นอกจากนี้ในช่วงอายุ 18 - 25 ปี ยังเป็นช่วงอายุแห่งการค้นหาตัวตนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติของความรัก ความเป็นไปได้ และการเปลี่ยนแปลง ขณะที่อายุ 12 - 18 ปี เป็นช่วงอายุแห่งการค้นหาอัตลักษณ์ของตนเอง สอดคล้องกับพฤติกรรมการบริโภคของกลุ่ม Gen Z ซึ่งมักจะเลือกสนับสนุนแบรนด์ที่มีความเชื่อและวิสัยทัศน์ที่ตรงกับตน
ด้วยลักษณะเหล่านี้เองที่ส่งผลให้ Gen Z เป็นกลุ่มสำคัญที่เข้ามามีบทบาทในประเด็นเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศในหลายมิติ
• มิติด้านสังคมและคุณค่าที่ส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังมิติด้านการเมืองและกฎหมาย: คน Gen Z และ Y เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการผลักดันให้เกิดข้อเรียกร้องเกี่ยวกับความเท่าเทียมกันทางเพศ การสมรสเท่าเทียม และใช้แพลตฟอร์มสังคมออนไลน์เพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมืองผ่านความคิดสร้างสรรค์และความตระหนักรู้เรื่องการตลาดไวรัลมากที่สุด
• มิติด้านเศรษฐกิจ: คน Gen Z ที่ลุกขึ้นมาทำธุรกิจของตัวเองเป็นกลุ่มที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเศรษฐกิจสีชมพู หรือเศรษฐกิจสีรุ้ง ที่เจาะกลุ่มลูกค้า LGBTQ+ เพื่อสร้างยอดขายให้สินค้าและบริการ
• มิติด้านการพัฒนาเมืองและการดำรงชีวิต: คน Gen Z ไม่ได้พอใจกับเมืองที่ให้ความจำกัดความแค่เพศชายหรือหญิงอีกต่อไป พวกเขากำลังต้องการเมืองที่มีความหลากหลายทางเพศ
- การเปิดกว้างอย่างมีอิสระเรื่องความหลากหลายทางเพศจะที่เป็นค่านิยมที่ Gen Z ยึดถือและส่งต่อไปสู่รุ่นถัดไปอย่าง Gen Alpha และรุ่นถัดไป ให้ความสำคัญกับความเข้าอกเข้าใจ ความเชื่อใจ และข้อตกลงในความสัมพันธ์ของกันและกัน
- การเคลื่อนไหวเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมของคน Gen Z จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากคนรุ่นก่อน เช่น Gen Y ซึ่งเป็นรุ่นที่ใกล้เคียงกันและยึดถือคุณค่าหลายอย่างร่วมกันแต่มีประสบการณ์ชีวิตมากกว่า และคน Gen X ที่โดยรวมมีความมั่นคงทางสังคมสูงและสามารถเป็นแบบอย่างในชีวิตให้เยาวชนได้