5 มิ.ย. 2022 เวลา 19:05 • คริปโทเคอร์เรนซี
สรุปจาก 📝WIM EP.65: ทำไม “Web 3.0” ถึงสำคัญ ปัจจัยที่จะทำให้สำเร็จ 🗃 (รับชมวิดีโอตัวเต็มได้ที่: https://bit.ly/3x83Lcr)
======================
1. Web 3.0 คืออะไร
======================
- Web 1.0 คือ read เข้าไปเพื่อเสพข่าวสาร เป็นการสื่อสารทางเดียว เช่น เว็บ Kapook, Sanook
- Web 2.0 คือ read, write เว็บในปัจจุบัน เช่น Facebook, Youtube โซเชียลมีเดียต่างๆ user สามารถเข้าไป contribute เขียนได้ ซึ่งข้อดีของโซเชียลมีเดียมีเยอะมาก ทำให้เกิดการกระจายตัวของข้อมูลอย่างมหาศาล ใครจะเขียนอะไรก็ได้ มีมุมมองที่หลากหลายทั้งดีและไม่ดี
- แต่ข้อเสียของมันก็มีอยู่ เช่น ถ้าอยู่ดีๆ Facebook เขาแบนไม่ให้เราใช้เลยก็จบ ซึ่งก็มีเคสเกิดขึ้นที่มีผู้หญิงคนนึงใช้ username ใน Instagram ว่า metaverse ตั้งแต่ปี 2017 ก่อนที่คำว่า metaverse จะดังขึ้นมา แล้วพอ Facebook เปลี่ยนชื่อเป็น Meta เขาไปแบนผู้หญิงคนนั้นแล้วบอกว่าใช้ชื่อที่ไม่สมควรจะใช้
ซึ่งเรื่องมันแดงขึ้นมา เพราะผู้หญิงคนนี้ไม่ยอม เอาไปฟ้อง New York Times ลองคิดภาพถ้าผู้หญิงคนนี้ไม่โวยวายขึ้นมาเขาก็จะเสียสิทธิ์ในการใช้ account ของเขา
- Web 2.0 คือ read กับ write เราสามารถเขียนคอนเทนต์ โพสต์วิดีโอออกไป แต่เราจะไม่ใช่เจ้าของ ทุกอย่างคือ Facebook หรือ Youtube จะแบนเราเมื่อไหร่ก็ได้ ซึ่งโดยปกติแพลตฟอร์มอย่าง Facebook เขาจะได้ user จากการที่เราสร้างคอนเทนต์ และสามารถนำไป monetize ในที่หลังได้
แต่ตัวเราที่เป็นคนสร้างคอนเทนต์ต้องไปหาทาง monetize เอง เช่นการไปหาสปอนเซอร์ เลยเกิดคอนเซ็ปต์ web 3.0 ที่ว่า คนที่สร้าง value ควรจะเป็นเจ้าของ value นั้นด้วย
- Web 3.0 คือ read, write, own ซึ่งนิยามนี้ออกมาครั้งแรกจากคุณ Chris Dixon ซึ่งเป็นหัวหน้าทีมทางด้านคริปโตของบริษัทชื่อ Andreessen Horowitz (a16z) ซึ่งเป็น venture firm ที่ดังและใหญ่มากๆ ที่สหรัฐอเมริกา เป็นบริษัทที่ลงทุนในธุรกิจที่เป็น groundbreaking มาโดยตลอด เช่น Netscape, Facebook, Paypal, Clubhouse
======================
2. คำว่าเป็นเจ้าของ (Own) คือเป็นยังไง
======================
- Blockchain เกิดขึ้นมา เพราะว่ามันเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยทำให้เราสามารถส่งมูลค่า (value) จากคนหนึ่งไปหาอีกคนได้
- ทุกวันนี้เวลาเราส่งเงินก็จะใช้ PromptPay ซึ่งสิ่งที่เราส่งจริงๆ แล้วไม่ใช่เงิน แต่คือข้อมูล (information) สมมุติเช่น เราโอนจากบัญชี SCB ให้เพื่อนที่ใช้ KBank แปลว่าเราส่งข้อมูลให้ SCB หักเงินจากบัญชีของเรา ธนาคาร SCB ก็จะไปหักเงินใน database ออกจากบัญชีเรา แล้วส่งข้อมูลให้ธนาคาร KBank หักเงินออกจากบัญชี SCB ที่อยู่ที่ธนาคาร KBank แล้วไปเพิ่มในบัญชี KBank ของเพื่อนเรา
จะเห็นว่า flow การทำงานจริงๆ ไม่ใช่ เงิน (money) แต่เป็นข้อมูล (information) เป็นแค่การเปลี่ยน database ของสองธนาคาร
- ซึ่งก่อนเทคโนโลยี blockchain เขาไม่รวม database กัน เพราะมันต้องอาศัยความเชื่อใจเยอะมาก ถ้าระหว่างสองฝ่ายอาจจะเป็นไปได้ แต่พอจำนวนเยอะขึ้นมันก็จะเริ่มยากที่ทุกคนจะมาตกลงกันว่าใครเป็นเจ้าของ database
- พอมี blockchain ขึ้นมาก็เลยปฏิวัติโลกของ finance จากการที่ PromptPay ส่ง information พอเป็น blockchain มันส่งได้ทั้ง information และ value ในเวลาเดียวกัน
======================
3. Blockchain เข้ามาช่วยพัฒนา Web 3.0 ได้อย่างไร
======================
-Blockchain เข้ามาช่วยให้ทำสองสิ่งที่แต่ก่อนอินเทอร์เน็ตไม่สามารถทำได้
*1. ความสามารถที่จะส่งมูลค่า (value)
- ก่อนหน้านี้สิ่งที่เราสร้างอยู่บนอินเทอร์เน็ต มันส่งผ่านมูลค่ากันไม่ได้ ก็เลยไม่สามารถที่จะมีเจ้าของหลายคน เจ้าของเลยต้องเป็นรวมศูนย์ตรงกลางอยู่ที่ service provider ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram
*2. ความขาดแคลนทางด้านดิจิทัล (digital scarcity)
- เช่น ไฟล์เพลง mp3 มันก๊อปกี่ครั้งก็ได้ เอาไฟล์ต้นฉบับมาก๊อปปี้แล้วถามว่าอันไหนคือต้นฉบับ มันก็ตอบไม่ได้ ถึงเราจะมีทรัพย์สินทางปัญญา แต่ในโลกออนไลน์สมัยก่อนเราไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเราคือเจ้าของจริงๆ ทำให้โลกของ web 2.0 การบังคับเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา ต้องกระทำผ่านกฎหมายที่อยู่นอกอินเทอร์เน็ต
- พอมี blockchain มันทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า digital scarcity เพราะ blockchain มันสามารถระบุได้ว่าใครเป็นเจ้าของอะไรบนโลกอินเทอร์เน็ต
- บทความที่เรา contribute ให้ social media ถ้าเป็น web 3.0 จะสามารถ identify ได้ตั้งแต่ต้นเลยว่าเราคือคนที่เขียนบทความอันนั้น ถ้ามี value อะไรที่เกิดจากบทความอันนั้น ไม่ว่าจะเป็นค่าโฆษณาหรืออะไรก็แล้วแต่ มันสามารถกลับมา owner ได้เลย ผ่าน smart contract หรือ blockchain transaction เลยเป็นความสามารถของ blockchain ที่ enable คอนเซ็ปต์ของ web 3.0 ขึ้นมา
ทำให้เรื่องของ web 3.0 มันเติบโตมาพร้อมๆ กับตลาดคริปโตที่เติบโต เลยได้ยินบ่อยขึ้นเรื่อยๆ ในยุคหลัง
======================
4. ความ Decentralize ของ Blockchain
======================
- จริงๆ แล้วโลกของ blockchain ในปัจจุบัน มันไม่ใช่ trustless แต่มันคือ trust minimize มากกว่า ถึงแม้จะเป็น Bitcoin ก็แล้วแต่ คำว่า trust minimize ต่างกับสิ่งที่เราทำอยู่ในปัจจุบัน
ปัจจุบันเวลาเราเข้าไปใช้ Facebook เราต้องเชื่อใจว่า Facebook จะไม่ทำข้อมูลเรารั่วไปให้คนอื่น จะไม่ปิด account ของเรา ต้องเชื่อใจ (trust) เขาทุกอย่าง
- แม้กระทั่ง Bitcoin เอง มันก็คือ trust minimize ลดสิ่งที่จะเชื่อต้องเชื่อใจใครลงมาให้น้อยที่สุด การที่ Bitcoin มี node ต่างๆ ไม่มีใครเป็นเจ้าของ Bitcoin เพราะมันมีสมมติฐานว่า node จะไม่รวมหัวกันเกิน 51% (51% Attack) เพราะฉะนั้นเราต้อง trust ว่าสมมติฐานนี้มันจะเวิร์ค ตราบใดที่คนใน node ไม่รวมหัวกันเกินครึ่งหนึ่ง เราก็จะไม่โดนโกง
- Web 3.0 ก็เหมือนกัน คนที่รัน node ที่อยู่ใน blockchain ต่างๆ เป็นคนควบคุม transaction ตราบใดที่เราเชื่อในสมมติฐานว่าคนส่วนใหญ่จะไม่โกง transaction ต่างๆ ก็จะถูกต้อง เรายังสามารถพิสูจน์ได้อยู่ว่าเราเป็น owner ของสิ่งนั้น
- ซึ่งสมมติฐานนี้ทำให้คำว่า การกระจายศูนย์ (decentralization) เป็นเรื่องที่สำคัญมาก blockchain ที่มี node ยิ่งเยอะจะยิ่งดี เพราะมันมีการกระจายศูนย์มากกว่า ถ้ามี node แค่ 10 อัน เหมือนเหตุการณ์ที่พึ่งเกิดขึ้นคือ Ronin Bridge ที่โดนแฮก เพราะมันมี node แค่ 9 ตัว แล้วเขาแฮกได้เกินครึ่ง เลยมีเสียงข้างมาก แล้วก็ดึงเงินออกไปได้
แต่ถ้ามี node 100 ตัว หมายความว่าไม่ว่าจะการโดนแฮกหรือการรวมหัวกันโกง ต้องมากกว่า 51 คน ซึ่งก็จะยากกว่า ทำให้คำว่า decentralize มันแทบจะมาพร้อมๆ กับ web 3.0 เพราะมันมาทำให้ web 3.0 ปลอดภัยมากขึ้น
- อีกเรื่องคือ incentive alignment สมมุติเป็น Bitcoin ถ้ามีคนมารวมหัวกัน 51% จริงๆ ก็ทำได้ แต่เขาไม่มี incentive ที่จะทำตรงนั้น ถ้ามองจากทางด้านการเงิน เพราะถ้าทำแบบนั้นถึงคนที่ทำจะได้ Bitcoin ไป แต่ Bitcoin ก็เสียมูลค่าอยู่ดี เพราะว่ามันไม่น่าเชื่อถือแล้ว
- เพราะฉะนั้นไม่ใช่ว่าใช้ blockchain แล้วมันจะดีเสมอไป ต้องไปดูด้วยว่าโครงสร้างของ blockchain ตัวนั้นด้วยว่า มันออกแบบไว้ยังไง incentive alignment เป็นอย่างไร แล้วมีองค์ประกอบเป็นใครบ้าง
======================
5. ตัวอย่างเคสของ Web 3.0 ที่น่าสนใจ
======================
*1. TweetDAO
- มีความตั้งใจที่อยากจะเป็น Decentralized Twitter Account ถ้าใครอยู่ในโลกคริปโตจะรู้ว่า Twitter คือช่องทางหลักในการสื่อสารข้อมูล ซึ่งจริงๆ เกิดขึ้นเพราะ Facebook และ Instagram แบนโพสต์ที่เกี่ยวกับคริปโตทั้งหมดในช่วงแรก (เป็นจุดอ่อนของ web 2.0) ทุกคนก็ไม่รู้จะไปโพสต์ที่ไหน เลยมีคนกลุ่มนึงมาสร้าง community คริปโตบน Twitter ทำให้มันกลายเป็นแพลตฟอร์มหลัก
- ปกติ Twitter 1 account ก็จะมี 1 คนที่ใช้งาน แต่ TweetDAO ทำให้ Twitter 1 account สามารถถูกครอบครองด้วยคนหลายๆ คนได้ ซึ่งเป็นคอนเซ็ปต์ของ web 3.0 โดยการที่ถือ NFT ของตัว TweetDAO ถ้าคุณถือไข่ 1 ฟอง คุณสามารถ tweet ออกจาก account นี้ได้หนึ่งครั้ง ซึ่งเป็นคอนเซ็ปต์ที่น่าสนใจมาก
เพราะปกติเวลาที่ account tweet เนี่ย ultimate goal ก็คืออยากได้ follower อยากเป็น influencer อะไรสักอย่าง ที่นี้สิ่งที่ TweetDAO ทำคือคนที่ถือไข่ก็มีแนวโน้มที่จะ tweet สิ่งที่มันดีหรือเป็น viral ที่ทำให้มี follower เยอะขึ้น ทำให้ account มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ตัว NFT อันนี้ก็จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเช่นกัน
*2. Lens Protocol
- เป็น decentralized social network ที่พยายามจะเข้ามาแข่งกับ Facebook แต่ตอนนี้ยังไม่มี adoption
*3. Bored Ape Yacht Club
- เป็นตัวอย่างของ web 3.0 และ DAO ที่เริ่มต้นจากการเป็น NFT แต่พอคนซื้อไปเยอะๆ ทำให้เกิด community ของคนที่ซื้อ BAYC และคนที่ถือก็อยากสร้าง value ให้ community นี้เยอะขึ้น เลยเกิด secret chat room ที่คุณจะจอยได้ถ้าคุณมีถือ BAYC เท่านั้น
- เนื่องจากคนที่ถือ BAYC ต่างเป็น influencer ดังๆ ของคริปโต ไม่ว่าจะเป็น VC หรือ founder ทำให้รูปลิงนี้มันมี value มากขึ้น เพราะคนที่ถือรูปลิงเขา contribute สิ่งที่มีมูลค่ากลับออกมาให้กับ society ทำให้คนอยากถือรูปลิงเพื่อเข้าไปจอย community นี้มากขึ้น
- นี่คือตัวอย่างว่าพอคนที่อยู่ใน web 3.0 เขา contribute สิ่งที่เป็น value แล้วสุดท้าย value ก็จะกลับมาหาตัวเขาเอง ต่างกับ web 2.0 ที่สมมุติเราโพสต์ Facebook ให้ตาย follower เยอะมาก คนที่ได้เงินคือ Facebook ถ้าเราอยากได้เงินต้องไปวิ่งหา sponsor เอง ทั้งๆ ที่คนที่ generate revenue ให้ Facebook ก็คือ user เองนี่แหละ
======================
6. ความแตกต่างระหว่างธุรกิจแบบ Traditional และ Web 3.0
======================
- ธุรกิจแบบ Traditional จะเป็นรูปแบบเจ้าของธุรกิจ (business owner) กับลูกค้า (customer) เช่น ห้างสรรพสินค้า เจ้าของธุรกิจมีหน้าที่หาสินค้าหรือบริการมาขาย ลูกค้ามีหน้าที่จ่ายเงิน เป็น transaction relationship ลูกค้าเอาเงินมาจ่าย เอาสินค้าไป แล้วก็ต่างคนต่างแยกย้าย
ทำให้ tradtional business ต้องเสียเงินเยอะมากเพื่อที่จะ maintain ลูกค้าให้อยู่กับเขา เช่น การทำ CRM การทำระบบ loyalty card
- ธุรกิจแบบ Web 3.0 จะเปลี่ยนจาก business owner และ customer เป็น community แทน คนที่ใช้แพลตฟอร์มจะไม่ใช่แค่ user แต่เป็น creator หรือ contributor แล้วถ้าเขา create value ออกมา value มันจะกลับมาที่ community เป็นการทำให้ทุกคนอยู่ในเลเวลเดียวกัน community เดียวกัน
เพราะฉะนั้นตอนนี้ถ้าเราเข้าไปซื้อ Bored Ape Yacht Club เราก็อยู่ในเลเวลของคนที่ถือรูปลิงนี้เท่ากันทั้งหมดเลย อาจจะมีบางคนที่มี influence เยอะกว่า เพราะเขาอยู่มานานกว่า แต่สุดท้ายแล้ว ถ้าราคารูปลิงทั้งหมดมันขึ้น ทุกคนก็ได้ประโยชน์เหมือนกันหมด
======================
7. ความสัมพันธ์ระหว่าง Web 3.0 กับ DAO
======================
- D คือ Decentralized ส่วน AO คือ Autonomous Organization หรือองค์กรที่สามารถปกครองตัวเองได้ โดยไม่ได้มีกฎอะไรที่ไม่ได้ออกมาจากองค์กร แต่ไม่ได้หมายความว่าองค์กรนี้จะไม่ต้องเชื่อฟังกฎหมายบ้านเมือง อาจจะเป็นความต้องการขององค์กรก็ได้ที่จะเชื่อฟังกฎหมาย ซึ่งจริงๆ มูลนิธิต่างๆ ก็ถือว่าเป็น AO แต่คำว่า D ที่ทำให้มันต่าง
- DAO มันเชื่อมโยงกับ web 3.0 ตรงว่า value ที่มัน create ออกมาเป็นการ create จาก creator หลายๆ คนที่เข้ามาในแพลตฟอร์ม สมมุติเราอยากทำ Facebook แบบ web 3.0 ที่ทุกคนอยากจะมา create value แล้วก็ capture value นั้นกลับไป
แต่สุดท้ายมันก็จะต้องมีคนรันเซิร์ฟเวอร์ คนเขียนโค้ด คนติดต่อกับบริษัทโฆษณาต่างๆ ก็เลยเป็น synergy ระหว่าง DAO กับ web 3.0 โดย DAO จะมาเป็นคนรัน operation ให้กับ web 3.0 แพลตฟอร์ม เพราะเราไม่อยากเชื่อใจให้บริษัทใดบริษัทหนึ่งมารันตรงกลาง
เพราะถ้าแบบนั้นมันก็จะไม่ต่างกับการใช้ web 2.0 ซึ่งพอเป็น DAO หมายความว่า user จะเป็นใครมาจากไหนก็ได้ที่มาช่วยรัน DAO ซึ่งแตกต่างกับองค์กรที่เป็น traditional business ทำให้ DAO น่าสนใจ แล้วก็มีการใช้ระบบ blockchain ช่วยในการ consensus ในการตัดสินใจ ช่วยเรื่องการโหวตในเรื่องต่างๆ
- DAO ค่อนข้างซับซ้อนแต่ก็น่าสนใจ ที่มันซับซ้อนเพราะมันมี potential เทคโนโลยีที่มันเปลี่ยนโลกก็คือเทคโนโลยีที่คุณฟังครั้งแรกแล้วคิดว่ามันไม่น่าจะเวิร์ค ถ้ามันเป็นเทคโนโลยีที่ฟังแล้วเข้าใจง่าย แปลว่าใครๆ ก็คิดได้
======================
8. DAO จำเป็นต้องใช้ Smart Contract ไหม
======================
- DAO ทุกวันนี้แทบจะไม่ได้ใช้ smart contract ด้วยซ้ำ มีน้อยมากที่ fully automate ผ่าน smart contract
- ส่วนใหญ่จะมีคนเขียน proposal ขึ้นมา แล้วก็ไปโพสต์ใน forum ว่าอยากจะเปลี่ยนหรือทำอะไรสักอย่าง สมมุติผมอยากจะสร้าง dashboard ที่มีประโยชน์ต่อ community ผมก็จะเอา dashboard อันนี้ไปโพสต์ถามว่าอันนี้คิดว่ามีประโยชน์ไหม
แผนที่จะพัฒนา dashboard ต่อไปในอนาคต เงินที่อยากจะขอเพิ่ม เพราะต้องรันเซิร์ฟเวอร์ ต้องไปจ้างคน แล้วก็จะมีคนมาถกเถียงกันว่าควรจะให้เยอะหรือน้อยเท่าไหร่ แบ่งจ่ายยังไง แล้วสุดท้ายก็จะเข้าไปโหวตกัน ซึ่งการโหวต ไม่ว่าจะเป็นผ่าน snapshot หรือโหวตผ่าน blockchain โดยตรง
เป็นแค่การคลิก Yes หรือ No ซึ่งเป็น smart contract แต่ว่า process ทั้งหมดตั้งแต่การโพสต์ proposal, discussion มันไม่ใช่ smart contract เลยเป็นแค่ text forum ธรรมดา
- ถึงแม้เราจะมี web 3.0 service แล้ว มันก็จะยังมี web 2.0 layer อยู่ข้างล่าง ไม่ว่าจะเป็น Twitter ที่ใช้ในการ PR หรือ Discord ที่ใช้ในการคุยหรือสร้าง forum กัน
======================
9. ปัจจัยที่มีผลต่อการประสบความสำเร็จของ Web 3.0
======================
*1. Blockchain
- Blockchain เป็นเทคโนโลยีที่ถือว่ายังใหม่ ยังอยู่มาไม่นานมากพอที่จะได้รับการพิสูจน์ ยังไม่เจอวิกฤติมาก ไม่มีใครรู้ว่า blockchain มันจะมา disrupt หลายๆ อย่าง เหมือนที่ทุกคนพูดกันหรือเปล่า
- 51% Attack จะมีสิทธิ์กิดขึ้นได้ไหม อาจจะเกิดขึ้นได้ยากมากๆ แต่ก็ยังมีโอกาสอยู่ อันนึงที่ผมไม่เห็นด้วย คือหลายๆ คนจะชอบพูดว่ายังไง Bitcoin ก็ไม่ตาย เพราะว่าคนที่จะมาทำ 51% attack บน Bitcoin ทำไป Bitcoin ของเขาก็เสียมูลค่า ดังนั้นเขาจึงจะไม่ทำ แต่จริงๆ ยังมีเหตุผลอย่างอื่นอีกตั้งเยอะแยะ
ไม่ว่าจะทางด้านการเมือง การคานอำนาจ หรือโรคจิตอยากทำก็ได้ ซึ่งเขาอาจจะยอมเสียเงินเพื่อทำลาย Bitcoin ก็เป็นไปได้ เพราะฉะนั้นเทคโนโลยี blockchain ยังต้องรอให้ได้รับการพิสูจน์มากกว่านี้
*2. Decentralization
- คำว่า web 3.0 ส่วนใหญ่เวลาพูดแทบจะไม่ได้แตะ Bitcoin เพราะ Bitcoin เป็น store of value ของตัวมันเอง ส่วนใหญ่จะหมายถึงฝั่ง Ethereum และ chain ต่างๆ ที่สามารถเขียน smart contract ได้ ซึ่ง chain ต่างๆ เหล่านี้ส่วนใหญ่เริ่มจะเปลี่ยนจาก Proof of Work ไปเป็น Proof of Stake หมดแล้ว หรือแม้แต่ตัว Etheruem เองสุดท้ายก็จะกลายไปเป็น Proof of Stake
ซึ่งหมายความว่าคนที่มีเหรียญเยอะกว่า ก็สามารถโหวตได้มากกว่า ซึ่งหมายความว่าถ้าผมมีเงินเยอะพอ ผมก็สามารถควบคุมแพลตฟอร์ม web 3.0 ได้ด้วยก็ซื้อเหรียญเยอะๆ ก็ยังเป็นข้อกังวลอีกอันนึงสำหรับ web 3.0 ว่าสุดท้ายแล้วที่เราอยากมุ่งไปทาง decentralize มันจะ decentralize ได้จริงๆ หรือเปล่า ถ้ามันสามารถโดน attack ด้วยการซื้อได้ ซึ่งวิธีการแก้ที่ง่ายที่สุดเลยก็คือทำให้การซื้อมันเป็นไปไม่ได้ที่จะทำได้
- ในอดีต Justin Sun ที่จะเป็นเจ้าของ Tron Blockchain เคยทำ attack ด้วยการซื้อเหรียญ Steem จนกลายเป็น majority holder แล้วก็ไปเปลี่ยน tokenomics ให้พังทลาย แล้วก็ทะเลาะแตกกันออกมาเป็น 2-3 เหรียญ เคยมีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นมาแล้วในอดีต ก็ต้องรอดูกันว่าถ้า web 3.0 มันโตมากกว่านี้ แล้วมี value มากกว่านี้จะมีคนมาพยายาม atttack อีกหรือเปล่า
*3. User Experience
- Sam Bankman-Fried เคยพูดไว้ในงาน REDeFiNE Tomorrow 2020 ที่จัดโดย SCB10X ว่าเทคโนโลยี Blockchain, Cryptocurrency, DeFi, Web 3.0 ทั้งหลาย ถ้ามันจะตาย เขาคิดว่ามันจะไม่ตายแบบทันทีทันใด แต่จะค่อยๆ ตายลงอย่างช้าๆ เพราะมันไม่สามารถ scale ได้ คนที่เล่นคริปโตที่มีอยู่จำนวนนึง ถ้าไม่สามารถขยายได้ คริปโตก็จะค่อยๆ ตายไป
- Web 3.0 ก็จะตาย เพราะมัน scale ไม่ได้ เนื่องจาก user experience มันไม่ดี ตอนนั้นที่ Sam ไปลงทุนใน Solana และ Serum ต่างๆ เพราะว่าเขารู้สึกว่า Etheruem มี user experience ที่ไม่ดี เขาอยากให้การใช้ DeFi มันเร็วและถูก web 3.0 ถ้าเราไม่สามารถดึงดูดผู้ใช้งานจาก web 2.0 เข้ามาได้ เพราะ web 3.0 user experience ไม่ดี มันก็จะตาย การที่เราจะมี decentralize อะไรสักอย่าง จริงๆ เป็นอะไรที่ทำยากมาก
- จริงๆ decentralize social network มีมานานมากแล้ว ชื่อ Mastodon แต่ไม่ได้ใช้ blockchain และไม่ค่อยมีคนสนใจเลย ถ้าคนสนใจความ decentralize ขนาดนั้น คงไปใช้ Mastodon กันแล้ว
ความลำบากคือถ้าเราอยากจะคุยเรื่องอะไร เราต้องตั้งเซิฟเวอร์ของตัวเอง ต้องไปซื้อ cloud server แล้วใช้มันรัน Mastodon เซิร์ฟเวอร์เพื่อพูดคุย แล้วคนอื่นต้อง search ว่าเซิร์ฟเวอร์ไหนที่คุยเรื่องที่เขาสนใจ แล้วไปจอยเซิฟเวอร์นั้น ต้องเป็นคนที่ hardcore decentralization จริงๆ ถึงจะไปใช้
- ที่ User Experience ของ web 3.0 มันไม่ดี เพราะ web 3.0 มันให้ power กลับไปที่ user เยอะมาก ถ้าเทียบกับ web 2.0 ไม่ว่าจะเป็นการครอบครอง asset การใช้ hardware/software wallet การใช้ blockchain การจ่ายค่าแก๊สทั้งหลาย ถ้าคุณอยากใช้ decentralize money คุณก็จะสามารถทำได้ทุกอย่าง จะเอา private key ไปโพสต์แล้วให้คนขโมยเงินหมดเลยก็ได้ ไม่มีการห้าม
เพราะ power ทั้งหมดอยู่ที่คุณ พอ power อยู่ที่ user ทำให้ learning curve มันก็เลยสูงมาก เวลาจะเข้ามาใช้งาน จะมีคำศัพท์ที่ต้องเรียนรู้เยอะแยะไปหมด จริงๆ แล้วก็มีหลายๆ บริษัทที่พยายามจะเข้ามาเพื่อแก้ปัญหาตรงนี้เพื่อให้ทุกอย่างมันง่ายขึ้น แต่ก็แน่นอนว่าถ้าเราไปใช้ solution พวกนั้น เราก็จะเสียสละคำว่า web 3.0 ที่แท้จริงออกไป
กลายเป็น hybrid ระหว่าง web 2.0 และ web 3.0 ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่แย่ เพราะไม่ใช่ทุกคนที่อยากมาคีย์ข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตทุกขั้นตอน มันยาก
- อีกตัวอย่างที่น่าสนใจคือมีโทรศัพท์ยี่ห้อหนึ่งชื่อ Fairphone เป็น smartphone ที่สามารถซ่อมและอัพเกรดด้วยตัวเอง ซื้อเฉพาะส่วนมาเปลี่ยนได้ สามารถ customize ได้ว่าอยากมีลำโพงประเภทไหน เลนส์ประเภทไหน เปลี่ยนได้ตามใจ ซึ่งมันก็ฟังดูดี แต่ไม่ค่อยมีคนใช้ เพราะการจะใช้ Fairphone มันยากกว่าปกติ มันให้ power กับ user เยอะมาก แต่ user อาจจะไม่ได้ต้องการ จริงๆ แล้ว user อาจจะต้องการแค่ความสะดวกสบาย
เพราะฉะนั้น web 3.0 ก็เลยเป็นสิ่งที่น่าสนใจว่า user ต้องการคำว่า own เยอะแค่ไหน เขาอาจจะไม่ต้องการก็ได้ อาจจะเป็นแค่คนในโลกคริปโตที่ make up this word ขึ้นมาเพื่อขายคริปโตของตัวเองก็ได้ ไม่มีใครรู้ แต่ไม่ว่ามันจะจริงหรือไม่จริง สุดท้ายมันต้อง scale ออกไปให้ได้ user experience ต้องดีกว่านี้ ต้องมี adoption เยอะกว่านี้ มันถึงจะไม่ตาย
- สุดท้ายก็กลับมาที่ customer ไม่ว่าเทคโนโลยีจะทำอะไร ถ้าเทคโนโลยีไม่ต้องตอบโจทย์สิ่งที่ลูกค้าต้องการ เทคโนโลยีนั้นก็จะตาย ไม่ต้องมานั่งเถียงกันว่า blockchain ดีหรือไม่ดี
======================
10. ธุรกิจควรเตรียมรับมือกับ Web 3.0 อย่างไร
======================
- ตอนนี้มี sentiment shift ของ consumer เหมือน Facebook ก็โดน backlash มากขึ้นเรื่อยๆ ถ้าคุณทำธุรกิจอย่างนึงที่ควรจะต้องเปลี่ยนก่อนเลยคือ ต้องเริ่มเปลี่ยนแนวคิดจาก business owner กับ customer ให้กลายเป็น community อันนี้คือก่อนที่จะเข้ามาใน web 3.0 ด้วยซ้ำ
- เห็นตัวอย่างสิ่งนี้ได้ชัดจากนักร้อง K-POP ที่ประสบความสำเร็จมาก ถ้าเทียบกับนักร้องฝั่งตะวันตกที่เขาจะมีความสัมพันธ์ในลักษณะ transaction relationship มากกว่า คนจ่ายเงินให้ streaming service เพื่อฟังเพลงแล้วก็จบ ไม่มี relationship อะไรมากกว่านั้น ส่วนฝั่ง K-POP เราจะเห็นคนซื้อบิลบอร์ด Happy Birthday ศิลปิน ที่เขาทำเพราะเขาอยากเป็นส่วนนึงของ community
- ลองคิดภาพดูสมมุติว่าธุรกิจของคุณคือขายน้ำปลา แล้วมี community ที่มีความคลั่งไคล้ในน้ำปลาของคุณเยอะมาก ถึงขนาดที่ยอมไปซื้อบิลบอร์ดเพื่อโฆษณาน้ำปลาของคุณ คุณก็สมควรที่จะให้รางวัลกับคนกลุ่มนี้ อย่าง K-POP ถ้าประเทศไหนที่มีบิลบอร์ดของศิลปินเยอะ ก็มีโอกาสที่ศิลปินจะมาแสดงคอนเสิร์ตที่ประเทศนั้นเยอะขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นการให้รางวัลกับ community ในรูปแบบนึง
แต่ถ้าเป็นธุรกิจของเรา เราก็ควรหาวิธีที่จะตอบแทนรางวัล (reward) กลับไปที่ community ไม่ว่าจะเป็นด้านตัวเงินหรือชื่อเสียง เหมือนกับว่า marketing ที่ธุรกิจเราควรจะต้องทำ ตอนนี้จะ outsource ไปให้ community ทำแทน ถ้าสามารถเรา align value ของเรากับของ community ได้
- จะเห็นได้ว่าทั้งหมดนี่ยังไม่ได้แตะ blockchain เลย แต่ว่าเป็นสิ่งที่ธุรกิจทุกอันควรจะปรับตัวไปทางนั้น เลิกคิดว่าเราจะเป็นแค่ business owner กับ customer แต่จะทำยังไงถึงเกิดเป็น community ของคนที่คลั่งไคล้โปรดักของเรา
======================
11. ธุรกิจที่ Web 3.0 จะเข้ามาตอบโจทย์
=====================
- คิดว่าสุดท้ายแล้วหวังว่า web 3.0 จะตอบโจทย์ทุกธุรกิจ แต่ถ้าตอนนี้มีธุรกิจที่คิดว่า web 3.0 จะสามารถ disrupt ได้ก่อนคือ
*1. คอนเทนต์
- เพราะมันไม่จำเป็นต้อง interact กับโลก physical สมมุติเช่น Medium ผมเขียนบทความไป แล้ว Medium ก็ได้เงิน ผมไม่ได้อะไร เลยเกิดเป็น mirror.xyz ที่เกือบจะเป็น fully web 3.0 แล้ว เพราะฉะนั้นเรื่องออนไลน์คอนเทนต์น่าจะเป็นเรื่องแรกที่จะโดน disrupt จาก web 3.0 ก่อน ให้เราสามารถสร้างคอนเทนต์ แล้วก็ให้ทุกคนในแพลตฟอร์มช่วยกันสร้าง network effect ขึ้นมา แล้ว value มันก็กลับมาที่เรา
- ซึ่งตรงนี้มีคนพยายามเคยทำแล้วชื่อ Steemit ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็น Hype แล้ว เพราะโดน Justin Sun hard fork ไป เขาอยากเป็น medium ที่เป็น web 3.0 ที่มันยังไม่เกิดเพราะว่า UX/UI มันซับซ้อน แล้วก็มีเรื่อง tokenomics นู่นนี่นั่นเข้ามา เพราะฉะนั้นก็ยังรออยู่ว่าเมื่อไหร่จะเกิด web 3.0 ที่ใช้งานง่าย และมี value ที่สะท้อนกลับมาให้ content creator คิดว่านี้จะเป็นสิ่งแรกที่น่าจะโดน disrupt ก่อน
*2. เกม
- เกมจริงๆ เป็นอะไรที่น่าสนใจมาก อย่างนึงที่เกิดขึ้นในโลก metaverse ก็คือเกมที่มาจาก web 2.0 ไปสู่ web 3.0
*1. Single experience เกมในสมัยแรกๆ ที่มี เช่น Mario ไม่ว่าคุณจะเป็นใครมาจากชาติไหน มาเล่น Mario ก็จะได้ประสบการณ์การเดียวกันคือ เหยียบหัวสัตว์ประหลาดหรือเก็บเห็ด
*2. Multiexperience เป็นเกมที่สามารถทำได้หลายอย่างในเกม ไม่ว่าจะเป็นพวกเกม RPG ต่างๆ พวก SimCity แต่ multiexperience ก็ยังลิมิตอยู่ที่ game studio เราจะมีประสบการณ์ยังไงก็ได้ ตราบใดที่อยู่ในกรอบที่ game studio วางไว้
*3. User-created experience เช่น Minecraft, Roblox พวกนี้บริษัทเกมแทบจะไม่ได้เขียนเกมแล้ว แค่เขียน game engine ออกมา แล้วให้ user ไปสร้างเองว่าอยากได้คอนเทนต์อะไร ซึ่งอันนี้ทำให้เกิดสิ่งที่น่าสนใจมากๆ เกิด experience ออกมาเยอะแยะมากมายมาก ซึ่งช่วยสร้างมูลค่าให้กับเกมตัวนั้นเยอะมาก แต่คนที่ capture มูลค่าตรงนี้ก็คือ บริษัทเกม ซึ่งเพราะมันคือเกมแบบ web 2.0
*4. Metaverse พอตอนนี้เรามี blockchain มี web 3.0 แล้ว เราสามารถมี user-created experience แต่ให้ value ที่ capture ได้กลับไปที่ user ได้ กลายเป็นโลกของ metaverse ขึ้นมา ซึ่งเรื่องเกมที่คิดว่าโลกของ web 3.0 จะเข้ามา disrupt ได้มากๆ เลย เพราะเกมเมอร์เป็นกลุ่ม community ที่ชอบการ create เห็นได้จาก การที่เกมเมอร์ออกมาสตรีม ออกมาเขียนโค้ด สร้างสูตรต่างๆ มีเยอะมากๆ
- อย่างเมื่อก่อนมีเกมนึงที่ฮิตมากๆ คือ Dota ก็เป็นอีกตัวอย่างนึงที่สร้างขึ้นมาด้วยแพสชั่นจริงๆ แต่ก่อนมันอยู่ใน Warcraft แค่ custom game เล็กๆ แล้วเขาก็ develop กันมาหลายปีมากๆ จนมันดังมาก ก่อนที่จะ break off ออกมาแล้วกลายเป็นเกม Dota ที่เราเล่นกันอยู่ในทุกวันนี้
======================
12. ฝากส่งท้าย
======================
- Web 3.0 รายละเอียดมันเยอะและซับซ้อน อยากให้ติดตามข่าวสารไปเรื่อยๆ ถึงแม้วันนี้อาจจะคิดว่าไกลตัว แต่เทคโนโลยีพวกนี้เวลาเกิดแล้ว มันเกิดขึ้นเร็วมาก เพราะฉะนั้นถ้ารอให้มันเกิดก่อนแล้วค่อยมาวิ่งตาม เราจะตามไม่ทัน อยากให้ศึกษาเทคโนโลยีรอไว้ก่อน เหมือน smartphone ที่ตอนแรกเริ่มยังไม่มีใครใช้ แต่พอคนเริ่มใช้ทีก็เยอะเลย
- ต่อให้ web 3.0 ไม่เกิด แต่คอนเซ็ปต์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง decentralize, autonomous organization, การทำให้ value ของสิ่งที่สร้างกลับไปที่ user, การสร้าง community มันเป็นองค์ประกอบของ web 3.0 ที่เราสามารถดึงมาใช้ในธุรกิจของเราได้ ถือแม้ว่า web 3.0 หรือ blockchain จะตายไป สิ่งพวกนี้ก็ยังใช้ได้ เพราะฉะนั้นไม่เสียหายแน่นอนในการที่จะศึกษาคอนเซ็ปต์ต่างๆ เกี่ยวกับ web 3.0 ไว้
- ฝากติดตามทีมวิจัย BLOCK, PSU Phuket ได้ทั้งทาง Youtube และ Facebook
======================
Speaker:
ดร.ธันวา อาภรณ์ทิพย์
- นักวิจัย, BLOCK - PSU Blockchain Research Team
======================
Moderator: พี พนิต P Panit
======================
Date: 7 April 2022 (21:00-22:20)
#Web3 #Blockchain #BLOCK #PSU #WhyItMatters #วันนี้สรุปมา #todayinoteto
โฆษณา