7 มิ.ย. 2022 เวลา 13:12 • สุขภาพ
ไตเป็นอวัยวะหนึ่งที่สำคัญมากกับร่างกาย ทำหน้าที่ขับของเสียออกจากร่างกาย ดังนั้นการดูแลไตจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่เราต้องให้ความสำคัญ เพื่อที่ไตจะได้คงสภาพการทำงานต่อไปได้  หากไตมีปัญหาจะทำให้ประสิทธิภาพในการขับของเสียลดลง ทำให้เกิดอาการตัวบวม และในที่สุดจะทำให้เกิดไตวาย หรือภาวะไตล้มเหลวได้
อาการโรคไตระยะเริ่มต้น
ผู้ที่เริ่มมีอาการของโรคไต ในช่วงแรกแทบไม่มีสัญญาณเตือน โดยอาการมักจะปรากฏในช่วงระยะท้ายๆ เนื่องจากไตได้รับความเสียหายไปมากแล้ว ทั้งนี้ผู้ป่วยโรคไตมักจะมีอาการต่างๆ เหล่านี้
  • ปัสสาวะเป็นเลือด ปกติแล้วปัสสาวะจะมีสีเหลืองอ่อนจนถึงสีเหลืองเข้ม ขึ้นอยู่กับปริมาณการดื่มน้ำในขณะนั้น แต่ถ้าพบว่าปัสสาวะมีเลือดปน อาจจะเกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ นิ่วในทางเดินปัสสาวะ หรืออาจเกิดเนื้องอกในทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น
  • ปัสสาวะเป็นฟอง เกิดจากการมีโปรตีนไข่ขาวรั่วออกมาในปัสสาวะ ซึ่งมักเป็นอาการของภาวะโรคไตเรื้อรัง
  • ปัสสาวะกลางคืนบ่อยกว่าปกติ ผู้ที่ไตมีความผิดปกติ เช่น โรคไตเรื้อรัง ไตจะไม่สามารถดูดน้ำกลับเก็บในกระเพาะปัสสาวะได้ปกติ จึงทำให้ต้องปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ
  • ปัสสาวะกลางคืนบ่อยกว่าปกติ ผู้ที่ไตมีความผิดปกติ เช่น โรคไตเรื้อรัง ไตจะไม่สามารถดูดน้ำกลับเก็บในกระเพาะปัสสาวะได้ปกติ จึงทำให้ต้องปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ
  • มีอาการบวมของหน้าและเท้า
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ขาดสมาธิ
  • บางรายน้ำหนักลด แต่บางรายผู้ป่วยอาจจะตัวบวม น้ำหนักขึ้นก็ได้
  • คลำพบก้อนเนื้อ บริเวณไต
  • ผิวหนังจะซีด คัน มีจ้ำเลือดขึ้นง่าย
  • เบื่ออาหาร คลื่นไส้
  • ปากขม ไม่สามารถรับรสอาหารได้
หากมีอาการดังกล่าว ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด  เพื่อรับการรักษาอย่างทันท่วงทีและป้องกันไม่ให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรัง
อาหารที่ผู้ป่วยโรคไตควรรับประทาน
ดูแลสุขภาพไตให้แข็งแรงโดยเน้นการรับประทานอาหารเหล่านี้
  • 1.
    เนื้อสัตว์ ควรรับประทานจำพวกปลาทะเลน้ำลึกที่มีไขมันต่ำและโอเมก้า3 หรือเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน
  • 2.
    ไข่ขาววันละ 2-3 ฟอง
  • 3.
    เลือกใช้น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันคาโนล่า และน้ำมันมะกอกแทน
  • 4.
    รับประทานผลไม้ที่มีโพแทสเซียม ผักและผลไม้ที่มีสีอ่อน เช่น แอปเปิ้ล องุ่น ชมพู่ แตงกวา เป็นต้น
  • 5.
    ดื่มน้ำเปล่าหรือน้ำสมุนไพรไม่หวานจัด เช่น น้ำใบเตย น้ำอัญชัน เป็นต้น
  • 6.
    ใช้วิธีการย่าง ต้ม และอบแทนวิธีการทอด
📍อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับผู้ป่วยโรคไต
สำหรับผู้ป่วยโรคไต นอกจากการหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเค็มแล้ว ควรหลีกเลี่ยงอาหารดังนี้
  • อาหารที่มีโซเดียมและอาหารที่มีรสเค็มเช่นผงชูรส ผงปรุงรส และซอสต่าง ๆ
  • อาหารหมักดอง เช่น ปลาร้า ผักกาดดอง
  • เนื้อสัตว์ปรุงรสหรืออาหารแปรรูป  เช่น ไส้กรอก หมูยอ เบคอน
  • อาหารกระป๋อง เช่น อาหารกึ่งสำเร็จรูปผลไม้กระป๋องปลากระป๋องเป็นต้นเพราะอาหารพวกนี้จะใส่อาหารสารกันบูดและมีปริมาณโซเดียมสูงมาก
  • อาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูงจากไขมันอิ่มตัวของพืชและสัตว์ เช่น กะทิ ไข่แดง หมูสามชั้น
  • อาหารที่มีส่วนผสมของเนยและครีม เช่น เค้ก คุกกี้ ขนมปัง รวมถึงของหวาน ขนมที่ใส่กะทิ
  • เนื้อสัตว์ติดมัน
อ้างอิง รพ.ศิครินทร์
โฆษณา