9 มิ.ย. 2022 เวลา 10:38 • ธุรกิจ
คุณเคยประสบปัญหาการทำธุรกิจไปไม่ถึงฝันไหม
ลองมาดูกลเม็ดเคล็ดลับดีดี 150 ข้อที่จะช่วยพาธุรกิจของคุณให้เติบโตแบบพุ่งทะยานอย่างยั่งยืน
1. SME มีปัญหาเหมือนกันทั่วโลก ส่วนใหญ่คือเจ๊งมากกว่ารอด ปีแรกหายไป 60% และเมื่อผ่านไป 5 ปีจะเหลือแค่ 10-15% เท่านนั้น โอกาสที่จะยู่ถึง 5 ปี ขึ้นไปมี 10% เท่านั้นเอง และตัวเลขของประเทศไทยต่ำกว่านั้นอีก
2. คนทำธุรกิจส่วนใหญ่ไปไม่รอดด้วย 3 สาเหตุ คือ 1. สินค้าและบริการไม่ดีพอ 2. ระบบการทำงานไม่ดี 3. เจ้าของกิจการไม่มีวินัยในตัวเอง
3. เจ้าของกิจการต้องเรียนรู้ให้มากและมีวินัยให้มาก เพราะหากเราไม่พัฒนาและขวนขวาย เมื่อธุรกิจทำไปเรื่อยๆ มีลุกน้องเก่งๆ เข้ามาในบริษัท และคนเหล่านี้ก็ต้องการเจ้านายเก่งๆ ด้วย ดังนั้นหากเราไม่เก่งมากพอลูกน้องก็ไม่อยากทำงานด้วย
4. หากเจ้าของธุรกิจไม่พัฒนาตัวเอง ธุรกิจก็จะไม่พัฒนาตามไปด้วยเช่นกัน
5. ความเข้าใจผิดที่สุดของการทำธุรกิจ คือ 1. อยากรวย 2. อยากมีอิสระ
1
6. ความเป็นจริงแล้วอาจไม่ใช่แบบที่คิดเพราะการเป็นเจ้าของธุรกิจทำงานหนักกว่าการเป็นพนักงานหลายสิบเท่า
7. อย่าคิดว่าการทำธุรกิจนั้นสบายและไม่ต้องมีเจ้านาย เพราะการทำธุรกิจเจ้านายของเราคือ ลูกค้า
8. เจ้านายที่ชื่อว่าลูกค้า เรียกร้องไม่เคยหยุด
9. หากอยากมาทำธุรกิจเพราะอยากร่ำรวย การทำธุรกิจอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไปก็ได้ เพราะสมัยนี้ลูกจ้างมืออาชีพที่ประสบความสำเร็จ ร่ำรวย มีเงินทอง ได้มากมาย และหลายคนอาจจะไม่ต้องเครียดเหมือนมาเป็นเจ้าของเองด้วยซ้ำ
10. คุณสมบัติของการเป็นผู้ประกอบการที่ดี 1. ต้องเรียนรู้ไม่เคยหยุด 2. ต้องมีความรู้จัการจัดการความล้มเหลว
.
11. ข้อแรกเราต้องมีวินัยเพื่อเป็นนายตัวเองให้ได้ บังคับตัวเองให้ได้ เพราะเจ้าของธุรกิจไม่มีเวลาตายตัวและไม่มีใครมาคอยบังคับ เราจึงต้องบังคับตัวเองให้ได้ แม้ในวันที่เราไม่อยากทำงาน
12. ข้อสองหากเราเป็นเจ้าของกิจการเราจะล้มเยอะมาก และเราต้องเรียนรู้และลุกจากความล้มเหลวให้ได้ และเรื่องนี้จะเกิดขึ้นซ้ำๆ ต่อไปเรื่อยๆ ตลอดเส้นทางการทำธุรกิจของเรา
13. Don’t make the same mistake twice. Go out and find the other
14. สินค้าที่ดี คือ สินค้าที่ลูกค้าอยากใช้ซ้ำ หากไม่ใช่แสดงว่าสินค้านั้นไม่ดีแล้ว
15. อย่าทำธุรกิจแบบ Me too Product ที่เห็นอะไรขายดีก็แห่กันไปทำ หากทำเช่นนี้สุดท้ายก็จะไปแข่งขันกันที่ราคากันไปเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด ใครทุนหมดก่อนก็พ่ายแพ้ไป
16. หากจะทำธุรกิจต้องมีความคิดสร้างสรรค์ ต้องคิดแทนลูกค้าให้ได้ว่าคนที่มาซื้อเรา เค้าซื้อด้วยเหตุผลอะไร ?
17. ธุรกิจจะแสดงออกถึงตัวตนของผู้ประกอบการเสมอ
18 . เจ้าของเป็นคนแบบไหนก็จะส่งผ่านมาให้เห็นในธุรกิจเสมอ เช่น หากเจ้าของเป็นคนชุ่ยๆ ง่ายๆ สินค้าก็มักจะไม่มีความละเอียด คุณภาพไม่ดี แต่ถ้าเจ้าของเป็นคนละเอียด รอบคอบ ก็อาจจะทำให้มีสินค้าที่ดีได้
19. ความเป็นผู้นำ ไม่ใช่เรื่องของตำแหน่ง หรือนามสกุล แต่คือการทำให้คนใต้บังคับบัญชาเรายอมรับ เคารพและพร้อมที่จะเดินไปกับเรา
20. หากเราอยากให้บริษัทของเราทำงานหนักเราต้องสร้างบรรยากาศการทำงานที่ผ่อนคลายและสนุก
.
21. วิธีการเช็คว่าเราเป็นเจ้านายที่ดีไหม คือให้ถามตัวเองว่าถ้าเราเป็นลูกน้องเราอยากได้เจ้านายแบบที่เราเป็นอยู่ไหม
22. บุคลิคของคนเป็นเจ้าของคือ 1. เป็นนักฝัน 2. นักทำ และ 3.นักแก้ไข
23. นักฝัน คือ ต้องเป็นคนมีวิสัยทัศน์ มีไอเดียที่แปลกใหม่ มีความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ เสมอๆ
24. นักทำ คือ การลงรายละเอียด และนำสิ่งที่คิดออกมามาลงมือปฏิบัติให้เป็นจริงให้ได้
25. นักแก้ไข คือ ทำไปเถอะ เดี๋ยวเจอปัญหาแน่ๆ และก็คอยแก้ปัญหาเหล่านั้น
26. ผู้ประกอบการที่ดีต้องมี 3 ข้อในตัวเองให้ครบ แต่จะบาลานซ์อย่างไรก็แล้วแต่แต่ละคน
27. สิ่งที่น่ากลัวที่สุดที่พบมากคือ นักฝัน แต่ไม่ใช่ นักทำ
28. คนเหล่านี้คือผู้ประกอบการที่ล้มเหลวมากที่สุด เพราะฝันนั่นนี่ มีโปรเจ็คเยอะแยะเต็มไปหมด อยากลงทุนนั่นนี่เต็มไปหมด แต่ไม่โฟกัสและไม่ปฏิบัติสักอย่าง และก็เฟลมันทุกอัน
29.  คนที่ประสบความสำเร็จต้องเป็นคนที่ลงรายละเอียดเก่ง
30. ในช่วงเริ่มทำธุรกิจเจ้าของต้องเก่งมากๆ เพราะไม่มีลูกน้องเก่งๆ เพราะคนเก่งก็จะไปอยู่บริษัทใหญ่ๆ กันหมด คนที่เราได้ก็จะมีแต่คนกลางๆ ที่บริษัทใหญ่ไม่เอา
.
31. หน้าที่ของเราคือ สอน ให้คนเกล่านี้เก่งขึ้นมาให้ได้ หากเราทำไม่ได้เราจะเหนื่อย เพราะลูกน้องก็ไม่เก่งสักที เราก็จะต้องคอยจ้ำจี้จำไช ปล่อยมือไม่ได้
32. สุดท้ายธุรกิจก็จะไปต่อไม่ได้ เพราะเจ้าของไม่มีเวลาไปทำงานอย่างอื่นที่สร้างสรรค์และสำคัญมากกว่า แต่ต้องคอยเสียเวลาอยู่หน้างานกับลูกน้องเพราะปล่อยมือไม่ได้
33. เจ้าของกิจการต้องเป็น โค้ช ที่ดี
34. ถ้าเราสอนเก่ง เราจะเหนื่อยน้อย ถ้าเราสอนไม่เก่ง เราจะเหนื่อยมาก
35. การทำธุรกิจต้องมีความฝัน อย่าทำแบบอยู่ไปวันๆ เราต้องมีภาพในหัวเสมอว่าอยากให้มันเป็นอย่างไร สิ่งเหล่านี้เรียกว่า Vision
36. Vision เป็นเหมือนเข็มทิศ ที่ต้องจัดเจนตั้งแต่ต้น แต่ Mission อาจจะยังเบลอๆ ค่อยๆปรับและเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ระหว่างลงมือทำ
37. การทำงานกับพนักงานต้อง Act Friend not Act Boss
38. ถ้าเราเป็นเพื่อนกับพนักงาน พนักงานจะอยากเล่าอะไรต่างๆ ให้เราฟังเสมอ แต่ถ้าเราเป็น Boss เค้าจะไม่อยากคุยกับเรา ซึ่งจะทำให้เรารับรู้ข่าวสารต่างๆ ช้ากว่าคนอื่น เช่น การทุจริตในองค์กร
39. ถ้าเราเป็น Boss เรื่องร้ายๆ เราจะรู้คนสุดท้ายของบริษัท
40. ไม่ได้หมายความว่าแบบ Boss ไม่ดี เพราะบางคนทำแบบ Boss แล้วประสบความสำเร็จก็มี .
41. สิ่งนี้ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว ดังนั้นจงหาสิ่งที่เป็นตัวเราให้เจอให้ได้ ว่าเราเหมาะกับแบบไหน
42. การวางแผนธุรกิจด้วย SWOT ยังไม่ล้าสมัยและยังใช้ได้เสมอ เพราะมันคือการกลับมามองดูตัวเอง ว่าเราเป็นอย่างไร ?
43. หากเรารู้ว่าจุดอ่อนของเราคืออะไรแล้วสามารถแก้มันได้ จะทำให้เราประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น
44. ต้นทุนที่สำคัญที่สุดไม่ใช่เงิน แต่คือ ความคิด
45. ยุคนี้เป็นยุคที่โชคดีมาก เพราะมีคนจำนวนมากพร้อมให้ทุนกับคนที่มีความคิดดีๆ เสมอ
46. นอกจากความคิดที่ดีแล้ว ทุนอีกอย่างที่สำคัญคือ ทุนการบริหารจัดการที่ดี
47. หลายคนมีไอเดีย ความคิดสร้างสรรค์ดีมาก แต่พอทำจริงทำไม่ได้
48. ทุกครั้งก่อนจะทำอะไรต้องมี 3M คือ 1. Man 2. Money 3.Machine
49. ต้องเช็คให้ครบว่าเรามี 3 สิ่งนี้ครบไหม หากไม่ ต้องไปหาให้ครบก่อน
50. ต้องมีระบบตรวจสอบเสมอเมื่อบริษัทเติบโตขึ้น
.
51. การทำให้ลูกน้องอยู่กับองค์กรนานๆ ต้องผ่านการออกแบบเสมอ
52. เรามักถามว่าทำอย่างไรให้พนักงานรักองค์กร แต่สิ่งที่สำคัญจริงๆ คือ เราจะทำอย่างไรให้พนักงานรับรู้ว่าบริษัทรักพวกเขาต่างหาก
53. หากเราถ่ายทอดสิ่งนี้ออกไปได้ ความรักของพนักงานที่มีต่อองค์กรจะมากขึ้นเอง
54. พนักงานที่ทุจริตส่วนใหญ่ มักเริ่มจากรู้สึกว่าถูกบริษัทเอาเปรียบ
55. หากพนักงานมีความรักองค์กร พนักงานจะช่วยกันปกป้องผลประโยชน์ของบริษัทเอง
56. เจ้าของธุรกิจส่วนใหญ่ในช่วงเริ่มต้นมักมัวแต่จมกับปัญหาและไม่มีเวลาคิดถึงภาพใหญ่ในอนาคต
57. เจ้าของที่ดีควรแบ่งเวลาการทำงานเป็น 60% กับงาน Routine และ 40% สำหรับงานที่ทำให้ธุรกิจเติบโต
58. อย่าปล่อยให้เวลาการทำงานแบบ Routine กินไปเสียหมด เพราะงานเหล่านี้ไม่สามารถทำให้ธุรกิจเติบโต
59. การทำธุรกิจในตอนเริ่มต้นสามารถเริ่มต้นคนเดียวได้ แต่หากจะเติบโตไปต่อต้องขยายทีมและกระจายอำนาจ
60. SMEs ส่วนใหญ่มีปัญหาช่วงขยายกิจการและกระจายอำนาจนี้
.
61. อย่าคิดว่าการเอาญาติพี่น้องมาช่วยในการขยายกิจการโดยไม่วางระบบจะแก้ปัญหาได้
62. อย่าอาศัยเพียงความไว้ใจโดยไม่มีระบบการตรวจสอบ
63. ช่วงบริษัทขนาดเล็กเราต้อง เก่งงาน
64. ช่วงขยายธุรกิจเราต้อง เก่งคน
65. ดัชนี้ชี้วัดที่ดีที่สุดว่าเราต้องขยายทีมแล้ว คือ เมื่อเรารู้สุกงานล้น ทำไม่ทัน
66. ถ้าหากงานเรายังไม่ยุ่ง เรายังขายไม่ดี ขยายไปก็เสียเงินเปล่า
67. ในช่วงบริษัทขนาดเล็ก การได้คนเก่งและดีเป็นเรื่องยาก เพราะเราไม่มีทุนเท่าบริษัทใหญ่
68. ให้เรามองหาคนดี ที่พอสอนงานได้เอาไว้ เป็นคนประเภทลุย ไปไหนไปกัน พี่เอาอะไรเดี๋ยวหนูช่วยแบบนี้
69. ธุรกิจไซส์กลางมี 4 สภาวะ
70. หนึ่งเจ๊ง : คือไปไม่รอด แบกค่าใช้จ่ายไม่ไหว ยอดขายไม่มี
.
71. สองซอมบี้ คือ ไม่โตแต่ก็ยังไม่ตาย พออยู่ได้ไปวันๆ แต่ก็ขยายต่อไปไม่ได้
72. สามมีกำไรแต่โตต่อไม่ได้ แฮปปี้กับสถานะนี้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรูปแบบนี้ค่อนข้างเยอะ
73. สี่ ประสบความสำเร็จ อันนี้เติบโตไปต่อได้และประสบความสำเร็จเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ได้
74. รูปแบบที่ SMEs ไทยเป็นเยอะที่สุดคือข้อ 3
75. รูปแบบที่ 3 ต้องกลับมาหาสาเหตุให้เจอว่าอะไรที่ทำให้ธุรกิจเราไม่เติบโต เช่น มีวิธีไหนบ้างไหมที่ทำให้เราขายดีกว่านี้
76. หรือกลับมาดูว่าตลาดมันไปต่อได้ไหม มันโตได้หรือเปล่า ถ้าเป็นแบนบี้เราอาจจะต้องเพิ่มสินค้าและบริการใหม่ๆ แตกไลน์ธุรกิจใหม่ๆ เข้าไปอีก
77. อย่านิยามธุรกิจของตัวเองแคบเกินไป เช่น OfficeMate หากนิยามว่าขายเครื่องเขียนก็คงจะขายแต่อุปกรณ์เครื่องเขียน แต่ OfficeMate นิยามตัวเองว่าเป็น Office Supply ดังนั้นสิ่งที่ขายก็จะขายได้ทุกอย่างที่ออฟฟิศมีตั้งแต่เครื่องเขียน อุปกรณ์สำนักงาน ไปจนถึง ชา กาแฟ และมาม่า เป็นต้น
78. อย่าลิมิตตัวเอง เราต้องนิยามตัวเองใหม่ ว่าเราอยู่ในธุรกิจอะไร ? ขายอะไร ?
79. เช่น ร้านขายยาหากนิยามว่าเป็นร้านขายยาเราก็จะขายแค่ยา แต่ถ้าเรานิยามว่าเป็น Health เราก็อาจจะขายได้แบบ Boots หรือ Watson ที่มีทุกอย่างเกี่ยวกับ Health เลย
80. ธุรกิจไปต่อไม่ได้  เพราะหลายครั้งไม่ยอมปรับตัว ทำเหมือนเดิม ทำแบบเดิมตลอดหลายสิบปี
.
81. บางครั้งการทำแบบนี้มันคือการสวนกระแสกับตลาด ดังนั้น เราต้องปรับตัวและพัฒนาสินค้าของเราอย่างต่อเนื่อง
82. หากเจอภาวะขายไม่ดี ต้องกลับมาถามตัวเองและหาจุดขายของตัวเองให้เจอว่าต้องทำอย่างไร เช่น สร้างวิธีการขายใหม่ๆ ตกแต่งร้านใหม่ หรือออกแบบธุรกิจใหม่เลยได้ไหม
83. เราต้องมีสิ่งหนึ่งที่คู่แข่งให้ไม่ได้เสมอ
84. เบอร์หนึ่งของทุกอุตสาหกรรม จะมีเรื่องนี้เสมอ
85. การทำงานเป็นทีม สำคัญมาก เพราะไม่มีทางที่จะมีใครคนหนึ่งคิดถูกได้ตลอดเวลา
86. ความเห็นของทีมเป็นเรื่องสำคัญมาก แต่ถ้าเราไม่เชื่อ เราก็ต้องรับผิดชอบเพราะเราเป็น ผู้บริหาร
87. ระบบ สำคัญมาก เพราะการมีระบบที่ดี การตรวจสอบที่ดี เป็นเหมือนคันเร่งให้ธุรกิจเติบโตได้เร็ว
88. ถ้ามีระบบที่ดี คนได้ประโยชน์สูงสุดคือผู้บริหารเอง เพราะจะสามารถกระจายอำนาจออกไป ให้คนอื่นมาทำงานแทนเราได้
89. ผู้บริหารจะมีเวลาในการออกไปหาโอกาสใหมๆ ให้กับธุรกิจได้
90. ความผิดพลาดในการทำธุรกิจ คือ ต้นทุน ที่มีค่าใช้จ่ายเสมอ
.
91. ระบบที่สำคัญที่สุดคือ ระบบบัญชี เพราะเป็นเหมือนแก่นและรากฐานของธุรกิจ เป็นสิ่งที่ชี้วัดว่าธุรกิจของเราดีหรือไม่
92. การพัฒนาระบบ IT จำเป็นต้องคิดผ่าน Logic ที่ดีก่อน
93. การนำมาใช้ต้อง Lean Process ต่างๆ ให้สั้น กระชับ ดีที่สุดก่อน
94. และเมื่อมันสั้นค่อยเอาระบบ IT มาใช้ จะทำให้การทำงานเป็นระบบมากขึ้น
95. เพราะ Computer ไม่ใช่ยาวิเศษแต่เป็น Fast but Stupid Machine
96. ถ้าเรา Logic ไม่ฉลาดใส่ลงไป ระบบก็จะผลิตแต่เรื่องที่ไม่ฉลาดออกมา
97. ระบบที่มีประสิทธิภาพ คือ ระบบที่ขั้นตอนน้อย ใช้ทรัพยากรน้อย และผิดพลาดต่ำ
98. การวางระบบจำเป็นต้องวางล่วงหน้าเผื่อการเติบโตเอาไว้เสมอ
99. ระบบที่ใช้ในวันนี้คือระบบที่คิดเอาไว้เมื่อหลายปีก่อน และระบบวางแผนตอนนี้ก็จะเป็นระบบที่ใช้ในอนาคต
100. เพราะวิธีการเดิมไม่สามารถรองรับการเติบโตได้ เช่น หากเราขายได้ 400 ล้าน เราก็ต้องมีระบบแบบ 400 ล้าน เราจะนำเอาระบบของ 200 ล้าน มาใช้ไม่ได้
.
101. หากฝืนใช้ระบบเก่าแต่ยอดขายใหม่ ลูกค้าก็จะได้รับบริการที่แย่ ระบบก็จะ Error เยอะมาก
102. การนำระบบเข้ามาใช้จำเป็นต้องพิจารณาเรื่อง คน ควบคู่ไปเสมอว่าพร้อมไหม
103. บริษัทที่จะเติบโต ต้องพัฒนาระบบ ควบคู่ไปกับ คน เสมอ
104. ระบบที่ดีต้องคู่กับคนที่ดีเสมอ
105. เพราะหากเรามีระบบไม่ดี ถ้าเรามีคนที่มีคุณภาพ ระบบก็จะดีขึ้นได้
106. แต่ถ้าบริษัทไหนต่อให้มีระบบที่ดี แต่คนไม่ดี ระบบก็อาจจะสามารถพังเละได้เลย
107. แผนก HR คือ แผนกที่สำคัญมาก เพราะเป็นแผนกที่คัดกรองคนเข้ามาในระบบ
108. งานของ HR มี 2 ส่วน คือ HRM คือการบริการบุคลากร การคัดคน การเทรนนิ่ง และ HRD คือ การพัฒนาศักยภาพของคนในองค์กรให้เก่งขึ้น ซึ่งหลายบริษัทละเลยงานในส่วนนี้
109. หลายธุรกิจพนักงานทำงานมาหลายสิบปีโดยการทำแบบเดิมไม่มีการพัฒนา สอนงาน หรือเปลี่ยนแปลงอะไรเลย
110. สิ่งสำคัญที่สุดคือการสร้าง Culture ในองค์กร แต่เป็นสิ่งที่ยากที่สุดและใช้เวลานานมาก
.
111. สิ่งนี้จะทำให้พนักงานรับรู้ว่าต้องทำตัวอย่างไรกับการทำงานที่นี่ และรับรู้ตั้งแต่คัดกรองคนเข้ามาได้เลยว่าใครเหมาะและไม่เหมาะกับที่นี่ จะทำให้การคัดคนแม่นยำมากยิ่งขึ้น
112. Culture เป็นสิ่งที่ต้องออกแบบและวางแผน ว่าจะทำให้มีหน้าตาอย่างไร จะสื่อสารกับพนักงานอย่างไร
113. การวัดผลด้วย KPI / OKR เป็นสิ่งที่ต้องมีเพื่อให้การทำงานสามารถประเมินผลได้ และพนักงานรับรู้ได้ว่าเป้าหมายของตัวเองคืออะไร ?
114. สิ่งสำคัญคือต้องออกแบบให้สอดคล้องกับคนทำงานและเป็นธรรมชาติ และต้องระวังเรื่องการทับซ้อนกันของ KPI เช่น ฝ่ายขายอยากปล่อยเครดิตให้ลูกค้านานๆ เพื่อทำยอด แต่บัญชีอยากเก็บเงินได้เร็วๆ ดังนั้น KPI ของ 2 แผนกก็จะขัดกันเอง
115. สิ่งที่มาแก้เรื่องนี้คือ Team Spirit ที่ต้องออกแบบให้ไปด้วยกัน
116. Team Spirit วิธีสร้างคือการใช้เวลาร่วมกัน เช่น กิจกรรมให้พนักงานเล่นกัน , พาพนักงานออกไป Outing รวมถึงกิจกรรมสันทนาการต่างๆ ภายในบริษัท
117. สิ่งเหล่านี้หลายคนมองเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่อยากเสีย แต่กลับกัน มันคือค่าใช้จ่ายที่เราประเมินและคำนวณได้ว่าต้องเสียเท่าไร
118. แต่ค่าใช้จ่ายแฝงที่เกิดจากการที่พนักงานทะเลาะกันแตกความสามัคคีกันเป็นค่าใช้จ่ายที่มหาศาลที่ประเมินความเสียหายไม่ได้ และหลายครั้งเยอะกว่าสิ่งเหล่านี้หลายเท่าเลยก็ได้
119. การที่ธุรกิจจะเติบโตอย่างยั่งยืนได้ ทางออกหนึ่งคือการสร้างรากฐานเข้า MAI หรือ SET
120. ขั้นตอนนี้ไม่ใช่การหา Know-How การขยายทีมอีกแล้วแต่เป็นการหาเครื่องมือทางการเงิน การหาโอกาสใหญ่ครั้งใหม่ หรือ การหาพันธมิตรเพิ่ม
.
121. บริษัท ที่ตั้งใจจะเป็น มหาชน จะได้เปรียบกว่า เพราะจะทำให้เราทำทุกอย่างถูกต้อง รวดเร็ว วางระบบ วางโครงสร้างทุกอย่างไว้พร้อมสำหรับการจดทะเบียนอยู่แล้ว
122. การเป็นมหาชน จะทำให้บริษัท เติบโตอย่างยั่งยืน
123. ข้อดีของการเข้าตลาดคือ 1. หาพนักงานเก่งๆ ดีๆ ง่ายมาก และ 2. หาลูกค้าและคู่ค้าง่ายมาก
124. แต่ข้อเสียคือจะทำให้บริษัทมีระเบียบ มีขั้นตอน มี Process ทุกอย่างเยอะ และทำให้บริษัทมีความเชื่องช้ามากขึ้น
125. ทางออกคือการแตกเป็นบริษัทลูกขึ้นมาเพื่อให้เกิดความคล่องตัวมากขึ้น
126. การทำงานในธุรกิจครอบครัว รุ่นลูก ควรเป็นคนปรับตัวมากกว่ารุ่นพ่อแม่
127. เพราะเราเปลี่ยนง่ายกว่า อย่าไปวางฐิทิว่าเค้าต้องเปลี่ยนเหมือนเรา แต่ต้องเป็นเราที่เปลี่ยน
128. ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากการไม่ยอมรับกัน เพราะเราเห็นกันมากไป ไม่เหมือนการทำงานข้างนอกที่หัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงานจะเห็นเราจากเพียงมุมมองที่เรานำเสนอเท่านั้น แต่กับธุรกิจครอบครัวเราเห็นกันแทบจะตลอด 24 ชั่วโมง
129. ในตอนเริ่มต้น อย่าเพิ่งเปลี่ยนอะไรเยอะ แต่ให้ไปเรียนรู้ก่อนว่าธุรกิจนี้เลี้ยงเรามาได้เพราะอะไร ? เค้าทำอะไรกัน ? จุดอ่อนหรือจุดแข็งคืออะไร ?
130. เริ่มเปลี่ยนจากจุดเล็กๆ น้อยๆ ก่อน ให้ทำเรื่องเล็กๆ ให้สำเร็จและทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ ซ้ำๆ ทีละเรื่องๆ
.
131. บางคนกลับมาปุ๊ปจะเปลี่ยนทั้งหมด รื้อระบบใหม่ทั้งบริษัทเลย สุดท้ายก็จะไม่ได้ทำ และก็ทะเลาะกันมีปัญหากัน ลูกก็หาว่าพ่อแม่ไม่ทันสมัย พ่อแม่ก็มองว่าลูกยังไม่เข้าใจอะไรเลย
132. เริ่มจากการสร้างการยอมรับระหว่างกันและกันก่อน
133. การกลับมาทำที่บ้าน พ่อแม่ ก็เหมือน หัวหน้า ในที่ทำงานของเรา
134. เราจะเอาชนะยังไงก็ไม่มีวันชนะได้ แต่ให้คิดเหมือนเราทำงานข้างนอกว่าจะทำอย่างไรให้หัวหน้าคนนี้ ยอมรับ ในตัวเรา
135. จุดเปลี่ยนที่พี่ CEO ได้รับการยอมรับคือการออกไปตั้งบริษัทใหม่ขึ้น เพราะเป็นเหมือนการแยกกันทำงานไปเลย และต่อให้มันเจ๊งมันก็ยังไม่กระทบกับของเดิมที่พ่อแม่ทำไว้
136. ค่อยๆ ทำทีละนิด สะสมความสำเร็จเล็กๆ เอาไว้
137. อย่าเรียกร้องการยอมรับถ้าเรายังไม่โชว์ผลงาน
138. กงสี เป็นระเบิดเวลาของธุรกิจครอบครัวเลย ธุรกิจครอบครัวโตได้ไม่เกิน สามรุ่น
139. เพราะธุรกิจเติบโตและการทำงานไม่ตอบโจทย์การเติบโตของธุรกิจครอบครัว
140. การทำธุรกิจครอบครัวต้องแยกเงินส่วนตัว กับเงินธุรกิจ จัดสรรเงินเดือนตามความรู้ ความสามารถก่อน อย่าเอาวัฒนธรรมมาเกี่ยวข้อง เช่น ลูกชายคนโตต้องได้เงินเยอะ หรืออะไรแบบนี้
.
141. การเป็นกงสีต้องปรับให้เป็นมืออาชีพ การปลดล็อคที่ดีที่สุดคือการเข้าตลาดมหาชน
142. จะทำให้มีการจัดสรรห้นในครอบครัวให้ชัดเจน มรดกชัดเจน ใครอยากทำงานต่อก็คัดแต่คนมีความรู้มาทำงาน ใครไม่เก่งก็ถือไปแค่หุ้น และจ้างคนนอกมาทำงาน
143. เปลี่ยนคนของพ่อ เป็นคนของเรา การทำงานกับพนักงานคนเก่าของพ่อ เข้าไปแบบอ่อนน้อมถ่อมตน ไป้รียนรู้ก่อนว่าเค้าทำอะไร และเข้าไปเกลี้ยกล่อมเค้าว่าปรับเป็นแบบนี้ดีไหมอย่างไร ถ้าเปลี่ยนการทำงานเค้าจะดีขึ้นอย่างไร
144. สนับสนุนการศึกษาของเค้าให้เค้าไปเรียนต่อไหมอะไรแบบนี้ จะทำให้เค้าเห็นว่าสิ่งที่เราทำเป็สนับสนุนการศึกษาของเค้าให้เค้าไปเรียนต่อไหมอะไรแบบนี้ จะทำให้เค้าเห็นว่าสิ่งที่เราทำเป็นประโยชน์กับเค้าจริงๆ ทำงานง่ายขึ้น จะทำให้เค้าเปลี่ยนจากคนของพ่อเป็นคนของเราได้
145. พอบริษัทโต คนที่ไปต่อไม่ได้ก็ต้องหาตำแหน่งแห่งที่ที่เหมาะสมหน้าที่ที่เหมาะสมให้กับเค้าให้ได้
146. การสร้างธรรมนูญครอบครัวเป็นสิ่งหนึ่งที่ต้องทำ คือการตกลงว่าอะไรใช่ไม่ใช่ อะไรได้ไม่ได้
147. เป็นกติกาที่ตกลงร่วมกันว่าใครอยู่ตรงไหนอย่างไร
148. ธุรกิจครอบครัวถ้าทำได้ดี จะเข้มแข็งและแข็งแรงกว่าทำธุริจข้างนอกเยอะมากๆ
149. แต่อาจขัดแย้งกับวิธีคิด put the right man on the right job เพราะถ้าเค้าไม่เก่งเอาเข้ามาทำงานก็ทำให้ธุรกิจเละ ดีกว่าเอาเค้าไม่เก่งมาทำงาน เพราะไม่ดีต่อตัวเค้าด้วยและบริษัทด้วย
150. หลายคนมองคนสำเร็จแค่ความสำเร็จของเค้าแต่ไม่ได้มองว่าเค้าแลกมากับอะไรบ้าง
โฆษณา