12 มิ.ย. 2022 เวลา 01:32 • ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์โลก ของ "กัญชา กัญชง"
ประวัติความเป็นมาของกัญชา
กัญชา เป็นที่รู้จักในภาษาอังกฤษว่า มาริฮัวนา (Marijuana) กัญชาเป็นพืชล้มลุกจากพืชต้นตระกูล Cannabis พบในทวีปเอเชียมีการกระจายพันธุ์เป็นบริเวณกว้างอยู่ทางตอนกลางของทวีป ได้แก่พื้นที่ทางตอนใต้ของแคว้นไซบีเรีย ประเทศเปอร์เซีย ทางตอนเหนือของประเทศอินเดียบริเวณแคว้นแคชเมียร์ และเชิงเขาหิมาลัย และประเทศจีน
มนุษย์รู้จักใช้ประโยชน์จากกัญชามานับแต่ดึกดำบรรพ์ สามารถย้อนกลับไปได้ไกลถึงราว 26,900 ปีก่อนคริสตกาลใน “ยุคหินเก่า” พบหลักฐานการนำเอาเส้นใยของกัญชามาผลิตเป็น “เส้นเชือก”โดยค้นพบเชือกโบราณจากเส้นใยของต้นกัญชาในสาธารณรัฐเช็ก เมื่อปี ค.ศ.1997 และเมื่อราว 8,000 ปีก่อนคริสตกาล เริ่มมีการปลูกกัญชาในแปลงเกษตร และมีการนำเอาเส้นใยของกัญชามาใช้ในงานเครื่องปั้นดินเผ่าของชนโบราณในแถบไต้หวัน
สำหรับการรับประทานกัญชา หลักฐานแรกสุดที่แสดงให้เห็นถึงการนำกัญชามา “รับประทาน” เกิดขึ้นในประเทศจีนเมื่อประมาณ 6,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวจีนโบราณในยุคนี้จะนำเมล็ดกัญชามาสกัดเป็นน้ำมันเพื่อนำมาใช้เป็นอาหารอย่างนั้นก็ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนระบุว่า อาหารที่มีส่วนผสมของกัญชาจะออกฤทธิ์ให้คนที่ลิ้มรสต้องออกอาการเคลิบเคลิ้มด้วยหรือไม่
หลักฐานแรกที่บ่งบอกว่าชนโบราณรู้จัก “สรรพคุณ” ของกัญชาในแง่ของยารักษาโรคก็มาจากจีนโบราณ มีการนำเอากัญชามาสกัดเป็นยาเกิดขึ้นในสมัยของจักรพรรดิเสินหนง (Shen Nen) เมื่อราว 2,737 ปีก่อนคริสตการ
คนจีนสมัย 6,000 ปีก่อนคริสตกาล บริโภคกัญชา
เมื่อราว 2,737 ปีก่อนคริสตกาล และในช่วงนี้เองครับที่พลังแห่งความมึนเมา ทำให้จิตล่องลอยประหนึ่งว่าสามารถติดต่อกับพลังเหนือธรรมชาติได้ของกัญชาเริ่มถูกนำมาเชื่อมโยงกับตำนานและพลังอันศักดิ์สิทธิ์ของเทพเจ้ามากขึ้น ส่งผลให้พืชมหัศจรรย์ชนิดนี้กลายมาเป็นหนึ่งในเครื่องบูชาที่ขาดไม่ได้ของพิธีกรรมในหลากหลายอารยธรรมโบราณทั่วโลก เช่น
ชาวอินเดียโบราณมีการนำเอาใบกัญชาแห้ง, เมล็ดและกิ่งก้านของต้นกัญชามาใช้เป็นยาที่เรียกว่า “บัง” (Bhang) และยาชนิดนี้ก็ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ที่เรียกว่า “คัมภีร์อาถรรพณ์เวท” (Atharvaveda) ในฐานะ “หญ้าศักดิ์สิทธิ์” และชาวฮินดูก็จะใช้ยาที่เรียกว่า “บัง” นี้ในพิธีกรรมเพื่อถวายแด่พระศิวะตามความเชื่อของพวกเขาด้วยเช่นกัน
นอกจากอินเดียแล้ว อีกหนึ่งอารยธรรมโบราณที่มีหลักฐานของการใช้กัญชาในเชิงความเชื่อ, พิธีกรรมคือ ชาวอียิปต์โบราณ นักอียิปต์วิทยาทราบว่าชาวไอยคุปต์เรียกกัญชาในภาษาของพวกเขาเองว่า “เชมเชมตู” (Shemshemtu) พืชชนิดนี้ถูกนำไปใช้ประโยชน์หลากหลาย ทั้งการนำไปแปรรูปเป็นเส้นเชือกและใบเรือเหมือนกับชนโบราณกลุ่มอื่นๆของโลก
และมีหลักฐานที่น่าเชื่อถือที่แสดงให้เห็นว่าชาวไอยคุปต์ทราบถึงประโยชน์ในทางการแพทย์ของกัญชาก็คือ กระดาษปาปิรัสทางการแพทย์อายุราว 1,600 ปีก่อนคริสตกาล ที่ระบุถึงการนำพืช “เชมเชมตู” และน้ำผึ้งมาเป็นส่วนประกอบของยาที่ช่วยในการคลอดบุตร นอกจากนั้นยังมีสูตรยาที่นำเอากัญชามาเป็นส่วนผสมของยาสำหรับล้างตาเพื่อรักษาอาการต้อหิน แสดงให้เห็นว่าชาวไอยคุปต์ก็มีการใช้ประโยชน์จากกัญชาในเชิงการแพทย์มายาวนานแล้ว
กัญชา และ กัญชง (Cannabis) เคยเป็นหนึ่งในพืชทางการเกษตรที่สำคัญที่สุดของมนุษยชาติ จนกระทั่งถึงศตวรรษที่ผ่านมา และเป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจอย่างมากเมื่อความนิยมของ กัญชง ได้ลดน้อยลง จนถึงขนาดที่ว่า ผู้คนทั่วไปแทบจะไม่รู้จักว่าพืชชนิดนี้คืออะไร มีประโยชน์อะไรนอกจากจะเป็นพืชที่ทำให้คุณมึนเมา
กัญชง (Hemp) เป็นพืชที่ปลูกเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการทำเส้นใย และสิ่งทอ นักโบราณคดีพบเศษผ้าเส้นใยกัญชงในเมโสโปเตเมียโบราณ ซึ่งในปัจจุบันคืออิหร่านและอิรัก ซึ่งมีอายุประมาณ 8,000 ปีก่อนคริสตกาล และเชื่อกันว่าอุตสาหกรรมกัญชง คือหนึ่งในตัวอย่างอุตสาหกรรมที่เก่าแก่ที่สุดของมนุษย์
​จากบันทึก Lu-Shi บันทึกโบราณของจีนที่เขียนในช่วงราชวงศ์ซ่ง (Song Dynasty) ช่วง ค.ศ. 500 มีการกล่าวถึงจักรพรรดิ Shen Nung ที่สอนให้ประชนรู้จักการปลูก กัญชง เพื่อนำเส้นใยมาทอเป็นผ้า ใช้ทำเครื่องนุ่งห่ม และเชื่อกันว่า กัญชง ได้เดินทางถึงยุโรปเมื่อประมาณ 1,200 ปีก่อนคริสตกาล ก่อนที่ความนิยมจะกระจายไปทั่วโลก
ประเทศจีนมีประวัติการปลูกกัญชงที่ยาวนานที่สุด ยาวนานมากว่า 6,000 ปี ประเทศฝรั่งเศสปลูก กัญชง มาเป็นเวลานานกว่า 700 ปี เช่นเดียวกับ สเปน และ อิตาลี ส่วนรัสเซียก็เป็นผู้ปลูกรายใหญ่มาหลายร้อยปี และประเทศไทยเองมีการปลูกมากว่า 300 ปี
ชาวจีนเป็นผู้คนกลุ่มแรกที่ใช้ประโยชน์จาก กัญชง โดยนำมาผลิตเป็นกระดาษ "กระดาษกัญชง" แผ่นแรกของโลกเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาประมาณ 150 ปีก่อนคริสตกาล เอกสารที่เก่าแก่ที่สุดที่บันทึกลงบนกระดาษกัญชง คือ คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาในช่วงยุคคริสต์ศตวรรษที่ 2 และ 3 นั้นถูกสร้างขึ้นมาจากเปลือกไม้ และเส้นใยกัญชง
ทั่วโลกได้มีการนำ กัญชง มาใช้เป็นยารักษาโรคมาหลายทศวรรษ โดยมีการนำ ใบ เมล็ด และราก ของกัญชง มาใช้ในการรักษาโรคโดยวิธีการแบบพื้นบ้าน และใช้ทำเป็นตำรับยาแผนโบราณ ซึ่งเมล็ด และใบของ กัญชง มีสรรพคุณในการรักษาอาการต่างๆ เช่น การมีบุตรยาก อาการชักกระตุก ข้ออักเสบ รูมาติซึม โรคบิดและการนอนไม่หลับ เป็นต้น
ในช่วงยุคกลางของยุโรป (คริสต์ศตวรรษที่ 5 - 15) กัญชง กลายเป็นพืชการเกษตรที่สำคัญ และมีมูลค่าทางเศรษฐกิจ และสังคม โดย กัญชง ได้เป็นส่วนสำคัญของ อาหาร และเส้นใย ที่ป้อนสู่ตลาดโลก ได้มีการผลิตผ้าใบจากกัญชง - Canvas (มาจากคำว่า Cannabis) เชือกกัญชง และด้ายดิบสำหรับอุดรอยรั่ว (oakum) มาใช้ในเรือสำเภา เพราะวัสดุเหล่านี้ทนต่อน้ำทะเลและมีความแข็งแรงมากกว่าฝ้ายถึง 3 เท่า
เส้นใยที่ผลิตผ้าใบจากกัญชง
ในปี ค.ศ. 1535 ที่สหราชอาณาจักร ในรัชสมัยของพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ได้ออกพระราชบัญญัติให้เกษตรกรทุกคน ปลูกกัญชงให้ได้ 1/4 เอเคอร์ หากไม่ปฏิบัติตามอาจถูกเทียบปรับ ในช่วงเวลานี้ กัญชง ถือว่าเป็นพืชที่สำคัญมากเนื่องจาก 80% ของเสื้อผ้าในปี 1920 นั้นผลิตมาจากเส้นใยกัญชง
เชื่อกันว่า กัญชง มีต้นกำเนิดในอเมริกาเหนือนานมาก่อนที่ชาวยุโรปจะมาตั้งถิ่นฐาน ในศตวรรษที่ 16 Jacques Cartier ได้บันทึกไว้ว่า "frill of hempe which groweth of itselfe, which is as good as possibly may be scene, and as strong."
ที่ตีความได้ว่า เมื่อชาวพิวริตัน จากยุโรปได้ปักหลักลงที่แผ่นดินอเมริกา ก็ได้เห็นกัญชง มากมายเติบโต และแพร่ขยายในเกือบทุกรัฐ ได้แก่ แคลิฟอร์เนีย เคนตักกี้ นิวยอร์ก โอเรกอน ยูทาห์ เท็กซัส นิวอิงแลนด์ เวอร์จิเนีย แมสซาชูเซตส์ ลุยเซียนา และมิสซูรี
The Anatomy Melancholy By Democritus Junior
ที่แคนาดา ก่อนที่จะมีการการก่อตั้งสมาพันธรัฐแคนาดา กัญชง เติบโตขึ้นทั่วทุกเมืองทางภาคตะวันตก และภาคกลาง โดยเป็นที่รู้กันดีว่าถูกปลูกภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส และ เป็นพืชชนิดแรกที่ได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาล ในปี ค.ศ. 1801 รองผู้ว่าการรัฐแคนาดาตอนบน ได้แจกจ่ายเมล็ดพันธุ์กัญชง ให้กับเกษตรกร
Edward Allen Talbot, Esq. ได้เขียน“ Five Years ’Residence in the Canadas” ในขณะที่อาศัยอยู่ในแคนาดาในช่วงทศวรรษที่ 1820 โดย Talbot เขียนว่า ถ้าหากแคนาดาผลิต กัญชง ได้เพียงพอที่จะส่งให้ สหราชอาณาจักร (Britain) จะทำให้มีการยุติการพึ่งพาอำนาจจากต่างประเทศ และเป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้ตั้งถิ่นฐานชาวแคนาดา
ในปี ค.ศ. 1822 รัฐสภาจังหวัดของแคนาดาตอนบนได้จัดสรรเงิน 300 ปอนด์สำหรับการซื้อเครื่องจักรเพื่อแปรรูป กัญชง และ 50 ปอนด์ต่อปี ในการซ่อมแซมเป็นระยะเวลาสามปี งบประมาณปี ค.ศ. 1923 ได้จูงใจผู้ผลิตในประเทศ นาย Fielding รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกล่าวว่า "มีตลาดกัญชงในแคนาดา และด้วยการสนับสนุนบางส่วนจากภาครัฐ
ทำให้สามารถจัดตั้งโรงงาน กัญชง ใน รัฐแมนิโทบา (Manitoba) เพื่อแปรรูปผลผลิตในบริเวณใกล้เคียง" ซึ่งในขณะนั้นมีโรงงานผลิตกัญชง 6 แห่งในแคนาดา และรัฐบาลได้ให้เงินสนับสนุนสร้างโรงงานแห่งที่ 7 คือ Manitoba Cordage Company
แม้ว่ากัญชงจะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอเมริกาเหนือในช่วงแรก แต่ในที่สุดก็ถูกลดความสำคัญลงด้วยการเข้ามาของ ฝ้าย เนื่องจากการเก็บเกี่ยว กัญชง ใช้แรงงานมาก และเมื่อการประดิษฐ์เครื่องปั่นฝ้ายในปลายศตวรรษที่ 18 ทำให้การแปรรูปฝ้ายง่ายขึ้น ทำให้ กัญชง ไม่สามารถแข่งขันได้อีกต่อไป ในสมัยนั้นการแปรรูป กัญชง จะทำด้วยมือ ซึ่งใช้แรงงานมาก และมีค่าใช้จ่ายสูง
ทำให้ไม่ได้รับตอบความต้องของการผลิตเชิงพาณิชย์สมัยใหม่ ในปี ค.ศ. 1917 George W. Schlichten ชาวอเมริกันได้จดสิทธิบัตรเครื่องจักรสำหรับแยกเส้นใยกัญชง (‘Hurds’) ซึ่งช่วยลดต้นทุนแรงงานได้ และเพิ่มผลผลิตเส้นใยอย่างมาก แต่ในขณะนั้นก็ไม่ได้รับทุนสนับสนุนเครื่องจักรในเชิงพาณิชย์
วิกฤตการณ์ของกัญชง เกิดขึ้นในอเมริกาในช่วง ค.ศ. 1930 เนื่องจากมีการสร้างโฆษณาชวนเชื่อ จากผู้ที่ได้รับประโยชน์จากบริษัทผลิตเส้นใยสังเคราะห์จากปิโตรเลียม และจากหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ ที่เห็นว่า กัญชง จะเป็นภัยคุกคามที่ต่อธุรกิจ
ในปี ค.ศ. 1930 บริษัทดูปองท์ ได้จดสิทธิบัตร "เส้นใยพลาสติก" และในช่วงนี้เองก็ได้มีเครื่องจักรใหม่ ที่สามารถแยกเส้นใยของ กัญชง ออกวางจำหน่าย นวัตกรรมนี้ทำให้การเก็บเกี่ยวและผลิตง่ายขึ้น และทำให้มีประสิทธิภาพด้านต้นทุนผลิตที่สูงขึ้น
นอกจากนี้ผู้ผลิตยังได้ในผลพลอยได้ที่ได้จากกัญชง เช่น น้ำมันเมล็ดเพื่อนำมาทำสี และแล็กเกอร์ และแกนลำต้นเพื่อนำมาทำกระดาษตามที่เขียนไว้ในนิตยสาร Popular Mechanics ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1938 (เขียนต้นปี ค.ศ. 1937) กัญชง ก็ใกล้จะกลายเป็น“ พืชผลพันล้านดอลลาร์”
อย่างไรก็ตามในเดือนกันยายน ค.ศ. 1937 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของ บริษัท สิ่งทอสังเคราะห์ (เช่นดูปองท์) และกลุ่มที่มีอำนาจอื่น ๆ อีกหลายกลุ่มที่เห็นว่า กัญชง เป็นภัยคุกคามใหญ่ต่อธุรกิจของพวกเขา โดยได้เสนอกฎหมายภาษีต้องห้าม และเรียกเก็บเงินจากการประกอบอาชีพค้าขายกัญชง
ต่อมาในปีเดียวกัน การผลิตกัญชง ถูกห้ามโดยสิ้นเชิง รัฐบาลแคนาดาดำเนินการตามคำสั่งผู้นำอเมริกันโดยการห้ามผลิตภายใต้พระราชบัญญัติฝิ่น และยาเสพติดเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1938
จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้เกิดโอกาสครั้งใหม่ การที่ญี่ปุ่นรุกรานฟิลิปปินส์ในปี ค.ศ. 1942 สหรัฐอเมริกาไม่สามารถนำเข้ากัญชงได้อีก จากที่เป็นผู้นำเข้าที่ใหญ่ที่สุด และเพื่อตอบสนองความต้องการของ กัญชง ที่ถูกนำไปใช้ในการผลิตเพื่อใช้ในการสงคราม รัฐบาลสหรัฐอเมริกาและแคนาดาได้ยกเลิกข้อบังคับเกี่ยวกับการปลูกกัญชง
จนกระทั่งสิ้นสุดสงคราม เกษตรกรที่ได้รับใบอนุญาตพิเศษสามารถปลูก กัญชง เพื่อจัดส่งไปใช้สำหรับการสงคราม ในการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกกัญชง กระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกาได้เปิดตัวภาพยนตร์เรื่อง “Hemp for Victory”
อย่างไรก็ตามยังมีการห้ามปลูกกัญชง หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงแม้ว่าในอดีตมีการนำกัญชงมาใช้ที่อย่างหลากหลาย แปลเปลี่ยนเป็นสินค้ากว่า 25,000 รายการ ตั้งแต่ สีหมึกพิมพ์ เคลือบเงา กระดาษ เอกสารราชการ ธนบัตร อาหารสิ่งทอ (กางเกงยีนส์ 'Levi's' ดั้งเดิมทำมาจากกัญชง) ผ้าใบ (ใช้ภาพวาดของศิลปินที่มีชื่อเสียง) และวัสดุก่อสร้าง
โดยมีการเขียนคำประกาศอิสรภาพบนกระดาษกัญชง การพัฒนาทางเทคนิคที่ทันสมัย การใช้งานได้เพิ่มขึ้นในบอร์ดคอมโพสิต เบรกยานยนต์และแผ่นคลัทช์ พลาสติก เชื้อเพลิง ไบโอดีเซล และเชื้อเพลิงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
โฆษณา