศหญิงถูกมองว่าเป็นเพศที่อ่อนไหว แก้ไขปัญหาได้ไม่ดีเท่าผู้ชาย แต่โลกนี้ไม่ได้มีแค่ความแข็งกร้าว มันต้องมีด้านที่อ่อนโยน คนเป็นแม่หรือเมียต่างหากที่เป็นที่พึ่งดีๆให้ลูกๆผ่านพ้นปัญหา daddy issues ไปได้ ประโยคปิดนี้แหละที่คม
-Soul Rap ซาวนด์เปียโนโดดเด้งเสนาะหู เจือด้วยแซมเปิ้ลเพลงโซลที่ถูก distort คล้ายกับคลื่นวิทยุยานๆ บวกกับท่อนฮุคสุด soulful ของนักร้องสายโซลที่ไม่ได้เจอกันนานอย่าง Sampha กลายเป็นส่วนผสมชั้นดีที่สื่อภาพความทรงจำอันน่าสับสน เข้าถึงอารมณ์ได้อย่างแปลกประหลาด
-ชอบการนำเสนอแบบนี้มาก ไม่เล่นกับความเรียบง่ายทางมู้ดเพลงจนเกินไป ฉายให้เห็นภาพทรงจำที่ความ innocent ถูกพรากไปโดยไม่รู้ตัว เหมือนผู้ใหญ่ที่เพิ่งมารู้ปูมหลังแล้ว shameful ไปกับมัน
7. Rich Spirit
-โหมดเพลงชิวล์จังหวะดุ่มๆ รังสรรค์โดย DJ Mustard ราวกับหยิบยืม vibe เพลงมาจาก RAMONA PARK BROKE MY HEART อัลบั้มใหม่ของ Vince Staples ถ้าใครได้อ่านรีวิวและได้ฟังจะรู้สึกคุ้นเคย vibe แบบนี้เหลือเกิน
-เป็นการยืนยันหนักแน่นถึงการใช้ชีวิตออฟไลน์ หลีกหนี social network ต่อให้มีเงินเยอะ โทรศัพท์พังก็ไม่ยอมเปลี่ยน ความ Rich ในที่นี้ไม่ได้วัดกันที่ของนอกกายหรือสมาร์ทโฟนอย่างแน่นอน แต่เป็นจิตใจที่แข็งแรงไม่คล้อยตามกระแสวัตถุนิยมเกินไป
8. We Cry Together
-เพลงโหมดละครเวที ร่วมกับนักแสดงสาว Taylour Paige มารับบทเป็นเมียจำเป็นในเพลงของเคนดริก ขึ้นเพลงด้วยแซมเปิ้ลเพลง June ของ Florence Welch เป็นการเรียกขวัญได้อย่างน่าขนลุก ก่อนที่จะหักมุมด้วยบรรยากาศผัวเมียด่าทอกันอย่างซาดิสม์ แล้วจบที่การมีเซ็กส์อย่างงงๆ สวนทางกับชื่อเพลงที่ออกแนวซึมๆ ไปทาง emotional เสียมากกว่า
-นอกจากจะโชว์ให้เห็นด้านตัวอย่างของการมี toxic relationship แล้ว ยังมีหลายคนตีความเพลงนี้ไปทางหลอกด่าที่เคนดริกไม่โผล่ซีนฮิปฮอปตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ถ้าจะมโนตามนั้นก็เมคเซนส์ในระดับนึง
-สำเนียงการด่ากราดใกล้เคียงกับเพลง Kim ของ Eminem แค่ไม่โรคจิตสยองมากนัก เจือด้วยบีทเปียโนพิกลๆสูตรเพลงฮิปฮอปค่าย Griselda ที่รังสรรค์โดย The Alchemist โปรดิวเซอร์คนคุ้นเคยของค่ายนั้นเช่นกัน แน่นอนว่า MVP ของเพลงนี้ยกให้นักแสดงสาวซีรี่ย์ Zola ที่ถ่ายทอดความเกรี้ยวกราดได้เหนือความคาดหมายมากๆ
9. Purple Hearts
-ปิดท้ายด้วยเพลง upbeat วูบวาบฟีทเจอร์ระดับทองคำ anthem สร้างขวัญกำลังใจที่สูตรสำเร็จแบบที่ไม่ต้องไฮป์อะไรมาก แปลกดีที่การเชิญศิลปินที่แมสสุดในอัลบั้มอย่าง Summer Walker กลับไม่ได้สร้างมิติที่น่าจดจำไปกว่าการร้องดูเอ็ท เหมือนเคสเพลง LOYALTY. ที่แม่ค้า Rihanna ฟีท
-เป็นการเสริมความป็อปอาร์แอนด์บีที่อาจไม่ถูกใจสาวกฮิปฮอปฮาร์ดคอมากนัก ส่วนรุ่นใหญ่ Ghostface Killah ก็งั้นๆ อีกหนึ่งแทร็คเปลี่ยนผ่านที่บอกว่า ให้ความรักเยียวยาทุกสิ่ง ไม่ได้มีสาสน์หนักแน่นเท่าแทร็คอื่นๆ
พื้นที่ตรงนี้สามารถ Tie-In โฆษณาได้ สินค้า บริการ ครีมได้หมด (ยกเว้นของผิดกฏหมาย)
สนใจโฆษณาลงบนโพสต์ของเพจที่มีผู้ติดตามมากกว่า 16,000 คน
ช่องทาง Blockdit ที่มีผู้ติดตามกว่า 231 คน
ติดต่อได้ที่อีเมล์ 💌 iamistyle.4real@gmail.com
Part 2 MR. MORALE
-9 แทร็คสุดท้ายโคตร personal ลงลึกก้นบึ้งจิตใจไปเลย มีนักจิตบำบัดตัวจริงอย่าง Eckhart Tolle มีบทบาทในการขับเคลื่อนพาร์ทนี้ (ถ้ายังจำได้ คนที่เมียแก mentioned ถึงในเพลง Father Times) มู้ดเพลงค่อนข้างเนือย อาจจะไม่ถูกใจวัยรุ่นสายฮาร์ดคอ อะดรีนาลีนพลุ่งพล่านมากนัก
-ส่วนตัวชอบพาร์ทนี้มากกว่า เพราะมีหลายจุดคุยกับผมพอสมควร สาสน์เกือบทุกเพลงของพาร์ทนี้หนักแน่นอย่างมีสาระสำคัญ ไม่โยงภาพใหญ่ในสังคมมากจนสับสน เจ้าของอัลบั้มระบายความรู้สึกด้วยความสัตย์จริง ต้อง pay attention ในระดับนึง
1. Count Me Out
-เปิดพาร์ทสองด้วยบีท mid-tempo แร็ปแบบ melodic flow คงความชิวล์ ไม่ใส่ความหวือหวา พูดถึงจุดเริ่มต้นในการเป็น the big steppers ของอดีตคนชายขอบที่ไม่เคยอยู่ในสายตาใครเลย ใช้การถูกปฏิเสธเป็นแรงขับพิสูจน์ตัวเองเข้าสู่วงการเพลงอย่างจริงจัง ในขณะเดียวกันก็แลกกับความโดดเดี่ยวอันเป็นราคาที่ต้องจ่ายอย่างปฏิเสธไม่ได้
-ทั้งนี้ในท่อนสุดท้ายเป็นการงัดความฮึกเหิมในการพยายามเห็นคุณค่าในตัวเอง ยอมรับในความไม่สมบูรณ์แบบ พร้อมทั้งต่อสู้กับความตึงเครียดที่กำลังเผชิญแบบพร้อมที่จะมูฟออน
2. Crown
-เพลงนี้โคตร tense เปียโนตึงๆอึมครึม เป็นการวัดใจคนฟังเลยว่าจะฟังต่อหรือกดข้าม แต่ยอมรับว่าสาสน์เพลงนี้มีเรื่อง mental health ไม่พูดถึงก็ไม่ได้เช่นกัน ในเมื่อทุกคนมองเคนดริกเป็นความหวังใหม่ในวงการฮิปฮอปที่ทุกคนพร้อมจะอวยยศ นักวิจารณ์งานเพลงพร้อมจะเทคะแนนให้ นำมาซึ่งความกดดันที่แฟนเพลงน่าจะเข้าใจกันดี
Heavy is the head that chose to wear the crown
To whom is given much is required now
-มีการแปลงวลีสุดคลาสสิคของเช็คสเปียร์สที่เคยกล่าวว่า Heavy is the crown มงกุฏที่ประดับเป็นของหนักอยู่บนหัว กลายเป็น สิ่งที่หนักกว่ามงกุฎคือการเลือกที่จะสวมมงกุฏเอง แม่งใช่มากๆ อีกหนึ่งไอเท็มที่สังเกตได้ในปกอัลบั้ม เป็นอีกหนึ่งจิ๊กซอว์ที่สื่อใจความหลักของอัลบั้มนี้ได้ใกล้เคียงถึงแก่น สาเหตุที่อัลบั้มมาในตีมของ therapy session คือความกดดันที่สะสมจากการที่เคนดริกถูกมองว่า โดดเด่นและสูงส่งเนี่ยแหละ
3. Silent Hill
-จัดเพลงสายลึกอย่างต่อเนื่องด้วย trap beat สุ้มเสียงเงียบสงัดสมชื่อ ราวกับจำศีล อยู่อย่างเงียบๆ นานๆครั้งถ้าไม่ใช่เพลงของเขาเอง เราได้เห็นเคนดริกแร็ปน้อยกว่าปกติ แล้วปล่อยให้แขกรับเชิญ Kodak Black แร็ปกันยาวๆ
-แถมเจ้าตัวก็ปล่อยไรห์มสุดประหลาดที่หลายคนเซอร์ไพร์ส ตั้งแต่ท่อนฮุกที่เล่นวลีและสำเนียงที่ไม่ต่างจากแขกรับเชิญ ยอมลดตัวเพื่อเปิดทางให้แขกรับเชิญได้แร็ปเต็มที่ ถึง vibe เพลงชวนหลับมากๆ แต่ปฏิเสธในความติดหูของท่วงทำนองและท่อนฮุกไม่ได้จริงๆ
4. Savior (Interlude)
-หลังจากที่ซึมซับความเนิบๆตึงๆตลอด 3 แทร็คแรกของ Disc 2 ในที่สุด Baby Keem หลานชายเจ้าของอัลบั้มที่หมายมั่นปั้นมือโชว์ไรห์มสุดฮึกเหิม บวกกับไวโอลินสุดฉวัดเฉวียน ปลุกคนฟังให้เนื้อเต้นอีกครั้ง ผมฟังการแร็ปของ Keem ใน interlude นี้ ทำให้ผมอยากกลับไปฟัง The Melodic Blue อีกซักรอบ หลังจากที่เทด้วยเหตุผลที่ยังไม่คลิ๊กมากในตอนนั้น
-เป็นการเปิดพื้นที่ให้หลานชายโชว์สกิลเต็มที่ สมน้ำสมเนื้อ ไรห์มอย่างคลีนน่าฟัง ร่ายยาวมุมมองของการเป็น “ผู้ช่วยชีวิต” ที่เริ่มมีความสำเร็จถาโถมเข้ามา มีเงินเป็นกอบเป็นกำ ออกทัวร์โชว์เพลงเพื่อสร้างความสุขให้กับคนอื่น แต่ก็หอบความสำเร็จมาให้ลุงเห็นกับตาไม่ได้เสียแล้ว
My uncle would tell me the shit in the movies could only be magic
This year, I did forty-three shows and took it all home to buy him a casket
Savior (Interlude) - Baby Keem
5. Savior
Kendrick made you think about it, but he is not your savior
Cole made you feel empowered, but he is not your savior
Future said, "Get a money counter," but he is not your savior
'Bron made you give his flowers, but he is not your savior
Savior - Kendrick Lamar
-เชรดโด้ แค่ประโยคอินโทรก็ซื้อแล้ว เข้าใจแบบย้ำชัดๆว่า ศิลปินก็คือคนธรรมดาก็เท่านั้น เขาคือคนที่ทำให้คุณรู้สึกดีในบางคราวก็เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็น J .Cole ที่มักจะทำเพลงปลุกพลังในตัวคุณ Future ทำเพลงให้คนฟังรู้สึกว่ากูรวยขึ้น หรือแม้กระทั่งตัวเคนดริกเองแต่งเพลงให้ทุกคนฉุกคิดตาม สุดท้ายพวกเขาเหล่านี้ก็ไม่ใช่คนกอบกู้ชีวิตให้คนฟังได้อยู่ดี
(หวังว่าคนที่อยู่ใต้ฝ่าละอองฟังสิ่งที่เคนดริกบอกไว้ข้างต้นบ้างนะ)
-นี่คือแทร็คโหมด upbeat ที่โดดเด่นสุดใน Part 2 โดยไม่ต้องสงสัย แทร็คใจกลางแผ่นที่กระตุ้นคนฟังให้คล้อยตาม สาสน์เพลงที่พุ่งเป้าประสงค์การบูชาตัวบุคคลได้อย่างเข้มข้น
-ปรับเปลี่ยนมุมมองความศรัทธาที่มีต่อศิลปินและเซเลปที่พวกท่านต่างคารวะชื่นชม บางทีพวกเขาก็ไม่ได้ดีแท้ 100% ทุกคนมี flaws ข้อด้อยกันทั้งนั้น การคาดหวังความสมบูรณ์แบบอาจจะเป็นสิ่งที่ทำร้ายศิลปินเสียเอง และการพึ่งสาสน์จากศิลปินในการขับเคลื่อนชีวิตก็คงเป็นไปไม่ได้
Bite they tongues in rap lyrics
Scared to be crucified about a song, but they won't admit it
Politically correct is how you keep an opinion
Ni**as is tight-lipped, fuck who dare to be different
Savior - Kendrick Lamar
-ทั้งนี้เคนดริกขอเป็นกระบอกเสียงให้เหล่าศิลปินด้วยการแชร์สิ่งที่พวกเขาเองกลัวที่สุดคือ สาสน์ที่สื่อออกไปจะถูกต้อง 100% หรือไม่ ? ในขณะเดียวกันก็แอบซ่อนความรู้สึกวิตกกังวลในรอยยิ้มที่มาจากแฟนเพลงว่าจะเป็นความจริงใจระยะยาวหรือไม่ ?
-มันจะมีแฟนเพลงประเภทจุกจิกที่คอยจับผิดทางความคิดอยู่เนืองๆ โดยเฉพาะความเห็นทางการเมือง อย่างที่เคนดริกเคยย้ำถึง cancel culture ในเพลง Worldwide Steppers ที่พูดถึงความน่ากลัวของวัฒนธรรมการแบนทำให้ freedom of speech ที่ทุกคนไฝ่หาอาจไม่มีอยู่จริง
-ด้วยเหตุผลการโจมตีทางความคิดเนี่ยแหละ สาสน์ที่ศิลปินจงใจสื่อทั้งหลายอาจจะปนไปด้วยเทรนด์ของกระแสสังคมมากกว่าความเชื่อที่แท้จริงในตัวเขาก็เป็นได้ ประเด็นความเหมาะสมของ freedom of speech และ cancel culture จำเป็นต้องถกกันอีกยาว
6. Auntie Diaries
1
This is how we conceptualize human beings
Eckhart Tolle
-หนึ่งเพลงบริบทสบายๆ เฟรนด์ลี่ ซ่อนอารมณ์แห่งความระมัดระวังมากที่สุด หยิบยกเรื่องการพยายามเรียนรู้จะอยู่ร่วมกับชาว LGBTQ โดยเฉพาะสมาชิกในครอบครัวที่เป็น transgender ทั้งคุณป้าและญาติ Demetrius ที่แปลงเพศแล้วเปลี่ยนชื่อในนามของ Mary-Ann การพยายามทำความเข้าใจในเพศสภาพของเคนดริก ณ ตอนนั้นอาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายซะทีเดียว
-ด้วยบริบทการใช้ชีวิตภายใต้วัฒนธรรมชายเป็นใหญ่ในชุมชนฮิปฮอปที่เอื้อต่อการเป็น homophobia ขยาดกลุ่มรักเพศเดียวกัน วัฒนธรรมการนับถือศาสนาคริสต์ที่ยังไม่ยอมรับกลุ่มเพศทางเลือกมากนัก กลายเป็นบททดสอบจิตใจของเคนดริกให้เริ่มโตขึ้น ยอมเลือกความเป็นคนเหนือกว่าศาสนาด้วยน้ำเสียงการแร็ปที่กล้าหาญ ไม่ยอมโอนอ่อนตามเหล่านักบุญในช่วงท้ายของ verse 4 จนกลายเป็นไฮไลต์เด็ดของเพลงนี้ไปเลย
-สำหรับประเด็นการใช้คำว่า Fa**ot ในเพลง นับว่าโคตรเสี่ยงตีนมาก ปฏิเสธไม่ได้ว่าต้องมีคนไม่พอใจในการใส่ลงไปเนื้อเพลงแน่ๆ แต่ผมมองว่ามันเป็นตัวอย่างการเล่น fair game กับคนดำที่ไม่ให้คนขาวใช้คำ Ni**a ทั้งๆที่พวกเอ็งก็ยังใช้ Fa**ot เหยียดมนุษย์กันเองเลยด้วยซ้ำ ซึ่งในอินโทรของแทร็คถัดไปใส่มาเพื่อหลอกด่าการใช้ Fa**ot ในเพลงตัวเองด้วยนะ
-ในขณะเดียวกันเคนดริกก็ย้อนไปเหตุการณ์เมื่อปี 2018 ในงาน Hangout Music Festival ที่ตัวเองชวนแฟนเพลงคนขาวท่านนึงแร็ปเพลง m.A.A.d City แล้วเธอเผลอแร็ปคำว่า Ni**a จนเคนดริกต้องหยุดโชว์แล้วเทศนาไปหนึ่งดอกถึงคำที่คนขาวไม่ควรใช้ แน่นอนว่ามันเป็นสิทธิ์ที่เคนดริกต้องบอก educate มารยาททางสังคม แต่ใช่ว่าคนดำอย่างเขาจะมีสิทธิ์ใช้คำด่าอื่นๆ โดยเฉพาะ Fa**ot ได้อย่างครอบคลุมตามใจชอบเช่นกัน
7. Mr. Morale
-เคนดริกยังคงปล่อยให้ Mr. Morale ยังคงปริศนาทางธรรมอยู่ว่า ตกลงเป็น alter ego ตัวละครสมมติ หรือถ้าแปลตรงตัวตามดิกชั่นนารีแบบซื่อๆเลย Morale แปลว่า “กำลังใจ” ถ้าจะเล่นตามความหมายเช่นนั้น อาจจะสอดคล้องกับตีมอัลบั้มที่ว่าด้วยการสำรวจจิตใจและการระบาย toxic ทางจิตก็เป็นไปได้
-แฟนเพลงยังคงหาคำตอบของ Mr. Morale ต่อไป ที่แน่ๆเพลงนี้เปิดบีทสนุก ล้ำๆ ท่อนฮุกไม่ตายตัว ฟังแล้วรู้ทันทีว่าเป็นซิกเนเจอร์ของ Pharrell Williams แถมแขกรับเชิญอย่าง Tanna Leone ดันมีสไตล์การร้องใกล้เคียงกับฟาเรลล์ จนนึกว่าฟาเรลล์มาฟีทเอง
-สาสน์เพลงนี้ไม่มีอะไรไปมาก แตะเรื่องวงจรอุบาทว์ของ sexual abuse ของ Black community ที่ส่งต่อความประหลาดให้คนที่เป็นเหยื่อมีปมฝังใจ บางคนก็ซึมเศร้า ระมัดระวังตัว บางคนก็โตเป็นผู้ใหญ่ที่เค้าเกลียดเสียเองก็มี เฉกเช่น R.Kelly ราชาอาร์แอนด์บีเป็นตัวอย่าง แน่นอนว่าสิ่งที่ Robert Kelly ทำเป็นสิ่งที่ไม่น่าอภัย แต่การมีปม domestic violence กลับทำให้ชีวิตใครแปลกประหลาดไปจากเดิมก็เป็นได้
1
-อีกด้านคือเหยื่อที่มีปมฝังใจ ใช้ชีวิตด้วยความระแวงอยู่เนืองๆนั่นก็คือ Oprah Winfrey และแม่ของเคนดริก ประเด็นวงจรอุบาทว์ของ sexual abuse ของเพลงนี้ เป็นการส่งไม้ต่อให้แทร็คถัดไปซึ่งเป็นจุดที่คลายปมของอัลบั้มชุดนี้
8. Mother I Sober
-มาถึงโหมดเพลงดำดิ่งขั้นสุด ยิ่งกว่า “u” ราวกับคนอยู่ในหลุมดำที่ตอนแรกดันมีความคิดอื่นๆบดบัง และคิดไปเองว่า ปมสะสมของตัวเองสามารถเอาอยู่ จนกระทั่งรู้สึกร่อแร่ อับจนหนทาง บวกกับการทำผิดบาปมาบางอย่างด้วย
-โดยเฉพาะปัญหาติด hee หรือ lust addiction ที่ทำเอาเจ้าตัวตบะแตก แอบนอกใจเมียไปนอนกับผู้หญิงอื่น สุดท้ายก็ยอมสารภาพบาป เมียแกก็โคตรดี ยื่นเบอร์นักจิตบำบัด Eckhart Tolle เพื่อปลดล็อคปม toxic ทางใจที่หมักหมม
-ตามคำแนะนำของ Eckhart ที่ทิ้งไว้ใน outro เพลงก่อนหน้า ขยายความง่ายๆคือ อันที่จริงแล้วคนผิวสีทั้งหลายมีแผลที่ถูกกดทับอยู่ หรือ pain body ที่ถูกส่งต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษที่เคยถูกกระทำด้วยการเป็นทาสมาอย่างช้านาน
-คำสาปของชาติพันธุ์ที่ฝังรากลึกไปยังจิตใต้สำนึกในการต้องโต้กลับด้วยความรุนแรง กลายเป็นการส่งต่อความเจ็บปวดทางกายหรือทางจิตให้กับคนอื่นโดยไม่รู้ตัว เป็นวงจรอุบาทว์ hurt people hurt people ไม่รู้จักจบสิ้น
-เป็นการเผยปมอดีตที่เกี่ยวโยงกับวงจรความรุนแรง ทั้งของตัวเองที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่อความรุนแรงทางอาชญากรรมและเพศตลอดเวลา ความรู้สึกผิดที่ไม่สามารถปกป้องแม่ที่โดนกระทำได้ตั้งแต่วัยเยาว์ รวมถึงความรู้สึกผิดต่อเมียที่ดันตบะแตกแอบนอกใจอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น เอาปัญหาสะสมเหล่านี้มาระคน รวมกันเป็นความอัดอั้นดั่งระเบิดเวลาที่ปะทุออกมาในช่วงท้ายเพลง
-ทั้งนี้ก็เป็นการเตือนสติตัวเองและขอพรไม่ให้ลูกๆของเคนดริกต้องเติบโตมาในสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ ไม่ไหลไปตามตัณหาอย่างที่เขาเป็นอีกเลย การตัดสินใจปลดล็อคปมกับผู้เชี่ยวชาญจึงไม่ใช่การปัดของเสียออกจากตัวเอง แต่เป็นการเคลียร์จิตเพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กับคนรอบข้างด้วย
-เป็นเพลงสายลึกที่ถ่ายทอดการย้อนอดีตอันเจ็บปวดด้วยน้ำเสียงอันแหบพร่า ภาคเปียโนหม่นๆ จริงจัง เข้าสู่ช่วงไคล์แม็กซ์ในเชิงดราม่าที่เน้นการระบายธาตุแท้โดยไม่ปิดบัง
-จุดที่เซอร์ไพร์สมากคือการเชื้อเชิญ Beth Gibbons แห่งวง Portishead มาฟีท ประหนึ่งเคนดริกก็รู้วงการอินดี้มากกว่าที่คุณคิด และเจ๊ Beth เองก็ถ่ายทอดน้ำเสียงหลอนๆที่สาวกคุ้นเคย แต่รอบนี้กลับมีพลังงานขับกล่อม ปลอบประโลมให้เจ้าของเพลงได้อย่างน่าแปลกประหลาด
-นี่คือเพลงที่โชว์ให้เห็นทักษะการจี้จุดขั้นเทพของเคนดริกที่ชี้ให้เห็นความขมขื่นทางอารมณ์อันเป็นใจกลางความรู้สึกหลักของอัลบั้มนี้ ปฎิเสธไม่ได้ว่า นี่คือเพลงที่ผมชอบมากที่สุด
9. Mirror
-แทร็คสุดท้ายบทสรุปการสำรวจจิตใจในแบบ inside-out outside-in เข้าสู่จุดคลี่คลายด้วยการตกผลึกถึงการเลือกโฟกัสตัวเองเป็นสำคัญ ไม่เอาเรื่องภายนอกมาเป็นภาระส่วนตัว เพียงเพราะการถูกสังคมคาดหวังให้ออกมาทำบางสิ่ง หรือ call out ตลอดเวลา สาสน์ของเพลงชวนระลึกถึง Man In The Mirror ของ MJ ส่องกระจกบอกกับตัวเองแล้วสะท้อนไปหาคนอื่นว่า อย่าคาดหวังผมมากเลย ตัวคุณต่างหากที่ไม่ควรรอให้ผมมาช่วยเหลือในทางใดทางนึง
When will you let me go?
I trust you'll find independence
If not, then all is forgiven
Sorry I didn't save the world, my friend
I was too busy buildin' mine again
-เป็นการปลดล็อคภาวะ Savior Complex ที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน เป็นเพลงโทนบวก บีทชวนโยก ชี้ทางสว่าง คลายความสงสัยที่มีต่อตัวศิลปินว่าทำไมถึงต้องเก็บเนื้อเก็บตัว หรือไม่ออกสื่อบ่อยแบบแต่ก่อนก็เพราะต้องการหาทางสงบจิตสงบใจ อันเป็นวิถีปกติของคนมีชื่อเสียงก็เท่านั้น การสร้างครอบครัวเป็นก้าวที่ใหญ่สุดในชีวิตของปถุชนคนธรรมดา
พื้นที่ตรงนี้สามารถ Tie-In โฆษณาได้ สินค้า บริการ ครีมได้หมด (ยกเว้นของผิดกฏหมาย)
สนใจโฆษณาลงบนโพสต์ของเพจที่มีผู้ติดตามมากกว่า 16,000 คน
ช่องทาง Blockdit ที่มีผู้ติดตามกว่า 231 คน
ติดต่อได้ที่อีเมล์ 💌 iamistyle.4real@gmail.com
-พอฟังอัลบั้มนี้จบ มันทำให้ผมระลึกถึงประโยคเปิด Intro เพลง DUCKWORTH. ที่บอกว่า It was always me versus the world / Until I found it's me versus me ถึงผมจะไม่รู้ว่า นี่คือเป้าประสงค์ที่แท้จริงของเคนดริกที่ส่งไม้ต่อให้กับอัลบั้มนี้ตั้งแต่แรกหรือไม่ ? ขอตีความจากมุมมองส่วนตัว ผมรู้สึกว่า ประโยคอินโทรดังกล่าวเป็นจุดเชื่อมโยงโดยบังเอิญมากๆ โคตรจะ Savior Complex เลย
-เคนดริกยังคงประสบความสำเร็จในการสื่อสารที่เข้าเป้าประสงค์ชี้ให้เห็นถึงรากลึกปัญหาแบบ 1 ต่อ 1 พยายามขุดหาคำตอบเชิงจิตวิทยาจากนักจิตบำบัดตัวจริง ซึ่งก็น่าสนใจมากว่า ความรุนแรงทุกอย่างมันมีรากฐานจากปมฝังใจคนๆนั้น อะไรที่ทำให้เกิดปมคงหนีไม่พ้นพื้นฐานครอบครัวที่เลี้ยงดูสั่งสอนยังไง โดนกระทำชำเราจากญาติพี่น้องบ้างมั้ย
-MMTBS แทบจะลงดีเทลปมต่างๆนาๆได้อย่างครอบจักรวาล ไม่ว่าจะเป็น การถูกปลูกฝังให้แสดงความแข็งกร้าวตลอดเวลาจากคนเป็นพ่อในเพลง Father Times ความรุนแรงของคู่รักผลพวงจาก toxic relationship ในเพลง We Cry Together
-ปัญหาชีวิตเซเล็ปที่ไหลไปตามตัณหาระหว่างทางใน Worldwide Steppers ซึ่งพ่วงด้วยความ toxic ของทัวร์ลง cancel culture ที่ทำให้เซเล็ปด้วยกันเองวางตัวลำบาก การโดนกรอบของการบูชาตัวบุคคลในเพลง Savior ความไม่เข้าใจในเพศสภาพคนอื่น เหยียดกันไปกันมาแบบพร่ำเพรื่อในเพลง Auntie Diaries
-ปัญหาสิ่งละอันพันละน้อยรวมๆกันเป็นก้อนแห่งความรุนแรงทางกายและวาจาแทบทั้งสิ้น สุดท้ายก็กลับมาที่อะไรที่ทำให้ปัญหาเหล่านี้ยังหมกหมมไม่ได้รับการคลี่คลายในเร็ววันเสียที อาจเป็นเพราะความเชื่อผิดๆที่ทำให้ทุกคนมองข้ามการพูดความจริง การขอความช่วยเหลือจากคนอื่นเป็นการเบื้องต้น
-ปมในใจคือแผลที่ไม่ควรโดนกดทับ ยิ่งกดยิ่งเน่า ยิ่งแพร่เชื้อ การสร้างพื้นที่ปลอดภัยต้องเริ่มที่การปรับความคิด ปรับจิตใจตัวเองให้ได้เสียก่อน คงไม่มีใครอยู่ด้วยอย่างสงบสุขกับคนที่มีสภาพจิตใจที่ดาวน์ จมอยู่กับความรู้สึกผิดไปตลอด นี่เป็นแง่คิดที่ผมได้จากอัลบั้มนี้
-แน่นอนว่ารอบนี้เคนดริกชี้ให้คนฉุกคิดเรื่อง mental health ตรงตามเป้าประสงค์ได้อย่างสนิทใจ ในขณะเดียวกันก็ท้าทายคนฟังด้วยสาสน์ที่ซับซ้อนหลายชั้น ดีเทลสิ่งละอันพันละน้อยมากมายที่อาจทำให้คนฟังส่วนใหญ่รู้สึกยากเกินไปที่จะหยั่งถึง มันเลยฟังยากด้วยเหตุผลนี้
-เป็นงานเพลงที่ต้อง take time มากพอสมควรในการตกผลึก สาสน์ deep conversation ที่อื้ออึงและไม่มีความ entertain ในนั้นอยู่แล้ว ยังคงเป็นสิ่งที่ฟังยากสำหรับเหล่านักฟังเพลงทั่วไป
Whitney Alford ภรรยาในชีวิตจริงของ Kendrick Lamar
-บอกแล้วว่านี่ไม่ใช่อัลบั้มสำหรับทุกคน สำหรับผม ยังไม่ใช่ masterpiece ที่ผมกล้าแนะนำได้แน่ คนฟังท่านอื่นๆคงไม่เก็ตหรือพึงพอใจได้ แต่ถ้าจะบอกว่าเคนดริกเนี่ยเป็นแร็ปเปอร์ที่หนักแน่นในอุดมการณ์เหมือนเดิมมั้ย ? ตอบอย่างไม่อวยเลยว่า อุดมการณ์ของเขายังหนักแน่นอยู่ไม่จางไป เป็นศิลปินที่ยังคงเสาะหาปรัชญาการใช้ชีวิตอยู่สม่ำเสมอ
-ผลงานต่อๆไปน่าจะทิ้งช่วงยาว แล้วกลับมาด้วยภาษาพิเศษ ประเด็นพิเศษที่ต้องตีความอีกชั้น เหนือกว่าภาษาสามัญไปแล้ว ย้อนไปที่ปกอัลบั้ม ผมพอเข้าใจเหตุผลแล้วว่า ทำไมต้องเลือกรูปครอบครัว ?
ทุกสิ่งอย่างเริ่มที่ครอบครัว จบที่ครอบครัว
Top Tracks : United in Grief, N95, Worldwide Steppers, Father Times, We Cry Together, Crown, Silent Hills, Savior (Interlude), Savior, Auntie Diaries, Mr.Morale, Mother I Sober
Give 8/10
Thx 4 Readin’
See Y’all
โฆษณา