Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Think Trade Think DITP
•
ติดตาม
17 มิ.ย. 2022 เวลา 23:00 • ธุรกิจ
ตลาดหมากในบังกลาเทศ
คนบังกลาเทศนิยมในการเคี้ยวหมาก ในเมืองหลวงกรุงธากา เราสามารถพบเห็นพ่อค้าหลากหลายวัย ตั้งแต่ชายหนุ่มวัยรุ่นจนถึงชายวัยชราที่เป็นพ่อค้ารายย่อยตั้งร้านขายหมากเล็กๆ ซุกซ่อนอยู่ตามหลืบมุมถนน ขายหมากพลูบุหรี่วางเรียงเต็มถาดที่ซ่อนๆกันให้บริการแก่ผู้สัญจรผ่านไปมา และพร้อมจะยกโต๊ะขึ้นทูนวางบนศีรษะและเดินจากไป
เนื่องจากรัฐบาลบังกลาเทศไม่อนุญาตให้ตั้งร้านค้าหรือแผงลอยข้างถนนเมื่อเห็นเจ้าหน้าที่เทศกิจเดินตรวจตราผ่านไปมา นอกจากร้านค้าริมทางแล้ว ในตลาดทั่วไปจะมีร้านขายหมากพลูอยู่ทุกตลาดทั้งในเมืองและชนบท
1
พ่อค้าที่พอมีเงินทุนบ้างจะเช่าพื้นที่แผงในตลาดเพื่อ ค้าขายหมากพลูบุหรี่และขนมขบเคี้ยวอื่นๆ ร้านขายยาสมัยใหม่บางร้านมีบริการขายหมากพลูแก่ลูกค้าด้วย ผู้ค้าสมัยใหม่บางรายนำหมากพลูและกรรไกรปอกหมากขึ้นวางขายบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ชชื่อดังอย่าง Daraz (แพลตฟอร์มเดียวกับ Lazada) และ chaldal
1
การเคี้ยวหมากของคนบังกลาเทศนิยมเคี้ยวกันทุกชนชั้น หมากเป็นองค์ประกอบสำคัญของวัฒนธรรมบังกลาเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทที่ใช้หมากพลูเป็นสิ่งต้อนรับแขกผู้มาเยือน หรือเคี้ยวเล่นเป็นของว่าง
1
โดยแต่ละบ้านมักจะมีการจัดวางหมากที่ผ่านการตัดแต่งเป็นแว่นหรือเป็นชิ้น รวมทั้งพลูที่เจียนอย่างสวยงามเป็นสิ่งต้อนรับแขก เป็นเครื่องชูรสในการต้อนรับแขก ในการพูดคุยเจรจาระหว่างเจ้าของบ้านและผู้มาเยือน
นอกจากนั้นหมากในบังกลาเทศยังมีเครื่องเคียงที่เป็นส่วนผสมนอกจาก ปูนที่ผู้บริโภคสามารถเลือกมาผสมเพื่อเพิ่มรสชาติของหมากได้เพิ่มเติม บางพื้นที่โดยเฉพาะในชนบทยังนิยมใช้หมากพลูตกแต่ง เป็นองค์ประกอบในพิธีกรรมบางอย่างด้วย
1
การผลิตหมากในบังกลาเทศ
พื้นที่เพาะปลูกหมากของ บังกลาเทศระหว่างปีงบประมาณ 2558-2563 มีพื้นที่เพาะปลูกโดย เฉลี่ย 1.73 แสนไร่ ปริมาณผลผลิต หมากเฉลี่ยในช่วงปีเดียวกัน 2.76 แสนตัน อัตราการเจริญเติบโตมีผัน ผวนบ้างตามสภาพอากาศ
1
บังกลาเทศมีผลผลิตหมากโดยเฉลี่ยคำนวณจากสถิติประมาณไร่ละ 2 ตัน ซึ่งตามปกติแล้วคนบังกลาเทศนิยมปลูกหมากเพียงประปรายในหัวไร่ปลายนา เพื่อเก็บผลผลิตไว้บริโภคในครัวเรือน
1
มีผู้ลงทุนทำการเพราะปลูกเป็นสวนหมากเพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตเป็นการเฉพาะบ้างในพื้นที่ชนบทส่วนที่เหลือจากการบริโภคจะมีพ่อค้าเร่รับซื้อ รวบรวมส่งตลาดอีกทอดหนึ่ง
โดยเฉลี่ยต้นหมากใช้เวลา 5 ปีจึงจะสามารถใหลได้ ต้นหมากเป็นพืชที่ใช้ตทุนในการดูแลรักษาน้อย แต่ให้ผลตอบแทนที่ดีและมีอายุการให้ผลประมาณ 40-50 ปี ผลหมากสามารถนำมาบริโภคได้ทั้งผลอ่อนและผลแก่
ตารางที่ 1 พื้นที่เพาะปลูกและปริมาณการผลิตหมากของบังกลาเทศ
การนำเข้า
ตามสถิติของ Global Trade Atlas ณ เดือนมีนาคม 2565 รายงานว่าในปี 2564 บังกลาเทศเป็นผู้นําเข้าหมากรายใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก โดยมีประเทศเมียนมาร์เป็นผู้นำเข้าสำคัญลำดับ 1 และลำดับที่ 3 ประเทศอินเดีย ลำดับที่ 4 ประเทศ ซาอุดิอาระเบีย และลำดับที่ 5 ประเทศอิหร่าน โดยมีประเทศอินโดนีเซีย ไทย เป็นผู้ส่งออกรายใหญ่
บังกลาเทศมีการนําเข้าหมากเพิ่มขึ้นเป็นประจำทุกปี ยกเว้นในปี 2562-63 ที่ปริมาณนำเข้าลดลงร้อยละ 23 ปริมาณ
การนําเข้าและมูลค่าการนำเข้าหมาก ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา
ตารางที่ 2 ปริมาณและมูลค่าการนำเข้าหมากของบังกลาเทศ
ในปีงบประมาณ 2563-64 สถิติการนำเข้าหมากของบังกลาเทศจากสำนักงานสถิติแห่งชาติบังกลาเทศ รายงานว่า
นำเข้าหมากจากอินโดนีเซีย ปริมาณ 1.7 หมื่นตัน มูลค่า 30.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีส่วนแบ่งเชิงปริมาณและเชิงมูลค่า ประมาณร้อยละ 50
นำเข้าจากไทยประมาณ 1.1 หมื่นตัน มูลค่า 19.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีส่วนแบ่งเชิงปริมาณและเชิงมูลค่า ประมาณร้อยละ 32
นำเข้าจากสิงคโปร์ประมาณ 4 พันตัน มูลค่า 7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีส่วนแบ่งเชิงปริมาณและเชิงมูลค่า ประมาณร้อยละ 11
ส่วนที่เหลือนำเข้าจากมาเลเซีย เมียนมาร์และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
ส่วนแบ่งการนำเข้าหมากของบังกลาเทศ ปีงบประมาณ 2563-64
สถิติการนำเข้าหมากจากประเทศไทย
บังกลาเทศนำเข้าหมากจากประเทศไทยมาเป็นลำดับ ข้อมูลรายงานจากสำนักงานสถิติแห่งชาติบังกลาเทศระบุว่า ในปีงบประมาณ 2563-2564 บังกลาเทศนำเข้าหมากจากไทยเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 127.5 ปริมาณ 1.1 หมื่นตัน มูลค่า 19.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
อัตราภาษีนําเข้า
ในปีงบประมาณ 2564-65 อัตราภาษีรวมสำหรับการนำเข้าหมากของบังกลาเทศร้อยละ 104.68 ของมูลค่าสินค้า การประเมินมูลค่าของศุลกากร รัฐบาลยังได้กําหนดมูลค่าขั้นต่ำ ดังนี้
- หมากสดทั้งผล 1.00 เหรยี ญสหรัฐฯ ต่อกิโลกรัม หมากสดผ่าครึ่ง 1.25 เหรียญสหรัฐฯ ต่อกิโลกรัม
- หมากแห่งทั้งผล 1.50 เหรียญสหรัฐฯ ต่อกิโลกรัม หมากแห่งผ่าครึ่ง 1.75 เหรียญสหรัฐฯ ต่อกิโลกรัม
ระเบียบการนําเข้าหมาก
การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ บังกลาเทศกำหนดให้ผู้นำเข้าต้องมีใบอนุญาตนำเข้า (Import Permit (IP)) ก่อนจึงจะ สามารถนำเข้าสินค้าได้ ใบอนุญาตนำเข้าถือว่าเป็นเอกสารสำคัญที่ผู้นำเข้าทุกรายจะต้องผ่านการขึ้นทะเบียนเพื่อดำเนินธุรกิจ ตามขั้นตอนที่กฎหมายบังกลาเทศกำหนด
เอกสารประกอบการนำเข้าที่หน่วยงานในประเทศบังกลาเทศต้องการเพื่อใช้ในพิธีการตรวจสอบ ได้แก่
- ใบรับรองสุขอนามัยพืช (Phyto sanitary certificate)
- ใบรายงานผลผ่านการทดสอบการปราศจากการปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสี (Radioactivity tests report)
- ใบรับรองสุขอนามัย (Health Certificate) ที่ต้องระบุชัดเจนว่า เหมาะสำหรับการบริโภคของมนุษย์ (Fit for human consumption)
- เอกสารแสดงถิ่นกำเนิดสินค้า (Country of Origin Certificate)
ใบอนุญาตนําเข้า (IP) ออกโดยแผนกนพืชของกรมส่งเสริมการเกษตร (ภายใต้กระทรวงเกษตรบังกลาเทศ) เอกสารที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ออกโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของประเทศผู้ส่งออก ผู้สนใจศึกษาได้จากเอกสารแนะนำขั้นตอนการส่งออกหมากสด หมากแห่งได้ที่เวปไซต์กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
ผลการศึกษาขององค์กรอนามัยโลก เรื่อง Betel quid chewing and its risk factors in Bangladeshi adults เมื่อปี 2555 พบว่า
โดยรวมแล้ว 31% ของกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเคี้ยวหมากเป็นประจำ พบความชุกในชนบทสูงกว่าสองเท่า(43.2%) เมื่อเทียบกับเขตเมือง (19.1%)
เป็นเพศชาย (29.8%) เพศหญิง (31.8%)
เป็นคนในกลุ่มอายุ 40 ปี ขึ้นไป (68.8%)
ชาวมุสลิม (30.4%) ชาวฮินดู (นิยมใช้หมากพลูในการบริโภคและบวงสรวง) (41.4%) ชาวคริสต์ (27.5%)
แต่งงาน (36.3%) หม้าย (64.3%)
ไม่ได้เข้าโรงเรียน (59.9%) การศึกษาสูง (7.3%)
อาชีพเกษตรกร (55.3%) ทำอาชีพอิสระ (35.8%) ทำธุรกิจ (31.8%)
ความถี่ของการเคี้ยวหมากพลู 5.15 ครั้งต่อวัน ใช้เงินเพื่อซื้อขายต่อครั้งโดยเฉลี่ย 2.29 ตากา (USD 0.03 ณ ปี 2555)
ปีจจุบันจากการสำรวจตลาดของสำนักงานฯ พบว่า การเคี้ยวหมาก 1 คำ ซึ่งประกอบไปด้วยหมากที่ หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ บางๆ 4-5 ชิ้น พลูสด 1 ใบ และปูนขาวป้ายเล็กน้อย ราคา 5 ตากา (USD 0.05 หรือเท่ากับ 1.92 บาท ณ อัตราแลกเปลี่ยนวันที่ 31 พฤษภาคม 2565) หากผู้บริโภคต้องการใส่เครื่องเคียงเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มรสชาติ เช่น ผงกระวาน มะพร้าวแห่ง อบเชย เป็นต้นจะต้องเพิ่มเงินขึ้นตามส่วน
ความต้องการนำเข้าหมากของบังกลาเทศยังคงมีอยู่มาก โดยมีคู่แข่งสำคัญ ได้แก่ อินโดนีเซีย ผู้ประกอบการไทย อาจติดต่อผู้นำเข้าเพื่อศึกษาลู่ทางขยายมูลค้าการค้าและเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดให้มากขึ้น พร้อมกับการรักษาคุณภาพสินค้า ให้สม่ำเสมอ ส่งมอบสินค้าตรงเวลา
แม้ว่าหมากจะเป็นสินค้าที่มีโอกาสทางการตลาดอยู่มาก แต่มีผลการศึกษายืนยันความสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งในช่องปากของผู้ที่บริโภคหมากเป็นระยะเวลานาน รัฐบาลบังกลาเทศจึงมีนโยบายรณรงค์เพื่อลดอัตราการเกิดโรค ดังกล่าว และมุ่งไปที่การลดบริโภคหมากเป็นสำคัญ
ซึ่งอาจมีความเป็นไปได้ที่จะมีการออกมาตรการเพิ่มความยุ่งยากในการนำเข้า ซึ่งผู้ส่งออกต้องติดตามสอบถามข่าวคราวความเปลี่ยนแปลงกับผู้นำเข้าหรือติดต่อสอบถามสำนักงานส่งเสริมการค้าใน ต่างประเทศ ณ กรุงธากา
เยี่ยมชม
ditp.go.th
ตลาดหมากในบังกลาเทศ
ตลาดหมากในบังกลาเทศ
บังกลาเทศ
การตลาด
หมาก
บันทึก
2
1
2
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย