Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
StockGuide
•
ติดตาม
6 มิ.ย. 2022 เวลา 04:33 • หุ้น & เศรษฐกิจ
หุ้นอาหารไทย รับประโยชน์ Food Crisis
ทั่วโลกกำลังเจอวิกฤตอาหารขาดแคลน โดย Food Price Index ตั้งแต่ต้นปีนี้ ปรับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเป็นสติถิสูงสุดในรอบกว่า 30 ปี
วิกฤตอาหารมีสาเหตุหลักอยู่ 3 ประเด็น คือ
1. สงครามรัสเซีย-ยูเครน เพราะ 2 ประเทศเป็นผู้ผลิตและส่งออกสินค้าทางการเกษตร เช่น ข้าวสาลี ข้าวโพด และน้ำมันพืชจากเมล็ดทานตะวัน
2. ภาวะโลกร้อน ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในหลายประเทศ ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำลง
3. เงินเฟ้อพุ่งสูง หลังจากเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว และการปรับขึ้นของราคาพลังงาน แต่ค่าครองชีพของประชาชนปรับขึ้นตามไม่ทัน
..
อย่างไรก็ดี ประเทศไทยถือว่ามีความได้เปรียบในเรื่องนี้มาก เพราะมีความมั่นคงทางอาหารสูง สามารถผลิตสินค้าทางการเกษตรเพื่อบริโภคเองในประเทศอย่างสบายๆ
แถมยังเหลือพอส่งออกไปขายในประเทศที่ขาดแคลนอีกด้วย ช่วงที่ราคาอาหารพุ่งขึ้นแบบนี้ ธุรกิจอาหารและการเกษตรในไทยจึงได้รับประโยชน์เต็มๆ
โดยเฉพาะหุ้นที่ประกอบธุรกิจฟาร์มเลี้ยงหมูและไก่ ที่มีความสามารถในการส่งออก และจะได้รับประโยชน์จากราคาเนื้อหมูและเนื้อไก่ที่ปรับสูงขึ้น
อีกทั้งจะมีต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ลดลงจากราคากากถั่วเหลือง ซึ่งไม่ได้ปรับเพิ่มสูงขึ้นเหมือนกับสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ
ประกอบด้วย
หุ้น CPF หรือ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)
ราคาเป้าหมายเฉลี่ย 29.67 บาท P/E 24.49 เท่า
หุ้น GFPT หรือ บริษัท จีเอฟพีที จำกัด (มหาชน)
ราคาเป้าหมายเฉลี่ย 17.95 บาท P/E 35.64 เท่า
หุ้น TFG หรือ บริษัท ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
ราคาเป้าหมายเฉลี่ย 6.11 บาท P/E 39.56 เท่า
หมายเหตุ : รวบรวมข้อมูล ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2565 ราคาเป้าหมายเฉลี่ยจาก IAA Concensus
..
นอกจากนี้ หุ้นกลุ่ม Soft -Commodity ก็จะเป็นอีกกลุ่มที่ได้รับประโยชน์เช่นกัน
ได้แก่ น้ำมันปาล์ม เช่น หุ้น UVAN, UPOIC, VPO, CPO, LST
น้ำตาลดิบ เช่น หุ้น KSL, KTIS, KBS, BRR
แป้งสาลี เช่น หุ้น TMILL
แป้งมันสำปะหลัง เช่น หุ้น UBE
..
ส่งข่าวประชาสัมพันธ์หรือติดต่อโฆษณาที่
stockguide.contact@gmail.com
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย