12 มิ.ย. 2022 เวลา 09:30 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
RESEARCH: “ซูเปอร์เวิร์ม” ความหวังของการรีไซเคิล ♻️✨
2
สุดยอดหนอนที่ไม่ใช่แค่อยู่รอดด้วยการเขมือบพลาสติก แต่กินดีจนอ้วนพี⁉️
2
Zophobas morio
🟡 STORY: เมื่อหนอนสามารถช่วยปฎิวัติวงการรีไซเคิล
ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Queensland ในออสเตรเลียค้นพบว่า “หนอนนกยักษ์” หรือ Superworm สามารถกินและย่อยสลายพลาสติก Polystyrene ได้
2
  • ภายหลังการทดลองให้ซูเปอร์เวิร์ม 3 กลุ่มกินอาหารที่แตกต่างกันเป็นเวลา 3 สัปดาห์ 🐛
  • หนอนกลุ่มที่กินพลาสติก Polystyrene เป็นอาหารไม่เพียงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ทว่ายังนำ้หนักขึ้นอีกด้วย
3
Dr. Chris Rinke หนึ่งในทีมนักวิจัย
โดยคาดการณ์ว่าพวกมันได้รับพลังงานจากความช่วยเหลือของจุลชีพต่างๆ ในทางเดินอาหาร 🦠
เนื่องจากเอนไซม์ที่แบคทีเรียผลิตออกมาสามารถย่อยสลายทั้ง Polystyrene และ Styrene ได้
กลไกหลักๆ คือหนอนยักษ์จะทำหน้าที่เป็นเครื่องจักรบดเคี้ยวให้พลาสติกมีขนาดเล็กลง แล้วส่งไม้ต่อให้แบคทีเรียย่อยต่อไป
1
📍 การวิจัยในครั้งนี้นับว่าเป็นการสร้างรากฐานการศึกษาด้านกระบวนการหมุนเวียนขยะพลาสติกในจุลชีพ
เพราะท้ายที่สุดผลิตภัณฑ์ที่เราอาจจะได้จากย่อยของแบคทีเรียก็คือ “พลาสติกชีวภาพ หรือ Bioplastics”
มีข้อดีในด้าน:
  • สามารถรีไซเคิลและย่อยสลายได้ง่าย 🌱
  • ช่วยลดปริมาณขยะบนโลก
  • ลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์เมื่อนำไปทำผลิตภัณฑ์ (เทียบกับกระบวนการผลิตพลาสติกแบบดั้งเดิม)
2
Polystyrene ในทางเดินอาหารของหนอน
📍Polystyrene เป็นหนึ่งในประเภทพลาสติกที่มีการใช้อย่างแพร่หลาย นิยมใช้เป็นวัสดุบรรจุภัณฑ์ (Packing Material) เช่น โฟมบรรจุอาหาร
1
แต่เมื่อถูกทิ้งในสิ่งแวดล้อม กระบวนการย่อยสลายอาจจะต้องใช้เวลาถึง 500 ปีเลยทีเดียว‼️
2
งานวิจัยในครั้งนี้ มีความความหวังอย่างยิ่งที่การรีไซเคิลทางชีวภาพนี้จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการรีไซเคิลขยะพลาสติกและลดหลุมฝังกลบมากขึ้น
1
อย่างไรก็ตาม เราคงไม่ได้เห็นฟาร์มหนอนขนาดใหญ่ที่ทำหน้าที่เป็นโรงงานรีไซเคิลในอนาคต
1
เพราะทางนักวิจัยมีเป้าหมายสำคัญที่หวังว่าจะสามารถระบุชนิดเอ็นไซม์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการย่อยสลายพลาสติกเพื่อนำไปผลิตซ้ำในปริมาณมากสำหรับกระบวนการรีไซเคิล ♻️
2
❤️ ขอบคุณที่เข้ามาอ่านบทความค่า
🌱 ฝากกด Like กด Share และกดติดตามเพื่อเป็นกำลังใจให้กับน้องหมอนะคะ 😘
1
โฆษณา