5 มิ.ย. 2022 เวลา 09:08 • สิ่งแวดล้อม
1) ผมมองว่า คำตอบอยู่ที่ “ห่วงโซ่อุปทาน” (supply chains) ของกระบวนการผลิตรถ ev รวมไปถึง lifecycle ของแบตเตอรี่ตั้งแต่กระบวนการทำเหมืองแร่ธาตุที่เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตแบตเตอรี่จนไปถึงการ “บริหารจัดการ” กับแบตเตอรี่ที่หมดอายุการใช้งานแล้วหรือทำการ recycling หรือ reusing ด้วย
โดยหากมองเฉพาะ ส่วนประกอบของตัวรถ ev โดยไม่พิจารณาเรื่องแบตเตอรี่ ก็จะพบว่า “ชิ้นส่วน” (parts) ที่นำมาประกอบเป็นรถ ev ทั้งคันนั้น มีชิ้นส่วนลดลงอย่างมากเนื่องจากรถ ev ไม่ใช้เครื่องยนตร์สันดาบภายใน (Internal Combusion Engines)
และนั่นก็หมายถึง “ชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับเครื่องยนตร์ก็จะไม่มีในรถ ev อีกต่อไป!
การลดลงของ “ชิ้นส่วน” ดังกล่าว นำมาซึ่ง การลดลงของกระบวนการผลิตชิ้นส่วนเหล่านั้น และการลดลงของ “กระบวนการผลิต” ย่อมหมายถึง การลดลงของการใช้พลังงาน และสุดท้ายคือ การลดลงของการปล่อยมลพิษที่บางส่วนเกี่ยวพันกับ “ภาวะโลกร้อน”
รายละเอียดที่เกี่ยวข้องมีอยู่ใน posts ของผมครับ
2) อันที่จริงมีตัวอย่างที่น่าสนใจในอุตสาหกรรมอาหารที่สามารถหยิบยกมาเป็นกรณีศึกษาได้ เช่น
“Vegans” สามารถช่วยลดโลกร้อนได้?
“Based on the model, published in the open-access journal PLoS Climate, phasing out animal agriculture over the next 15 years would have the same effect as a 68 percent reduction of carbon dioxide emissions through the year 2100.”
ข้อความข้างต้นจากบทความของทาง Stanford ได้ชี้ว่า หากเรางดการเลี้ยงสัตว์เพื่อการบริโภคลง ในอีก 15 ปี ก็จะช่วยลดการปล่อย carbon dioxide จาก “กระบวนการเลี้ยงสัตว์” ลงถึง
68%
“In fact, producing plant-based meat emits up to 90% fewer greenhouse gases than producing conventional meat.”
และบทความนี้ ได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจเช่นกันว่า
กระบวนการผลิต plant-based meat นั้นจะมีการปล่อย greenhouse gases ลดลงถึง 90% เมื่อเทียบกับการผลิตผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ทั่วไป!
โฆษณา