Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Reporter Journey
•
ติดตาม
6 มิ.ย. 2022 เวลา 15:28 • ข่าวรอบโลก
ทำความเข้าใจเรื่อง “เงินเฟ้อ” แบบรวบรัด
เมื่อโลกตกอยู่ในสภาวะเงินท่วมแต่มูลค่าน้อย
ไทยก็ไม่พ้น เงินเฟ้อ พ.ค. พุ่ง 7.10% ผลจากของแพง
ทั่วโลกกำลังเผชิญกับสภาวะเงินเฟ้อสูง หลังจากที่ปีนี้โลกเริ่มกลับเข้าสู่สถานการณ์ปกติเมื่อผ่านพ้นวิกฤตโรคระบาดใหญ่ ห่วงโซ่อุปสงค์อุปทานต่างๆ เริ่มกลับมามีความต้องการอย่างก้าวกระโดดอีกครั้ง เพราะดูเหมือนกับว่าช่วง 2 ปีที่ผ่านมานั้นเป็นช่วงที่โลกหยุดหมุน และตอนนี้โลกกลับมาหมุนอีกครั้งในอัตราเร่งที่มากกว่าปกติ เพื่อชดเชยวันเวลาที่สูญเสียไป
การกลับเข้าสู่ภาวะปกติอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาเนื่องจากหมายประเทศมีภูมิคุ้มกันในการรับมือแตกต่างกัน ประกอบกับปีนี้เหมือนวิกฤตอื่นๆ จะเข้ามาทดแทนโดยเฉพาะสงคราม และราคาพลังงาน ทำให้มีตัวแปรใหม่ๆ เกิดขึ้นจนโลกสดุดอีกครั้ง
ต้องยอมรับก่อนว่าเวลานี้หลายประเทศทั่วโลกกำลังโดนวิกฤตเงินเฟ้อเล่นงาน ต่อให้เป็นประเทศมหาอำนาจโลก หรือประเทศเกษตรกรรมเล็กๆ ต่างก็โดนกันถ้วนหน้า ซึ่งกระทบต่อการใช้ชีวิตของประชาชนอย่างรุนแรง
สถิติเงินเฟ้อพุ่งทำลายนิวไฮเดิมในรอบสิบปีหรือหลายสิบปี เช่น สหรัฐฯ ที่เงินเฟ้อเทียบแบบปีต่อปี (YoY) พุ่งถึง 9% มากที่สุดในรอบ 40 ปี ขณะตุรเคียที่ประเดิมเปลี่ยนชื่อประเทศใหม่จากตุรกี ก็เจอเงินเฟ้อถึง 73.5% สูงที่สุดในรอบ 23 ปี
ประเทศในกลุ่มยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ที่เป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก ก็เจอเงินเฟ้อเล่นงานเช่นกัน หนักถึงขั้นเกิดการประท้วงของประชาชนที่เรียกร้องให้รัฐบาลของประเทศเล่านี้จัดการแก้ปัญหา
ส่วนไทยที่มีการประกาศเงินเฟ้อเดินพฤษภาคม อยู่ที่ 7.10% สูงที่สุดในรอบ 14 ปี เมื่อเทียบช่วงเดียวกัน ขณะที่เงินเฟ้อแบบรายปีคาดว่าน่าจะอยู่ราวๆ 4.5% แต่นั่นก็เป็นเพียงการคาดการณ์ล่วงหน้า ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน
🔵 ราคาพลังงานพุ่ง อาหารแพง และสงครามดันเงินเฟ้อ
ก่อนที่จะรู้ว่าเงินเฟ้อช่วงนี้เป็นเพราะสาเหตุใด ต้องเข้าใจหลักการเกิดเงินเฟ้อกันก่อน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะมีสาเหตุมาจาก 2 ปัจจัยคือ
1
ความต้องการซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น (เรียกว่า Demand – Pull Inflation) แต่กลับไม่สามารถผลิตได้ตามความต้องการ เมื่อของในตลาดน้อย ก็ยิ่งต้องการสูง ยิ่งต้องการสูง ก็ยิ่งราคาแพง
ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น (เรียกว่า Cost – Push Inflation) จริงๆ ก็สอดคล้องกับความต้องการซื้อที่เพิ่ม แต่ผู้ผลิตไม่สามารถหามาตอบสนองความต้องการได้ทัน พอของน้อย ขาดตลาด ผู้ผลิตก็ต้องแบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้น เมื่อต้นทุนพุ่ง ราคาสินค้าและบริการก็พุ่งตามอัตโนมัติ
1
พูดง่ายๆ คือ คนมันต้องการของมากขึ้น แต่ไม่สามารถหามาสนองให้ได้ เมื่อหามาไม่ทันต่อความอยากได้ สุดท้ายมันก็ต้องแพงตามกลไกของตลาดการค้าเสรี
แต่ในปีนี้มีปัจจัยเรื่องของเราคาพลังงานมาเป็นตัวเร่ง เพราะต้องอย่าลืมว่าช่วง 2 ปีก่อนหน้าโลกแทบจะหยุดเดินทาง น้ำมันกลายเป็นสิ่งที่คนต้องการใช้ลดลง ราคาพลังงานทั้งน้ำมัน และแก๊สถูกลงจนน่าเหลือเชื่อ ทำให้ประเทศผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันรายใหญ่ๆ จำใจต้องลดกำลังการผลิตลง
เพราะตอนนั้นผลิตออกมาก็ไม่มีใครใช้ แถมถ้าผลิตมากไปก็ยิ่งส่งผลต่อราคาให้ร่วงลงหนักกว่าเดิมไปอีก ดังจะเห็นได้ว่ากลุ่มประเทศเหล่านี้แทบร้องกันระงม กระทบเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศที่พึ่งพาการส่งออกพลังงานเป็นหลัก
1
แต่ในวันที่โลกกับมาเคลื่อนไหวอีกครั้ง ความต้องการพลังพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จากการอัดอั้นมานาน มันกลายเป็นจังหวะการ “เอาคืน” ของประเทศบ่อน้ำมันทั้งหลายในกลุ่ม OPEC+ ที่จะต้องเร่งคืนทุนแบบทบต้นทบดอกให้เร็วที่สุด ฉะนั้นราคาน้ำมันจึงดีดขึ้นรุนแรงนับตั้งแต่ต้นปี 2022 ที่ผ่านมา แถมไม่ยอมเพิ่มกำลังการผลิตให้เท่ากับยุคก่อนโรคระบาด เพื่อรักษาระดับราคาให้สูงแบบนี้ต่อไปนั่นเอง
ยังไม่พอ...ความอยู่ดีไม่ว่าดีของมนุษย์ที่กระหายการทำสงคราม ส่งผลให้สถานการณ์ยิ่งแย่ลงไปอีก เมื่อสมรภูมิรบระหว่างยูเครนและรัสเซียปะทุขึ้นเมื่อต้นปีที่ผ่านมา หาก 2 ประเทศคู่ขัดแย้งไม่ใช่ประเทศที่มีอิทธิพลต่อยุทธศาสตร์การค้า และพลังงาน ก็คงจะไม่ส่งผลกระทบต่อโลกมาก แต่เนื่องจากทั้งรัสเซียและยูเครน มีความสำคัญต่อการโลกในฐานะประเทศผู้ผลิตน้ำมัน และสินค้าเกษตรรายใหญ่ ยิ่งทำให้สถานการณ์โลกแย่ลงตามไปอีก
รวมทั้งการแทรกแซง การรุมกินโต๊ะ การทำสงครามตัวแทนระหว่างชาติมหาอำนาจ และกลุ่มนาโต้ ที่ต้องการกดดันรัสเซียไม่ให้สามารถสร้างอิทธิพล ยิ่งเป็นการราดน้ำมันใส่กองไฟ ที่ต่อให้ประเทศอื่นๆ จะไม่ได้เข้าร่วมในความวุ่นวายนี้ แต่ก็ยังได้รับไอร้อนจากเปลวเพลิงที่สุมสาดใส่กันอยู่ดี
ดังนั้นปัจจัยด้านราคาพลังงานมีส่วนอย่างมากที่ผลักดันให้เงินเฟ้อสูง ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจควบคุมได้ โดยเฉพาะกับประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจกลางๆ แบบไทยที่ทำได้เต็มที่ก็เพียงลดผลกระทบแบบซ้ายทีขวาที ประคองๆ ไปแบบเจ็บๆ และหาทางดิ้นรนให้รอดไปในแต่ละช่วง
เพราะการพึ่งพาพลังงานที่ต้องนำเข้าสูงกว่า 90% เป็นอะไรที่ควบคุมได้ยาก ในสภาวะที่ไม่เหลือเงินในกองทุนน้ำมัน ที่เคยเป็นเครื่องมือในการรักษาระดับพลังงานเอาไว้ไม่ให้สวิงแรงแบบนี้
🔵 เมื่อเงินอัดฉีดช่วงโรคระบาดกลับมาเล่นงานเศรษฐกิจ
ในช่วงการระบาดใหญ่ หลายประเทศทั่วโลกรวมทั้งไทย มีความจำเป็นต้องหาเงินมาอัดฉีดเข้าสู่ระบบ เพื่อแก้ปัญหาด้านรายได้ให้กับประชาชนที่ต้องหยุดงานไป หรือชดเชยที่กิจการหลายแห่งต้องพักดำเนินธุรกิจ ไม่ก็ปิดตัวลง
แน่นอนว่าการทำสิ่งที่เรียกว่า Quantitative Tightening หรือเรียกสั้นๆ ติดปากว่าการทำ QT เป็นหนึ่งในช่องการที่รัฐบาลทุกประเทศจำเป็นต้องทำ ด้วยการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบด้วยเงินมหาศาลหลายแสนล้านหรือหลายล้านล้านดอลลาร์
1
1
ในสหรัฐฯ ธนาคารกลางหรือ FED ได้ทำ QT ด้วยมูลค่าสูงถึง 4.5 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งกรณีของมหาอำนาจอันดับ 1 ของโลกที่สามารถพิมพ์เงินเข้าสู่ระบบได้เองแบบไม่อั้นนั้น กลับไม่ใช่ข้อได้เปรียบอีกต่อไป เพราะเมื่อวันที่เศรษฐกิจกลับมาขับเคลื่อนได้อีกครั้ง เงินที่อยู่ในระบบเยอะเกินความจำเป็น จะส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อรุนแรง
ซึ่งถามว่า FED รู้หรือไม่ว่าสถานการณ์แบบนี้จะเกิดขึ้น คำตอบคือ รู้ ฉะนั้นการเดินเกมของ FED ยกที่ 2 คือ การประกาศปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายจาก 0,25% เป็น 0.50% นั่นเอง
ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าการขึ้นดอกเบี้ยถือเป็นความพยายามกดดันเงินเฟ้อไม่ให้พุ่งเกินจนกระทบต่อค่าเงิน เพราะก่อนที่ FED จะมีการประกาศรับดอกเบี้ย ค่าเงินดอลลาร์ต่อสกุลเงินอื่นๆ นั้นไม่ได้แข็งโป๊กขนาดนี้ เพราะนักลงทุนมองว่า การเข้าซื้อสินทรัพย์เสี่ยงอื่นๆ เช่น หุ้น กองทุน น้ำมัน และคริปโตเคอเรนซี ให้ผลตอบแทนที่สูงการถือเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ
อีกทั้งตลาดทุนในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่แถบเอเชีย ก็มีความน่าดึงดูดเม็ดเงินลงทุนต่างชาติมากกว่า ซึ่งเมื่อช่วงปลายปีที่แล้วเงินบาทไทยเคยแข็งค่าถึง 29 บาทต่อดอลลาร์มาแล้ว
แต่เมื่อ FED สงสัญญาณประกาศขึ้นดอกเบี้ยปุ๊บ ทุนก็ได้ไหลออกจากสินทรัพย์เสี่ยง หรือตลาดทุนตลาดเงินในต่างประเทศ กลับไปที่เงินดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อถือพันธบัตรรัฐบาลแทน ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นมา
ผลที่ตามมาคือหุ้นร่วงกันระนาวทั้งกระดานทั่วโลก แม้แต่ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ เช่นกัน
หลายคนถามต่อว่า ในเมื่อดอลลาร์แข็งจากการขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย คนอเมริกันก็มีอำนาจจับจ่ายมากขึ้นสิ?
1
ในความเป็นจริงแล้วกลับตรงกันข้าม เพราะคำว่า “ขึ้นดอกเบี้ย” เท่ากับว่าอะไรๆ ก็จะแพงขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะหนี้สินต่างๆ ที่เกิดจากการจับจ่าย การผ่อนสินค้าและบริการที่พุ่งขึ้นอย่างมาก
ดอกเบี้ยบ้าน ดอกเบี้ยบัตรเครดิต ดอกเบี้ยสินเชื่อ หรือแม้แต่ดอกเบี้ยจากกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา ต่างปรับขึ้น 2-7% สร้างภาระกดดันเรื่องค่าครองชีพให้กับพลเมืองมากขึ้นไปอีก
ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าต่อให้ค่าเงินแข็งค่า ดูเหมือนว่ามีกำลังจับจ่ายเพิ่มก็จริง แต่ค่าครองชีพก็ขึ้นตามไปเป็นเงาตามตัว ทำให้เกิดสภาวะคนไม่มีจะกิน ไม่มีจะผ่อน ไม่มีจะจ่ายสูงขึ้นในสหรัฐฯ และยังคงผลักดันให้เงินเฟ้อยังคงพุ่งต่อไป
🔵 ต่อให้น้ำมันโลกลด แต่น้ำมันไทยก็ยังไม่ลด เพราะ...
กลับมาที่ประเทศไทย ทุกคนคงถามว่า ในเมื่อราคาพลังงานเป็นปัจจัยหลักที่สร้างผลกระทบต่อราคาสินค้า อาหาร และอื่นๆ ให้พุ่งสูงขึ้น ถ้าสมมุติว่า วันดีคืนดีราคาพลังงานโลกลงพรวดพราดขึ้นมาจะมีโอกาสที่ราคาน้ำมัน ราคาแก๊ส และเงินเฟ้อจะลดลงหรือไม่
คำตอบคือ...ไม่ สาเหตุก็เพราะว่า กองทุนน้ำมันที่ติดลบนับหมื่นล้านจากการเอาเงินก้อนนี้ออกมาพยุงเศรษฐกิจไปก่อนหน้านี้ จะต้องกลับมาเก็บเงินเข้ากองทุนฯ เพื่อชดเชยการขาดทุนที่หายไป ดังนั้นน้ำมันจะไม่ลงทุนทีทันใดแน่นอน แต่จะค่อยๆ ลดลงตามลำดับ ซึ่งจะใช้เวลานานเป็นสัปดาห์ หรือเป็นเดือน
และถ้าหากจู่ๆ ราคาพลังงานในตลาดโลกพุ่งขึ้นมาอีกรอบ ราคาน้ำมันก็จะแพงต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ซึ่งล่าสุดซาอุดิอาระเบีย ส่งสัญญาณเรื่องการขึ้นราคาน้ำมันในเดือนกรกฎาคมแล้ว
โดยบริษัท ซาอุดีอารามโค บริษัทน้ำมันรายใหญ่ของโลก ได้ประกาศราคาน้ำมันดิบขึ้นอีกเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา โดยเป็นการปรับราคาสำหรับการจำหน่ายให้ผู้ค้าในเอเชีย จากเดิมที่สัญญาในเดือนมิถุนายนคือ 2.10 ดอลลาร์ สู่ระดับ 6.50 ดอลลาร์ในเดือนกรกฎาคม
การเพิ่มขึ้นของราคาตามการตัดสินใจเมื่อสัปดาห์ที่แล้วโดยองค์กรของประเทศผู้ส่งออกปิโตรเลียมและพันธมิตรร่วมกันหรือ OPEC + เพื่อเพิ่มผลผลิตในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมโดย 648,000 บาร์เรลต่อวันหรือ 50% มากกว่าที่วางแผนไว้ก่อนหน้านี้
ก็คงต้องจับตาดูกันต่อไปว่าราคาน้ำมันจะไปสุดที่ตรงไหน เพราะสุดท้ายราคาพลังงานเป็นปัจจัยสำคัญที่ชี้ชะตาผู้คนว่าโลกจะต้องอยู่ในยุคข้ามยากหมากแพงไม่อีกนานเท่าไหร่นั่นเอง
╔═══════════╗
ไม่พลาดบทความสาระดีๆ ที่ Reporter Journey ตั้งใจสร้างสรรเพื่อผู้ติดตามทุกท่าน อย่าลืมกดติดตามเพจ ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
╚═══════════╝
.
ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
Website :
reporter-journey.com
Blockdit :
blockdit.com/reporterjourney
Facebook :
facebook.com/reporterjourney
Tiktok :
tiktok.com/@reporterjourney
Line : @reporterjourney
16 บันทึก
16
1
15
16
16
1
15
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย