Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Padechai therapy
•
ติดตาม
10 มิ.ย. 2022 เวลา 03:11 • สุขภาพ
เอ็นข้อเท้าด้านข้างฉีกขาด จะกลับมาใช้ชีวิตประจำวันอีกครั้ง ต้องทำอย่างไร
ผู้ที่ประสบอุบัติเหตุเอ็นข้อเท้าด้านข้างฉีกขาด บางท่านที่ไม่ได้รับการผ่าตัด มักประสบปัญหาอาการปวดข้อเท้าเรื้อรัง ยืนขาเดียวนิ่งๆได้ไม่นาน ทำให้ไม่สามารถเดินได้ไกลหรือทำกิจวัตรประจำวันนานๆไม่ได้ วิธีกายภาพบำบัดมีความสำคัญที่จะช่วยฟื้นฟูสภาพให้กับผู้ที่มีอาการบาดเจ็บข้อเท้าเรื้อรังให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้เหมือนเดิม
ต่อไปนี้ เป็นตัวอย่างโปรแกรมกายภาพบำบัด สำหรับผู้ที่มีเอ็นข้อเท้าด้านข้างฉีกขาด เป็นเวลา 6 เดือน แต่ผู้ป่วยเลือกที่จะรักษาแบบประคับประคองไปก่อน
1.) ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวของข้อเท้า โดยให้ผู้ป่วยนั่งหรือนอน กระดกข้อเท้า ขึ้น-ลง หมุนข้อเท้าเป็นวงกลม โดยแต่ละท่า ทำ 30 ครั้ง/เซต 3 เซต/วัน
ภาพบริหารข้อเท้า กระดกข้อเท้าขึ้น-ลง
ที่มา
https://dict.drkrok.com/dorsiflexion/dorsi-plantar-flexion/
ภาพบริหารข้อเท้า โดยหมุนข้อเท้า
ที่มา
https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Exercise_Ankle_Rotation.png
2.) ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อเท้า โดยให้ผู้ป่วยยืนเขย่งส้นเท้า 30 ครั้ง/เซต 3 เซต/วัน และ เดินต่อขา 20 เมตร 10 รอบ
ภาพบริหารข้อเท้า โดยยืนเขย่งส้นเท้าและปลายเท้า
ที่มา
https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/976
ภาพบริหารเท้าฝึกการทรงตัว โดยการเดินต่อเท้า
ที่มา
https://www.tht.co.th/blog/elderlyexercise/
3.) ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา โดยรวม โดยยืนย่อเข่า ขึ้น-ลง ทำ 30 ครั้ง/เซต 3 เซต/วัน
4.) ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา โดยก้าวขึ้นลงบันไดหรือสเต็ป ทำ 30-50 ครั้ง/เซต 3 เซต/วัน
5.) ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มการรับรู้ผ่านข้อต่อของขา ทั้งข้อสะโพก ข้อเข่าและข้อเท้า โดยยืนก้าวขาไปด้านหน้าแล้วงอเข่า เท่าที่งอได้ จากนั้นก้าวเท้ากลับ ทำ 30
ครั้ง/เซต 3 เซต/วัน
6.) ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความมั่นคงของข้อเท้า ซึ่งนิยมฝึกกันมากในนักกีฬาที่มีการบาดเจ็บเอ็นข้อเท้าเรื้อรัง โดยยืนมือ 2 ข้าง ท้าวเอว จากนั้นก้าวขาไปในทิศทางต่างๆ ได้แก่ หน้า หลัง เยื้องหน้า เยื้องหลัง ข้าง ทำ 10 ครั้ง/ข้าง/เซต 3 เซต/วัน
7.) อีกวิธีนึงในการฝึกความมั่นคงของข้อเท้า โดยใช้เบาะโฟมหรือเบาะโยคะ เริ่มแรกให้ผู้ป่วยยืนด้วย ขา2ข้างบนเบาะโฟม หลังจากนั้นให้ผู้ป่วยหลับตา ประมาณ 1-3 นาที ทำ 15 ครั้ง/เซต 3 เซต/วัน ถ้าทำได้ดีขึ้น ให้ผู้ป่วยยืนขาเดียว ระยะเวลานานเท่าที่ยืนได้ ทำ 15 ครั้ง/เซต ทำ 3 เซต/วัน
ท่าบริหารยืนย่อเข่า
ที่มา
https://www.hjphysicaltherapy.com/everybody-squat/
ท่าบริหารกล้ามเนื้อขา เน้นการใช้งาน โดยก้าวขึ้นลงบันได
ที่มา
https://www.youtube.com/watch?v=5qjqDHOUh-A
ท่าบริหารเพื่อเน้นการรับรู้ผ่านข้อต่อ
ที่มา
https://www.spotebi.com/exercise-guide/front-and-back-lunges/
ท่าบริหารเพื่อเพิ่มความมั่นคงของข้อเท้า โดยก้าวขาไปทิศทางต่างๆ
ที่มาhttps://www.researchgate.net/figure/Performance-of-the-Star-Excursion-Balance-Test-with-a-left-stance-leg-and-right-reach-leg_fig2_259497016
บริหารโดยฝึกยืนบนเบาะโฟมหรือเบาะโยคะ
ที่มา
https://www.thewrightstuff.com/airex-balance-pad-solid.html
สุขภาพ
บันทึก
3
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย