Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
The Article
•
ติดตาม
6 มิ.ย. 2022 เวลา 02:11 • การเมือง
ค่าแรงติดดิน แต่ค่าครองชีพติดปีกบิน
กระแสการพูดถึงนโยบายหาเสียงของพรรค พปชร. กลับมาอีกครั้งจากการประชุมสภา อภิปรายร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 2566 โดยพรรคฝ่ายค้านนำโดย ส.ส.ก้าวไกล
หนึ่งในนโยบายที่ทุกคนจำไม่ลืมนั่นคือ นโยบายการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ จาก 330 เป็น 425 บาท แต่ถึงปัจจุบันผ่านไปจวนจะครบวาระ 4 ปีแล้ว ค่าแรงยังคงนิ่งอยู่ที่เดิม จึงทีการทวงถามถึงนโยบายนี้ต่อ นาย สุชาติ ชมกลิ่น รมต.แรงงานคนปัจจุบัน ได้คำตอบกลับมาว่า “ค่าแรงขั้นต่ำปรับขึ้นได้แน่ ถ้าไม่เกิดโควิด ย้ำการเพิ่มขึ้นเพียง 6-7 % ต่อปีเท่านั้น”
ในความเป็นจริงของการขึ้นค่าแรงในไทยนั้น ไม่ได้มีเพียงฝ่ายรัฐเท่านั้นที่เมื่อต้องการให้ขึ้นค่าแรงแล้ว จะสามารถดำเนินการได้ทันที แต่จะต้องผ่านการหารือของคณะกรรมการไตรภาคีระหว่าง ฝ่ายนายจ้าง ฝ่ายลูกจ้างและฝ่ายรัฐบาล ซึ่งหากตกลงกันได้ทั้ง 3 ฝ่ายการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำก็สามารถขึ้นได้โดยไม่มีปัญหา แต่การปรับขึ้นค่าแรงแล้วจะส่งผลกระทบลูกโซ่ต่อไปยังภาคเศรษฐกิจโดยรวมนั้นเป็นสิ่งที่กังวล
ในอดีตช่วงปี 2544 – 2554 การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำมีลักษณะที่ล้อไปกับอัตราเงินเฟ้อ โดยค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2.8% ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 2.7% ต่อปี หรือช่วง 10 ปีให้หลังเงินเฟ้อไทยเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 1.05% และค่าแรงก็มีการปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1% แสดงให้เห็นว่าลูกจ้างและนายจ้างเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการเติบโตของเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียมกัน
แต่หากต้องการเพิ่มค่าแรงปีละ 6-7 % อย่างที่ท่านรมต.ว่า หากอ้างอิงจากเศรษฐกิจไทยในอดีตต้องมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมากทำให้เงินแรงซื้ออย่างมหาศาลจนเกิด Demand pull Inflation ซึ่งเป็นเงินเฟ้อที่เกิดจากความต้องการทางภาคเศรษฐกิจโดยรวมจริง ๆ
การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 6-7% แบบที่คิดไว้ก่อนตอนนี้คงยากที่จะเป็นไปได้แล้ว เนื่องจากเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบันเกิดจาก Cost put Inflation ซึ่งไม่ได้เกิดจากความต้องการในตลาดที่เพิ่มขึ้น การขึ้นค่าแรงจะเป็นการเพิ่มภาระให้นายจ้าง แล้วท้ายที่สุดก็จะผลักภาระมาสู่ผู้บริโภคในที่สุด
แม้จากผลการวิจัยเงินเฟ้อจะไม่ได้ส่งผลมากจนเป็นนัยสำคัญกับค่าแรง และในทางกลับกันค่าแรงก็ไม่ได้ส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้ออย่างมีนัยสำคัญเช่นเดียวกัน แต่ในด้านความรู้สึก ค่าสินค้าที่เพิ่มขึ้นมันกระทบการใช้ชีวิตโดยตรงแล้วคนส่วนใหญ่รับรู้ได้ มากกว่า ตัวเลขผลิตภาพแรงงาน หรือ ต้นทุนของผู้ประกอบการ จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะเป็นส่วนใหญ่ที่คนนึกถึงหากต้องการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ
การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในโค้งสุดท้ายของรัฐบาลลุงตู่ในช่วงจะมีการพิจารณาขึ้นค่าแรงอีกเป็นครั้งสุดท้าย โดย นายสุชาติ ชมกลิ่น เป็นผลักดัน โดยให้สัญญาว่าสามารถขึ้นได้ แต่ขึ้นเท่าไหร่ให้เป็นการตัดสินใจของฝ่ายไตรภาคี ต้องคอยติดตามว่าค่าแรง ปี 2566 จะเพิ่มขึ้นได้หรือไม่
การดำเนินนโยบายของพรรค พปชร.ในครั้งนี้จะถูกจดจำในเรื่องความล้มเหลวของการบริหาร และจะเป็นแนวทางในการวางนโยบายของพรรคการเมืองในอนาคตที่จะหาเสียงให้อยู่บนความเป็นไปได้มากขึ้น
เศรษฐกิจ
ธุรกิจ
บันทึก
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย