5 มิ.ย. 2022 เวลา 12:59 • หนังสือ
ทำไมถึงต้องคิดแล้ว คิดอีก
ตามชื่อหนังสือ Think again
พบคำตอบได้ในเล่มนี้ครับ
3
เล่มนี้จะพาไปพบกับการคิดทบทวน ทำไมเราต้องคิดทบทวน
และต้องทบทวนระดับไหน มันสำคัญอย่างไรในการคิดทบทวน
แล้วมันดีอย่างไรจนคุณชัชชาติแนะนำหนังสือเล่มนี้
คุณ Adam Grant ได้ทำวิจัย สำรวจและบอกไว้ในเล่มนี้แล้วครับ
1
เนื้อหาหลักๆจะแบ่งออกเป็น 3 ช่วงครับ
คือ การคิดทบทวนรายบุคคล
การคิดทบทวนระหว่างบุคคล
การคิดทบทวนเป็นกลุ่ม ครับ
ซึ่งผมได้สรุปเนื้อหาหลักๆไว้ในพสนี้แล้วครับ
สุดท้ายแล้วผมคิดว่ายังมีประเด็นอีกมากมาย
ที่ผมยังคิดว่านำมาพูด มาเล่าให้ทุกคนฟังได้อีก
ผมได้ในโพสต่อๆไปครับ
ใครสนใจพิมพ์ ‘อยากรู้' ไว้ได้เลยครับ
1
#thinkagain #คิดแล้วคิดอีก #อยากสรุป #รีวิวหนังสือ
การคิดทบทวนรายบุคคล
จากในหนังสือมีการทดลองและได้จัดกลุ่มทัศนคติออกมา 4 ประเภท
นั่นคือ นักเทศน์ เราจะเป็นเมื่อเราพยายามสอนเพื่อปกป้องและส่งเสริมอุดมการณ์ของตนเอง
เป็น อัยการ เมื่อเราเห็นข้อบกพร่องของผู้อื่นแล้วเราต้องการที่จะพิสูจน์ว่าคนอื่นคิดผิด
เป็น นักการเมือง เมื่อต้องการพยายามเอาชนะใจผู้ฟัง
แต่ทัศนคติที่ดีที่สุด ซึ่งเป็นแนวคิดหลักนั่นคือ เป็นนักวิทยาศาสตร์ ที่มีการคิดทบทวนตลอด
ทั้งนี้ไม่ได้หมายถึงอาชีพนะครับ แต่หมายถึงวิธีคิดแบบนักวิทยาศตร์ที่มีการค้นหาคำตอบ มีความสงสัยเสมอเป็นสิ่งที่ดีครับ
1
การคิดทบทวนระหว่างบุคคล
ในระดับต่อมาของการคิดทบทวน คือ การตั้งคำถามให้ดีขึ้น
เนื่องจาก เราไม่สามารถบังคับให้คนอื่นเชื่อสิ่งที่เราพูดได้ง่าย
ดังนั้นการถามว่า ‘หลักฐานแบบไหนทำให้เปลี่ยนแปลงความคิดได้’
เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากกว่า ผ่านการตั้งคำถามในอีกฝ่ายเปิดใจ
และดูว่าเราสามารถโน้มน้าวใจได้หรือไม่
1
อีกคำถามที่เราควรเปลี่ยนคือ เปลี่ยนจาก ‘ทำไม’ เป็นถามว่า ‘อย่างไร’ แทน
เมื่ออีกฝ่ายมีความคิดสุดโต่ง การถามถึงการทำสิ่งนั้นให้เป็นจริง
จะทำให้อีกฝ่ายเห็นข้อจำกัด และยึดมั่นให้ความคิดตนเองน้อยลง
และอีกอย่างคือ การมองความขัดแย้งเหมือนกับการเต้นรำ ไม่ใช่การต่อสู้
หาสิ่งที่เหมือนกันและยอมรับในจุดยืนร่วมกัน
แสดงให้อีกฝ่ายเห็นว่าเราต้องการจะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความจริง
และกระตุ้นให้อีกฝ่ายพิจารณามุมมองของเราได้ด้วย
1
และนอกจากนั้นเรายังต้อง ’ส่งเสริมอิสระในการเลือก’
โดยเคารพในการเลือกของอีกฝ่ายด้วยกรย้ำเตือนว่าเขามีสิทธิ์เลือกที่จะเชื่ออะไร
การคิดทบทวนเป็นกลุ่ม
สู่การเป็นนักเรียนรู้ตลอดชีวิตได้จาก 3 อย่าง
คือ 1 การกำจัดการแบ่งขั้วที่ทำให้เกิดข้อโต้แย้ง
ด้วยการสร้างประเด็นที่ซับซ้อนมากขึ้น
เพราะเรื่องราวแต่ละอย่างมีมากกว่า 2 ด้าน
การทำให้ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น จะทำให้เรามองเห็นหลายๆด้านและเปิดใจมากขึ้น
2 ตั้งคำถามต่อความรู้
ในหนังสือยกตัวอย่าง การถกเถียงเพื่อลบความเชื่อผิดๆต่างๆ กับเด็กๆในตอนเย็นของมื้ออาหาร
ยิ่งอายุน้อย ยิ่งทำได้ง่ายและเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการสร้างความสบายใจในการทบทวนของเด็กๆด้วยครับ
3 สร้างนวัตกรรมในการเรียนรู้ในที่ทำงาน
มีงานวิจัยบอกว่า ยิ่งมีความปลอดภัยในการเรียนรู้ จะยิ่งทำงานมีประสิทธิภาพ
จากการที่สามารถตั้งคำถามและท้าทายสภาพความเป็นอยู่ ณ ตอนนั้นได้โดยไม่ต้องโดนลงโทษ
ขอบคุณสำหรับการรับชมครับ
โฆษณา