6 มิ.ย. 2022 เวลา 15:00
การบูลลี่ในสังคมยุค2022!!
1
การกลั่นแกล้ง (bullying) เป็นคำที่มักได้ยินมากขึ้นในสังคมไทย หรือได้เห็นข่าวที่มีการกลั่นแกล้งกันของเด็กชั้นประถมที่จบลงด้วยโศกนาฏกรรมที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น โดยพฤติกรรมเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นในโรงเรียน การบูลลี่จึงไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยอีกต่อไป จากการสำรวจ พบได้ว่าพฤติกรรมการกลั่นแกล้ง หรือการบูลลี่ของเด็กไทยเป็นอันดับ2ลองลงมาจากประเทศญี่ปุ่น
1
จากการสำรวจพบได้ว่า90% ของคนที่ถูกบูลลี่ และอีก43% ที่คิดจะตอบโต้คืน ซึ่งอาจส่งผลที่ทำให้เกิดความรุนแรง แม้ว่าในสังคมจะเริ่มให้ความสนใจกับเรื่องนี้มากขึ้น แต่ก็ไม่เคยได้รับการแก้ไขแบบจริงจัง โดยคนที่ถูกกลั่นแกล้งจะเกิดสภาวะความเคลียดและการสะสมความกลัว ส่งผลให้เกิดความไม่มั่นใจในตนเอง หรืออาจเกิดปัญหาการใช้ชีวิต หรือการเข้าสังคมที่ยากลำบาก
1
ประเภทของการบูลลี่
5
การบูลลี่แบ่งออกได้เป็น4ประเภทดังนี้
  • การใช้กำลัง หรือการทำร้ายร่างกาย เช่น การชกต่อยการตบตี การข่มขู่ ทำลายข้าวของให้เสียหาย
1
  • การใช้คำพูด เป็นการพูดทำร้ายความรู้สึก เช่น การพูดจาข่มขู่ การวิพากษ์วิจารณ์ในทางที่เสียหาย ล้อเลียน การเยาะเย้ย
  • การบูลลี่ทางสังคม ส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อจิตใจ เช่น กดดันให้ออกจากกลุ่ม กีดกันไม่ให้ใครเข้าใกล้ หรือไม่ให้อยู่ในกลุ่มเพื่อน
  • การบูลลี่ทางโลกออนไลน์ (Cyber Bullying) เป็นการกลั่นแกล้งในวงกว้างที่รุนแรงมากกว่าในรั้วโรงเรียน หรือในกลุ่มเพื่อน
1
สัญญาณ และการรับมือกับการบูลลี่
1
  • ไม่ตอบสนองต่อการกลั่นแกล้ง ไม่ว่าการกลั่นแกล้งนั้นจะกระทบกับจิตใจของเรามากแค่ไหนก็ตาม
  • ไม่ตอบโต้ด้วยความรุนแรง เพราะอาจจะกลายเป็นผู้กระทำความผิด และกลายเป็นจำเลยสังคม
1
  • เก็บหลักฐานที่ถูกกลั่นแกล้ง เพื่อปรึกษาผู้ปกครอง หรือดำเนินคดี
  • หากเกิดกรณีไซเบอร์บูลลี่ ควรรายงานกับโซเชียลมีเดียต้นทาง
  • ตัดการติดต่อ หรือบล็อกการเชื่อมต่อ พร้อมระมัดระวังไม่ให้ตัวเองเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกลุ่มนี้อีก
การบูลลี่จะไม่เกิดขึ้นเลยหากถูกปลูกฝังจิตสำนึก และทัศนคติที่ดีให้ตั้งแต่ยังเด็ก ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาในระยะยาว แต่การแก้ไขปัญหาในระยะสั้นผู้ที่ถูกบูลลี่ควรตอบโต้ความรุนแรงนั้นด้วยความ “เฉยชา” และต้องเสริมสร้างความเข้มแข็งทั้งทางกาย และทางใจให้แก่ตนเองเพื่อก้าวผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปให้ได้
โฆษณา