Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Reporter Journey
•
ติดตาม
9 มิ.ย. 2022 เวลา 06:45 • ข่าวรอบโลก
เมื่อเงินกีบลาวเฟ้อหนักเป็นอันดับ 6 ของโลก
ม.จอนส์ ฮอปกินส์ จัดให้อยู่ในระดับขยะ แทบไร้มูลค่า
เรียนรู้ปัจจัยที่ทำให้ประเทศเพื่อนบ้านมาถึงจุดนี้
11
ใครที่ติดตามข่าวสารด้านเศรษฐกิจและต่างประเทศอย่างต่อเนื่องคงจะทราบเป็นอย่างดีว่า ประเทศเพื่อนบ้านข้ามฝั่งแม่น้ำโขงอย่าง สปป.ลาว กำลังเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจ ทั้งเงินเฟ้อสูงจนค่าเงินกีบแทบด้อยค่า และการขาดแคลนพลังงานอย่างรุนแรง
2
ข้อมูลจากธนาคารแห่ง สปป.ลาว ระบุว่า อัตราเงินเฟ้อของ สปป.ลาว ในเดือนพฤษภาคม 2565 พุ่งแตะระดับร้อยละ 12.8 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 15 ปี โดยปัจจัยหลักมาจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์หลัก เช่น น้ำมัน และสินค้านำเข้าต่างๆ ซึ่งลาวเป็นประเทศที่พึ่งพอการนำเข้าสูงมากกว่าส่งออก
6
ค่าเงินกีบเคยอยู่ที่ระดับ 350 กีบ ต่อ 1 บาท เมื่อเดือนเมษายน ขณะที่ปัจจุบันค่าเงินกีบอ่อนค่าลงอย่างมากโดย ณ วันที่ 9 มิถุนายน อยู่ที่ 415 กีบ ต่อ 1 บาท และเคยอ่อนค่าหนักสุดเกือบถึง 500 กีบ ต่อ 1 บาทมาแล้วเมื่อเดือนพฤษภาคม
7
ด้านมหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอปกินส์ สถาบันที่ได้รับการอ้างอิงข้อมูลด้านสถิติ และงานวิจัยที่น่าเชื่อถือมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ได้เปิดเผยระดับอัตราเงินเฟ้อของประเทศต่างๆ พบว่า ประเทศลาวติดอันดับ 6 ประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อสูง ซึ่ง Steve Hanke ศาสตราจาร์ด้านเศรษฐศาสตร์ชื่อดังของโลกระบุว่า เงินกีบเฟ้อหนักเข้าขั้นระดับขยะ (Junk Currency) แล้ว
9
ซึ่งสะท้อนว่าเงินกีบของลาวนั้นเฟ้อหนักจนแทบจะไร้มูลค่าต่ออัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ แทบไม่ต่างอะไรกับเศษกระดาษ เกาะกลุ่มเดียวกับประเทศที่เผชิญกับสภาวะเงินเฟ้อรุนแรง จนเกิดวิกฤตล้มละลายแทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นซิมบับเว เลบานอน ศรีลังกา ตุรกี และเวเนซุเอลา
7
ซึ่งเงินกีบเฟ้อขึ้นมาถึง 59% จากเดือนพฤษภาคม สูงระดับ 9.86%
1
เงินเฟ้อสูงของประเทศลาวนับเป็นระเบิดเวลาที่รอวันจุดชนวน จากปัญหาด้านโครงสร้างการบริหารประเทศที่ผิดพลาดมาอย่างยาวนาน
Steve Hanke ศาสตราจาร์ด้านเศรษฐศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอปกินส์ จัดอันดับให้สกุลเงินที่เกิดการเฟ้อระดับรุนแรงว่า "Crush Inflation" หรือเงินเฟ้อระดับขยะ (Junk Currency) ซึ่งมีความหมายคือ เงินเฟ้อสูงจนแทบไม่มีมูลค่านั่นเอง
ประเทศลาวเพิ่งพาการนำเข้าสูงมาก ทุกอย่างที่ผู้คนจำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวันตั้งแต่ไม้จิ้มฟันยันรถยนต์ ต้องนำเข้าจากต่างประเทศทั้งหมด
5
ใครที่ไปประเทศลาวจะพอนึกภาพออกว่า ชั้นวางของในร้านค้าจะเต็มไปด้วยสินค้าที่มาจากประเทศเพื่อนบ้านไม่ว่าจะเป็นสินค้าจากจีน เวียดนาม และไทย ซึ่งทำให้ประเทศลาวขาดดุลการค้ามหาศาลต่อเนื่องตลอดหลายปีโดยเฉพาะกับประเทศไทย เนื่องจากลาวนำเข้าสินค้าจากไทยถึง 70% ซึ่งล้วนแต่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภคจำเป็นต่อการดำรงชีวิตทั้งสิ้น
6
โดยเมื่อปี 2020 ลาวขาดดุลการค้ากับไทยถึง 15,000 ล้านบาท ส่วนปี 2018 ขาดดุลสูงกว่าถึง 55,000 ล้านบาท และหากนับย้อนหลังไป 10 ปี ลาวขาดดุลการค้าสะสมกับไทยกว่า 340,000 ล้านบาท
7
การขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่องสะสมเป็นเวลานาน ทำให้ลาวเกิดปัญหาความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เนื่องจากลาวไม่สามารถส่งออกให้เกิดความสมดุล หรือเกินดุลการค้าเพื่อชดเชยเงินตราที่ไหลออกไปยังต่างประเทศได้
7
อีกทั้งเมื่อค่าเงินกีบของลาวที่มีความไม่เสถียรและผูกติดกับตลาดเงินของประเทศเพื่อบ้านไม่ว่าจะเป็นเงินหยวน และเงินบาท ทำให้เมื่อถึงช่วงที่ค่าเงินทั้งสองอ่อนค่าลงหลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ FED ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็น 0.50% เมื่อเดือนพฤษภาคม เงินกีบก็พลอยได้รับผลกระทบไปด้วยนั่นเอง
6
🔵 หนี้สาธารณะรัดคอ แถมเจอหมัดน๊อคพลังงานแพง
1
ด้วยการที่ประเทศลาวมีเศรฐกิจขนาดเพียง 19,132 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 660,178 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเล็กมากเมื่อเทียบกับขนาดเศรษฐกิจไทยที่ 17 ล้านล้านบาท
9
ฉะนั้นประเทศลาวต้องพึ่งพาเงินกู้เพื่อการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ และใช้เพื่อเสริมสภาพคล่องทางการคลังของประเทศ อันนำมาซึ่งการก่อหนี้สาธารณะ
2
สำหรับหนี้สาธารณะของลาวปัจจุบันอยู่ 460,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนหนี้จีดีพีสูงถึง 90% และหนี้ส่วนใหญ่ของลาว เป็นหนี้ในสกุลเงินต่างประเทศ โดยเจ้าหนี้รายใหญ่ของลาวคือประเทศจีน
5
แม้ดูเหมือนว่าการกู้ยืมของลาวจะนำเงินมาเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศก็จริง แต่โครงการส่วนใหญ่แล้วกลับสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกลับคืนแก่ประเทศได้น้อยมาก
10
เช่น โครงการก่อสร้างเขื่อนต่างตลอดลำน้ำโขงและแม่น้ำสาขา โดยมีการสร้างโฆษณาชวนเชื่อว่าจะทำให้ลาวเป็นแบตเตอรี่ของเอเชีย และสร้างรายได้ให้กับประเทศลาวอย่างมหาศาล เพราะใครๆ ที่อยู่รอบประเทศลาวจะต้องซื้อไฟฟ้าจากลาวเช่นประเทศไทย และเวียดนาม
5
แต่ในความเป็นจริงแล้วกลับตรงกันข้าม เพราะลาวยังคงต้องให้สัมปทานบริษัทผู้ผลิตพลังงานจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนอยู่ดี ซึ่งที่เห็นได้ชัดเลยคือ โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำจากผู้ประกอบการไทยมีถึง 11 แห่ง จาก 46 โครงการ
7
ทั้งของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ.บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ EGCO (เอ็กโก กรุ๊ป) บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) และเอกชนรายอื่นๆ
4
ก่อนหน้านี้เคยมีการรายงานข่าวว่า บริษัท ผลิตไฟฟ้า-ลาว มหาชน (อีดีแอล) ติดหนี้ค่าไฟฟ้ากับผู้ผลิตไทยมูลค่ารวมๆ กันแล้วนับหมื่นล้านบาท ซึ่งได้มีความพยายามตกลงหาทางออกเพื่อที่จะไม่ใช้หนี้เป็นเงินสกุลบาทหรือดอลลาร์ และขอจ่ายในสกุลเงินกีบแทน ซึ่งทางผู้ประกอบการไทยก็ยังไม่มีการตอบตกลง เพราะด้วยเงินกีบไม่ได้มีมูลค่ามากเพียงพอต่อการชำระหนี้ต่างประเทศ
12
อีกหนึ่งหนี้ก้อนโตเกินตัวของลาวคือโครงการรถไฟลาว - จีน ที่เพิ่งเปิดให้บริการได้ไม่นานมานาน ที่เป็นโครงการตามนโยบายแผนริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางหรือ Belt and Road Initiative หรือเรียกสั้น ๆ ว่า BRI ของจีน ที่ต้องการเชื่อมโยงการค้าระหว่างจีนและภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งในแถบลุ่มแม่น้ำโขง
7
ด้วยมูลค่าโครงการที่สูงถึง 5,986 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือกว่า 200,000 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นเงินลงทุนจากรัฐบาลลาว 40% ที่เป็นการกู้ธนาคารจีนมาลงทุน และ 60% เป็นเงินกู้จากธนาคารส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศจีน
11
ฉะนั้นโครงการนี้เป็นการกู้มาสร้างเกือบ 100% โดยมีเจ้าหนี้ใหญ่คือจีนเช่นเคย
5
ซึ่งมูลค่าโครงการนี้ก็นับว่าสูงอย่างมากคิดเป็นเกือบ 2 ใน 4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ และมีความเสี่ยงที่ลาวจะผิดนัดชำระหนี้
4
และวิกฤตซ้ำเติมเงินเฟ้อในลาวคือปัจจัยด้านราคาพลังงานที่พุ่งสูงไม่พอยังขาดแคลนอย่างหนัก เนื่องจากลาวเป็นประเทศที่ถูกล็อกทุกด้านจากประเทศเพื่อนบ้าน การนำเข้าน้ำมันส่วนใหญ่ต้องส่งจากไทย 90%
7
สัญญาณการขาดแคลนพลังงานในประเทศลาวส่อเค้าลางมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ที่เริ่มมีการยุติกิจการสถานีบริการน้ำมันอย่างต่อเนื่อง จากปัญหาคือไม่มีน้ำมันเพียงพอจะจำหน่าย
4
แต่สถานการณ์มาวิกฤตช่วงที่เกิดสงครามระหว่างยูเครนและรัสเซีย ที่ส่งผลทำให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงอย่างรุนแรง แถมยังขาดแคลนเนื่องจากน้ำมันของรัสเซียถูกแบนและหายไปจากระบบหลายล้านบาเรลต่อวัน
5
สิ่งที่เกิดขึ้นส่งผลทำให้ประเทศลาวที่ค่อนข้างจะไม่มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมาก่อนหน้านี้อยู่แล้ว ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดที่ไม่สามารถหาเงินตราเข้าประเทศจากการท่องเที่ยวได้ ก็เลยยิ่งทำให้ลาวไม่มีเงินตราต่างสกุลต่างประเทศเช่นดอลลาร์ หรือบาทจะซื้อน้ำมันมาจำหน่ายอย่างเพียงพอ เพราะเงินกีบไม่มีมูลค่ามากเพียงพอที่ใครจะกล้ารับซื้อรับแลกนั่นเอง
5
🔵 วิกฤตในลาว แต่ไม่ลุกลามมาไทย
หลายคนคงกลัวว่าวิกฤตของลาวในครั้งนี้ อาจจะลุกลามเข้ามากระทบกับเศรษฐกิจของไทย ฉะนั้นจะขออธิบายดังนี้ ต้องบอกก่อนว่า ค่าเงินกีบของลาวมีอิทธิพลน้อย หรือแทบไม่มีเลยในตลาดเงินโลก เนื่องจากเงินกีบส่วนใหญ่ก็ใช้จ่ายกันภายในประเทศลาวเป็นหลัก ซึ่งต่างจากเงินบาท เงินหยวน ที่เหมือนเป็นเงินที่ได้รับความน่าเชื่อถือในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ
7
สอดคล้องกับทางสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ กล่าวว่า กรณีปัญหาเงินเฟ้อใน สปป.ลาว ไม่น่าจะกระทบไทยมากนัก เนื่องจากสินค้าส่วนใหญ่ที่มีความเกี่ยวข้องจะเป็นพวกสินค้าอุปโภคและบริโภคที่ส่งไปจำหน่ายใน สปป.ลาว
4
อีกทั้งเงินบาทยังเป็นที่ต้องการถือของคนลาว ฉะนั้นค่าเงินบาทที่มีมูลค่าสูงกว่า มีเสถียรภาพมากกว่า จึงมีภูมิคุ้มกันเหนือกว่าเงินกีบ อาจจะมีบ้างเรื่องการค้าชายแดนที่จะซบเซา เพราะกำลังซื้อคนลาวที่ลดลง แต่ไม่มีทางกระทบกับภาพรวมของเศรษฐกิจไทยได้อย่างแน่นอน
1
นี่เป็นเพียงปัจจัยบางส่วนเท่านั้นที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของลาวในตอนนี้ ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งหากมีโอกาสจะเขียนให้ได้อ่านในบทความต่อๆ ไป
2
╔═══════════╗
ไม่พลาดบทความสาระดีๆ ที่ Reporter Journey ตั้งใจสร้างสรรเพื่อผู้ติดตามทุกท่าน อย่าลืมกดติดตามเพจ ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
╚═══════════╝
.
ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
Website :
reporter-journey.com
Blockdit :
blockdit.com/reporterjourney
Facebook :
facebook.com/reporterjourney
Tiktok :
tiktok.com/@reporterjourney
Line : @reporterjourney
3
121 บันทึก
86
13
269
121
86
13
269
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย