6 มิ.ย. 2022 เวลา 08:20 • ความคิดเห็น
ชาวตะวันตกกับกลิ่นทุเรียน
เปิดบันทึกความรู้สึกของลาลูแบร์ ทูตจากฝรั่งเศสในสมัยกรุงศรีอยุธยา
3
เมื่อคนที่บ้านกำลังปอกทุเรียนอยู่ แล้วหันมาถามทีเล่นทีจริงว่า สมัยอยุธยามีทุเรียนรึยัง ? ก็เลยอยากจะเขียนเป็นเรื่องเล่าอีกสักตอน หลังจากที่เคยเขียนเล่าเรื่องหน้าร้อนใหญ่ในสมัยนั้น
1
(pic: Pexels)
ซึ่งจากคำถาม ก็ขอตอบว่ามีค่ะ เพราะในจดหมายเหตุลาลูแบร์ได้บันทึกไว้เช่นกัน ถือเป็นหลักฐานทางโบราณที่ดีงามจริงๆ
3
เนื่องจากทุเรียนเป็นพืชพื้นเมืองของประเทศบรูไน อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ซึ่งไม่มีข้อมูลการเข้ามาในประเทศไทยที่ชัดเจนนัก แต่ทำให้เรารู้ว่าในสมัยอยุธยาก็มีทุเรียนแล้ว
ส่วนความรู้สึกของท่านทูตซีมง เดอ ลา ลูแบร์(Simon de La Loubère) นั้น น่าจะไม่ค่อยดีงามสักเท่าไหร่ เพราะได้เขียนบรรยายความรู้สึกไว้ว่า
" ..แต่สำหรับข้าพเจ้าไม่สามารถทนต่อกลิ่นเหม็นอันรุนแรงของมันได้.. " 😂
4
ดูเรียน (Durion) ชาวสยามเรียกว่า ทูลเรียน (Tourrion) เป็นผลไม้ที่นิยมกันมากในแถบนี้ แต่สำหรับข้าพเจ้าไม่สามารถทนต่อกลิ่นเหม็นอันรุนแรงของมันได้ ผลมีขนาดเท่าผลแตง มีหนามอยู่โดยรอบ ดูๆไปก็คล้ายกับขนุนเหมือนกัน มีเมล็ดมาก แต่เมล็ดใหญ่ขนาดเท่าไข่ไก่ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้กิน ภายในยังมีอยู่อีกเมล็ดหนึ่ง ถือกันว่ายิ่งมีเมล็ดในน้อยยิ่งเป็นทูลเรียนดี อย่างไรก็ตาม ในผลหนึ่งๆไม่เคยปรากฏว่ามีน้อยกว่า ๓ เมล็ดเลย
จดหมายเหตุลาลูแบร์ : ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ แปลโดย สันต์ ท.โกมลบุตร
4
ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ / Du Royaume de Siam, ตีพิมพ์ ค.ศ.1691
แม้แต่นิโกลาส์ แชรแวส(Nicolas Gervaise) ชาวฝรั่งเศสคนแรกๆ ที่บันทึกเรื่องราวในสมัยอยุธยา ก็ได้เขียนถึงทุเรียนไว้เช่นกัน
1
ทุเรียน (durillon) เป็นผลไม้ที่คนสยามชอบมากที่สุด มีรสอร่อยมาก แต่คนที่ไม่คุ้นกับกลิ่นของมันแล้วเวลากินถึงแก่ต้องอุดจมูก เปลือกของมันคล้ายกับเปลือกผลเชสท์นัทเขียว (chataigne verte) ของเรามาก แต่มีหนามมากกว่า รูปพรรณมันกลมๆ ขนาดเท่าส้มโอ
ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองฯแห่งราชอาณาจักรสยาม(ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช) : นิโกลาส์ แชรแวส แปลโดย สันต์ ท.โกมลบุตร
1
ยิ่งในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นด้วยแล้ว ทุเรียนนั้นเป็นผลไม้ที่ชาวสยามนิยมรับประทานกันอย่างมาก บางบ้านก็นำมาจัดวางบนโต๊ะอาหารเพื่อใช้เลี้ยงรับรองแขกผู้มาเยือน
บันทึกของฝรั่งเกี่ยวกับทุเรียนในสมัยนั้นจึงค่อนข้างจะมีอยู่พอสมควร ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะให้ความคิดเห็นในทำนองคล้ายๆกันคือกลิ่นที่แรงเกินไป
แต่ก็มีบันทึกจากฝรั่งที่ชื่นชอบทุเรียนนะคะ
อ็องรี มูโอต์ นักสำรวจธรรมชาติชาวฝรั่งเศส ที่เดินทางมาสยามในสมัยรัชกาลที่ 4 เล่าว่า ตอนแรกที่เห็นทุเรียนเขารู้สึกไม่ชอบต้องทำใจอยู่นาน แต่หลังจากได้ลองชิมกลับรู้สึกชอบในรสชาติ
2
"..ด้วยเนื้อครีมสีขาว บางครั้งก็สีเหลือง รสชาติสุดวิเศษ ..ธรรมชาติช่างหลอกล่อให้ตายใจอะไรเช่นนี้ เช่นว่าเวลาชิม เราต้องกล้ำกลืนความขยะแขยงไปเสียเท่าไหร่.."
1
ขนาดบันทึกจากคนที่ชอบนะเนี่ย 😂
จะเห็นว่าการพรรณนาถึงทุเรียนจากชาวตะวันตกจะเป็นเรื่องกลิ่นเสียส่วนใหญ่ ซึ่งจะว่าไปก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะแม้แต่คนไทยก็มีทั้งคนที่ชอบและไม่ชอบกลิ่นทุเรียนจริงมั้ยคะ
2
ข้อมูลอ้างอิง
แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ค่ะ
ถ้าชอบบทความที่นำมาเล่า อย่าลืม
♡กดติดตาม ♡กดไลค์ ♡กดแชร์ กันนะคะ
Simple Blog
06.06.22

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา