12 มิ.ย. 2022 เวลา 05:00 • ธุรกิจ
ช่องทางการจำหน่ายผลไม้ระดับพรีเมียมในจีน
ปี 2564 มูลค่าการบริโภคผลไม้ในตลาดจีน 1.23 ล้านล้านหยวน (6.15 ล้านล้านบาท) เติบโต 8.2% สำหรับมูลค่าบริโภคผลไม้ระดับพรีเมียมอยู่ที่ 2.85 แลนล้านหยวน ( 1.425 ล้านล้านบาท) ตลาดค้าปลีกผลไม้ระดับพรีเมียมของจีน
แบรนด์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด 3 แบรนด์ ประกอบด้วย Pagoda ทางภาคใต้, Hongjiu Fruit ทางภาคตะวันตก, Xianfeng Fruit ทางภาคเหนือ การแย่งชิงแบรนด์ "ราชาผลไม้" ระหว่าง 3 แบรนด์ดังกล่าวในตลาดจีนก็ไม่เคยหยุดนิ่งและมีความพยายามในการแข่งขันอย่างต่อเนื่อง
เมื่อวันที่ 29 เมษายน บริษัท Chongqing Hongjiu Fruit Co., Ltd. ยื่นหนังสือชี้ชวนต่อตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงเป็นครั้งที่ 2 หลังผ่านไป 3 วัน เมื่อในวันที่ 2 พฤษภาคม 2565 บริษัท Shenzhen Pagoda Industrial (Group) Co., Ltd. ก็ยื่นหนังสือชี้ชวนต่อตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงอีกรอบ
ถึงปัจจุบัน ประเทศจีนยังไม่เคยมีบริษัทผลไม้ประสบความสำเร็จในการเข้าตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้การยื่นหนังสือชี้ชวนต่อตลาดหลักทรัพย์ของบริษัท 2 รายดังกล่าวทำให้ตลาดธุรกิจผลไม้สดของจีนกลายเป็นตลาดที่น่าจับตามอง
บริษัท Hongjiu Fruit เป็นผู้จัดจำหน่ายใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของจีน ส่วนแบ่งตลาดผลไม้จีนคิดเป็น 1.0% และได้สร้างแบรนด์ผลไม้ของตัวเองจำนวน 18 ชนิด รวมทั้งยังเป็นผู้จัดจำหน่ายทุเรียนใหญ่ที่สุดของจีน
เมื่อปี 2564 มีรายได้ทั้งหมด 1.02 หมื่นล้านหยวน ( 5.1 หมื่นล้านบาท) ชนิดผลไม้ที่สำคัญของบริษัทคือ ทุเรียน มังคุด ลำไย แก้วมังกร เชอร์รี่ และองุ่น โดยเน้นการนำเข้าและจำหน่ายผลไม้ต่างประเทศระดับพรีเมียมเป็นหลัก
บริษัท Pagoda เป็นผู้ขายปลีกผลไม้อันดับหนึ่งของจีน มีเครือข่ายค้าปลีกออฟไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในแวดวงธุรกิจผลไม้ของจีน ประกอบด้วยร้านจำหน่ายผลไม้ที่เป็น Chain Store จำนวน 5,351 ร้านกระจายอยู่เมือง 130 แห่ง
มีสมาชิกมากว่า 6,700 ราย สมาชิกพวกนี้ได้ส่งเสริมยอดจำหน่ายในแต่ละปีสูงถึง 60 ล้านหยวน (300 ล้านบาท) เมื่อปี 2564 มีรายได้ทั้งหมด 1.02 หมื่นล้านหยวน( 5.1 หมื่นล้านบาท) ชนิดผลไม้ที่จำหน่ายสำคัญของบริษัทคือ ทุเรียน มังคุด ลำไย แก้วมังกร เชอร์รี่ องุ่น แตงโม บลูเบอร์รี่ มะพร้าว อะโวคาโด ส้ม เป็นต้น โดยผลไม้ที่จำหน่ายส่วนมากเป็นแบรนด์ของบริษัทเอง
บริษัท Xianfeng Fruit หนึ่งในบริษัทจำหน่ายผลไม้ที่เป็น chain store ที่มีชื่อเสียงของจีน ประกอบด้วยร้านจำหน่ายผลไม้ที่เป็น Chain Store จำนวน 2,400 ร้าน กระจายอยู่เมืองที่มีรายได้สูงของจีนหลายแห่ง และมีแบรนด์ร้านจำหน่ายผลไม้หลายแบรนด์ อาทิ K Fruit , fruit wharf, fresh fruit wharf, yangguopu เป็นต้น
ชนิดผลไม้ที่จำหน่ายสำคัญของบริษัทคือ ทุเรียน มังคุด องุ่น แตงโม บลูเบอร์รี่ มะพร้าว อะโวคาโด แอปเปิล ฯลฯ
ตลาดธุรกิจผลไม้ของจีนกำลังอยู่สถานการณ์ที่มีชนิดผลไม้เป็นจำนวนมาก แต่ไร้การสร้างแบรนด์ ปัจจุบัน บริษัทค้าปลีกผลไม้ยักษ์ใหญ่ 3 รายดังกล่าวของจีน มีการสร้างแบรนด์ให้กับผลไม้ของบริษัท ซึ่งเป็นการสร้างมาตรฐานให้กับสินค้าผลไม้ และสร้างรายได้ อาทิ บริษัท Hongjiu Fruit มีรายได้จากสินค้าที่เป็นแบรนด์ของตนเองคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 70
หากบริษัทจำหน่ายผลไม้สามารถเข้าตลาดหลักทรัพย์ จะส่งเสริมให้ธุรกิจของบริษัทมีการขยายตัวมากขึ้น รวมถึงส่งเสริมการพัฒนาของแวดวงธุรกิจผลไม้ด้วย
ตลาดจีนเป็นตลาดที่บริโภคผลไม้เป็นจำนวนมาก หลายปีที่ผ่านมา ผู้บริโภคยินดีใช้จ่ายกับผลไม้ระดับพรีเมียมรวมถึงผลไม้นำเข้าเพิ่มขึ้น จึงทำให้ความต้องการผลไม้นำเข้าระดับพรีเมียมเติบโตสูงกว่าผลไม้ทั่วไปในจีน เมื่อปี 2564 มูลค่าการนำเข้าผลไม้ของจีนสูงถึง 85,588 ล้านหยวน (427,940 ล้านบาท) เติบโต 30.9% เมื่อเทียบกับปี 2563
ชนิดผลไม้ที่นำเข้าอยู่ใน 8 อันดับแรก ได้แก่ ทุเรียน เชอร์รี่ กล้วย มังคุด ลำไย กีวี องุ่น และแก้วมังกร ในนั้น ทุเรียนเป็นชนิดผลไม้นำเข้าที่มีมูลค่ามากที่สุด ซึ่งอยู่ที่ 26,750 ล้านหยวน (133,750 ล้านบาท) เติบโต 82.4% โดยนำเข้าจากประเทศไทยทั้งหมด
จากสถานการณ์การจำหน่ายผลไม้ไทยในตลาดจีน ผลไม้ไทยมีการค้าปลีกผ่านทางออนไลน์และผ่านร้านจำหน่ายผลไม้โดยเฉพาะ ซูเปอร์มาร์เก็ต และตลาดทางออนไลน์ ถ้าพูดถึงทุเรียนไทย ผู้บริโภคจีนส่วนมากจะนึกถึง หมอนทอง ชะนี ซึ่งเป็นสายพันธุ์ทุเรียน ไม่ใช้แบรนด์ทุเรียน
ดังนั้นสะท้อนให้เห็นว่า ผลไม้ไทยยังขาดการสร้างแบรนด์ในตลาดจีน หากทุเรียนไทยสามารถสร้างแบรนด์จากเมืองไทย เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจในด้านคุณภาพและมีระบบการตรวจสอบย้อนกลับ จะเป็นโอกาสส่งเสริมจำหน่ายผลไม้ไทยในตลาดจีนไทย เพื่อได้สร้างการรู้จักกับผู้บริโภคจีน สร้างมูลค่าเพิ่มต่อผลไม้และสร้างภาพลักษณ์กับผลไม้ไทยในระยะยาว
โฆษณา