Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Timeless History (ประวัติศาสตร์ไร้กาลเวลา)
•
ติดตาม
12 ก.ย. 2022 เวลา 11:30 • ประวัติศาสตร์
ทำไม “เพลโต (Plato)” ถึงรังเกียจ “ประชาธิปไตย”?
“ประชาธิปไตย” และ “ปรัชญา” คือหนึ่งในสิ่งที่ทำให้กรีกโบราณนั้นโด่งดัง หากแต่ว่านักปรัชญาชาวกรีกชื่อดังอย่าง “เพลโต (Plato)” กลับไม่ค่อยเห็นด้วยกับประชาธิปไตยเท่าไรนัก
“Republic” ซึ่งเป็นงานเขียนของเพลโต ได้ชื่อว่าเป็นพื้นฐานของปรัชญาตะวันตกและเป็นการสำรวจลึกถึงประวัติศาสตร์การเมือง
Republic ได้ถูกเขียนเมื่อราว 375 ปีก่อนคริสตกาล และในทุกวันนี้ งานเขียนเรื่องนี้ก็ยังคงเจาะลึกถึงแก่นของหลักจริยธรรมและการเมือง
1
ในสมัยศตวรรษที่ 20 แนวคิดเรื่อง “ประชาธิปไตย” ได้แพร่หลายไปทั่วยุโรป หากแต่เมื่อย้อนกลับไปนับพันปีในสมัยกรีกโบราณ ประชาธิปไตยไม่ใช่สิ่งที่นักปรัชญาชื่อดังอย่าง “เพลโต (Plato)” เห็นด้วยนัก
ต้องออกตัวก่อนว่าในบทความนี้ คือแนวคิดของเพลโตที่มีต่อประชาธิปไตย ไม่ใช่ตัวผมนะครับ ต้องบอกไว้ก่อนเผื่อคนที่อ่านไม่แตกและอาจจะเข้าใจผิด
10
ในงานเขียน Republic ได้มีการวิจารณ์ว่าประชาธิปไตยนั้นนำไปสู่สิ่งชั่วร้ายหลายอย่าง ทั้งความเขลา ความหวาดกลัว และการกดขี่
เพลโต (Plato)
ในช่วงชีวิตของเพลโต เขาได้พบเห็นประชาธิปไตยในเมืองเอเธนส์ ซึ่งประชาธิปไตยในสมัยเอเธนส์โบราณนั้นแตกต่างจากประชาธิปไตยในยุคปัจจุบัน
เอเธนส์นั้นเป็นนครรัฐ ซึ่งการปกครองก็อาจจะแตกต่างจากในปัจจุบันบ้าง โดยการปกครองผู้คนจำนวนที่ไม่มากเกินไป ทำให้สามารถใช้หลักประชาธิปไตยได้โดยตรง ไม่ใช่ผ่านผู้แทนเช่นในปัจจุบัน
1
ประชาชนทุกคน (ที่เป็นอิสระ) มีสิทธิเข้าร่วมในการเมือง โดยการตัดสินใจสำคัญจะกระทำโดยสภา ที่ซึ่งทุกคนมีสิทธิจะแสดงความคิดเห็น
1
ในสมัยเอเธนส์โบราณ ยังไม่มีอัยการและผู้พิพากษา ประชาชนธรรมดาจะทำหน้าที่ฟ้องและตัดสินคดีเอง
1
“โสเครตีส (Socrates)” อีกหนึ่งนักปรัชญาในสมัยเอเธนส์โบราณ เป็นอาจารย์และสหายของเพลโต โดยในงานเขียนเรื่อง Republic มีการเขียนบทสนทนาของโสเครตีส ในขณะที่โสเครตีสไม่เคยจดบันทึกงานของตนเองเลย
ในสมัยนั้น โสเครตีสยังไม่ใช่คนที่โด่งดังหรือสำคัญในเอเธนส์ หากแต่เขาก็คือบุคคลที่ทุ่มเทชีวิตแก่การผูกมิตรและสนทนากับผู้ที่มีปัญญาและบัณฑิตทั้งหลาย
แต่ไม่เพียงแค่ชีวิตของโสเครตีสที่ส่งผลกระทบต่อเพลโตเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการตายของโสเครตีสอีกด้วย
5
เมื่อ 399 ปีก่อนคริสตกาล โสเครตีสได้ถูกนำตัวขึ้นพิจารณาคดี โดยผู้ที่ทำหน้าที่พิจารณาก็คือกลุ่มคนที่ทำตนเป็นเหมือนผู้พิพากษา โดยโสเครตีสถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานล่อลวงเหล่าเยาวชนในเอเธนส์ และยังขาดความเลื่อมใสศรัทธาต่อรัฐ ให้ลงโทษประหารชีวิต
5
เพลโตนั้นรู้สึกสะเทือนใจและผิดหวังต่อสิ่งที่เกิดขึ้น และการประหารโสเครตีสก็ทำให้เขาเกิดแนวคิดว่าประชาธิปไตยนั้นขัดต่อหลักปรัชญา
4
เพลโตเชื่อว่าความเชี่ยวชาญหรือชำนาญคือคุณสมบัติที่สำคัญของผู้นำ และกล่าวว่าการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแทบจะไม่สามารถสร้างบุคคลประเภทนั้นขึ้นมาได้เลย หากแต่ได้คนที่เป็นที่นิยมของบุคคลอื่นๆ
12
เพื่อให้เห็นภาพ เพลโตได้กล่าวถึงบทหนึ่งใน Republic ซึ่งได้เปรียบเทียบถึงการเดินเรือ
ในบทนี้ เพลโตกล่าวถึงการเลือกกัปตันเรือที่เหมาะสม โดยกล่าวว่าการจะเลือกกัปตัน การโหวตอาจจะไม่ใช่วิธีการที่เหมาะสม เนื่องจากผู้คนก็อาจจะหลงไปกับรูปลักษณ์หรือบุคลิกของบุคคล แทนที่จะดูที่ความสามารถ
7
ทางที่ดี คือควรจะหาผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ผู้ที่เชี่ยวชาญที่สุด
1
เพลโตได้กล่าวถึงการที่ระบอบประชาธิปไตยได้ผลิตกัปตันที่โง่เขลา ดังนี้
5
"ผู้นำทางที่แท้จริง จะต้องศึกษาฤดูกาลในแต่ละปี ศึกษาท้องฟ้า ดวงดาว สายลม และวิชาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ จึงจะเหมาะสมที่จะเป็นผู้ควบคุมเรือ"
6
"ผู้มีสิทธิเลือกตั้งคิดว่าเป็นไปไม่ได้ที่บุคคลหนึ่งจะมีทักษะที่จำเป็นในการนำทาง และศาสตร์แห่งการควบคุมเรือก็ไม่มีจริง"
1
เพลโตเชื่อว่าบุคคลที่ควรเป็นผู้ปกครอง ก็คือ "นักปรัชญา" นั่นคือ "กษัตริย์นักปรัชญา"
3
นักปรัชญาที่แท้จริงคือบุคคลที่หลงรักในความรู้และการตามหาความจริงแท้ ดังนั้นในทัศนะของเพลโต บุคคลที่ตามหาความจริงแท้นั้นเหมาะสมที่จะเป็นผู้นำทาง เนื่องจากเขาผู้นั้นคือบุคคลที่มีความรู้มากที่สุด
4
บางทีคำว่า "ปรัชญา" อาจจะสื่อความหมายถึงความรักในการรอบรู้ ดังนั้นนักปรัชญาที่แท้จริง ก็คือผู้ที่เพลิดเพลินในการแสวงหาความรู้
2
จากบันทึกในหนังสือของเพลโต ความรักในความรู้นี้ทำให้นักปรัชญาปราศจากความหลงใหลในคำโกหก ความสุขทางกามารมณ์ กิเลส ความชั่วร้าย และความขลาดกลัว พูดง่ายๆ ก็คือทุกอย่างที่จะนำไปสู่การทุจริต
2
ดังนั้นในทัศนะของเพลโต การปกครองในระบอบประชาธิปไตย ผู้นำนั้นมีแนวโน้มที่จะเพิกเฉยต่อความจริงที่ยากจะยอมรับ
1
จากงานเขียนของเพลโต เพลโตได้บรรยายถึงการที่ชายคนหนึ่ง ค้นพบว่าความเป็นจริงของโลกภายนอกนั้นแตกต่างจากมุมมองที่นักโทษในถ้ำมอง
เมื่อชายผู้นี้กลับไปในถ้ำ และบอกเล่าถึงความจริงของโลกภายนอกให้คนในถ้ำรู้ เขากลับต้องพบกับความรุนแรงและการต่อต้าน แสดงให้เห็นว่าผู้นำที่มีความสามารถไม่สามารถเอาตัวรอดได้ในระบอบประชาธิปไตย ผู้นำต่างต้องทำทุกวิถีทางเพื่อรักษาความนิยมเอาไว้
9
ดังนั้น ด้วยอารมณ์ของผู้คนและการถูกชักจูงได้ง่าย จึงทำให้เพลโตมองว่าประชาธิปไตยนำไปสู่ความหวาดผวาและชั่วร้าย
2
แต่นอกเหนือจากนั้น เพลโตยังกล่าวว่าประชาธิปไตยยังนำไปสู่ความพินาศในทิศทางอื่นอีก โดยเพลโตได้กล่าวว่า
"เสรีภาพที่มากเกินไปได้กัดกร่อนประชาธิปไตยและนำไปสู่ความต้องการเผด็จการ"
16
ในทัศนะของเพลโต สังคมที่เต็มไปด้วยเสรีภาพ ประชาชน ชาวต่างชาติหรือต่างด้าว ทุกคนล้วนแต่ไม่มีความต่าง
1
อาจารย์จะต้องเกรงกลัวลูกศิษย์ ผู้เยาว์จะไม่ให้ความเคารพผู้อาวุโส ทุกๆ อย่างจะเต็มไปด้วยเสรีภาพและความเท่าเทียม แม้แต่สุนัขที่เดินอยู่บนถนนก็มีสิทธิของตัวมันเอง
8
อันที่จริง มุมมองเรื่องการถือครองสัญชาติและสิทธิของสัตว์ ก็กลายเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ในหลายๆ ชาติในสังคมปัจจุบัน โดยเพลโตเป็นห่วงว่าสังคมแบบนี้จะทำให้เกิดความขัดแย้ง ความขัดแย้งทางการเมืองที่นำไปสู่ผู้นำที่เข้มแข็ง ผู้นำเผด็จการ
7
รัฐในอุดมคติของเพลโต จะมีการแบ่งกลุ่มคนตามสถานะและบทบาทในสังคม เช่น สังคมนักรบ สังคมเกษตรกร โดยแต่ละบทบาทในสังคมนั้น ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามอำเภอใจ
3
และด้วยระบบสังคมเช่นนี้ ทำให้โอกาสที่มนุษย์จะเกิดการพัฒนานั้น ก็เป็นไปได้ยาก หากพิจารณาจากการที่รัฐจะกำกับวิถีชีวิตของผู้คนมากขนาดนั้น
1
หากแต่เพลโตก็ไม่ได้วิจารณ์และประณามว่าการถือครอง "ทาส" เป็นสิ่งชั่วร้าย โดยดินแดนในอุดมคติของเพลโตซึ่งปกครองโดยกษัตริย์นักปรัชญานั้น ได้ทำลายรัฐในอุดมคติที่ซึ่งผู้คนสามารถกำหนดอนาคตของตนเองได้ และมีเสรีภาพในแนวทางประชาธิปไตย
1
"อริสโตเติล (Aristotle)" นักปรัชญาชาวกรีกอีกผู้หนึ่ง ผู้ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของเพลโต ได้วิจารณ์แนวคิดของเพลโต
อริสโตเติล (Aristotle)
อริสโตเติลนั้นยึดมั่นในความจริงทางการเมือง การยอมรับทางประวัติศาสตร์ และความเป็นจริง ซึ่งทำให้นักคิดทั้งสองมีแนวทางที่แตกต่างกัน โดยอาจจะเรียกได้ว่าเพลโตเป็นผู้ที่ยึดมั่นในความชอบธรรม ส่วนอริสโตเติลนั้นเป็นผู้ที่ยึดมั่นในประสบการณ์ การลองผิดลองถูก
1
ตามทัศนะของอริสโตเติล การไม่ใส่ใจในบุคคลในสังคมระดับล่าง ถือว่าเป็นสิ่งที่อันตราย
8
กษัตริย์ควรจะรับฟังความเห็นจากที่ปรึกษา และต้องฟังความเห็นของประชาชนด้วย ซึ่งวิธีการนี้ในทัศนะของอริสโตเติล จะทำให้สังคมมีความกลมเกลียวมากกว่าชนชั้นปกครองแนะนำกันเอง
5
แต่สุดท้ายแล้ว ก็ต้องขึ้นกับความคิดของแต่ละบุคคลว่าประชาธิปไตยนั้นเป็นสิ่งดีหรือไม่ดี หากแต่มุมมองในเรื่องประชาธิปไตยของเพลโตก็ยังเป็นที่พูดถึงและถกเถียงจนถึงทุกวันนี้
1
References:
https://medium.com/the-philosophers-stone/why-plato-hated-democracy-3221e7dcd96e
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Criticism_of_democracy
https://www.cambridge.org/core/journals/social-philosophy-and-policy/article/abs/platos-criticisms-of-democracy-in-the-republic/26983895B2724F7B6532CD0E68AB7D1C
https://www.theschooloflife.com/article/why-socrates-hated-democracy/
1
ประวัติศาสตร์
97 บันทึก
67
4
55
97
67
4
55
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย