13 มิ.ย. 2022 เวลา 03:20 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ตามหลักทฤษฎี Momentum
เงินเฟ้อเพิ่งอยู่แค่ช่วงกลาง เองนะคะ !!
(ถ้าไม่มีอะไรมาเบรค ไหลต่อยาวๆแน่ TT)
ธุรกิจอะไรที่ "ไม่ใช่" เบอร์หนึ่ง ไม่ใช่เจ้าตลาด ธุรกิจที่ขายสินค้าและบริการทางเลือก หรือธุรกิจที่มีศักยภาพต่ำ ในการส่งต่อภาระต้นทุนให้ลูกค้า
1
วิกฤตแน่ค่ะ !!
Sme. รอบนี้หนักมาก ไม่ได้เพิ่งฟื้นนะคะ เพิ่งแค่โงหัวขึ้นจาก โควิด แล้วก็ต้องมา เงินเฟ้อ โอกาสล้มเป็นโดมิโน่สูงมากค่ะ
จากที่เคทสำรวจเพื่อนๆในแวดวงธุรกิจ ร้านอาหารนะคะ
ปีนี้ เซ้งร้านกันหนักมาก และเซ้งในอัตราที่เร่งตัว
ร้านอาหารหลายร้านต้องยอมกลืนเลือดเพื่อที่จะประคับประคองไปให้ได้ (ในจุดนี้ก็อยากให้เพื่อนๆพี่น้อง เข้าใจ ถ้าหากพบร้านอาหารขึ้นราคาอีกรอบนะคะ )
 
รอบนี้จะเป็นช่วงที่ยากลำบากอีกครั้งของผู้ประกอบการ
นี่ขนาด " ค่าแรงขั้นต่ำ " ยังไม่ขึ้นนะคะ
(ซึ่งมองว่ายังไงคงต้องปรับขึ้น)
และเมื่อถึงวาระต้องขึ้นค่าแรง อัตราว่างงานจากนี้ไป จะเพิ่มสูงขึ้น ผู้ประกอบการรายใหญ่จะหันพึ่ง หุ่นยนตร์มากขึ้น ไม่เฉพาะแค่ในระดับโรงงาน แค่ในร้านอาหาร เราก็คงเห็นกันมากขึ้น
อย่างในช่วงเปลี่ยนผ่านก่อนปี 2020 ที่ผ่านมา มีหลายโรงงานมากที่ สามารถนำ เครื่องจักรประเภทหุ่นยนตร์ หรือแขนกล มาแทนแรงงานคน (และคนใกล้ตัวก็เริ่มพูดถึงนวัตกรรมเอไอกันมากขึ้น)
คาดว่าภายในปี 2030 หุ่นยนตร์จะมีศักยภาพแทนที่แรงงานคนราวๆ 380 ล้านตำแหน่ง !!
ย้ำอีกครั้ง ราวๆ 380,000,000 ตำแหน่ง !!
หรือเกือบๆ 8% (ของแรงงานทั่วโลก) ภายในระยะเวลา 10 ปีต่อจากนี้ และอาจจะกลายเป็นอัตราเร่งขึ้นในปีถัดๆไป จนกว่าเราจะพบสมดุลใหม่ ซึ่งน่ากลัวมากนะคะ
นอกจากอัตราการวิ่งขึ้นของน้ำมัน ที่ไต่ระดับองศาสวย และคล้ายๆเกิด handle เล็กๆ เสมือนกำลังจะเบรค ที่เป็นตัวคูณแรก
การปรับอัตราค่าจ้างนี่แหละค่ะ คือ ตัวคูณที่สำคัญ
ที่ทำให้เคทมองภาพของ " เงินเฟ้อ " ว่าเพิ่งอยู่ในช่วงกลาง
เมื่อต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น ย่อมทำให้เกิดการเรียกร้องค่าแรงที่สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ (จะเรียกสูงกว่า10%)
ตัวคูณตัวถัดไป คือ การที่ปัจจัยการผลิตยังคงขาดแคลนอยู่ รวมถึง ผลผลิตการเกษตรที่ไม่เป็นไปตามฤดูกาล (ซึ่งยังมาไม่ถึง) แต่ถ้าโชคดี ตัวคูณนี้ก็จะหายไป
ตัวคูณถัดไป คือ ปริมาณประชากรที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ทำให้มีแรงดึงของอุปสงค์ต่อเนื่อง ในกรณีนี้เคทมองถึง จำนวนของชาวต่างชาติ ที่เข้ามาเพิ่ม แทนการใช้จำนวนประชากรขยายตัวภายใน พอมีกำลังซื้อกระจุกตัวสูง ทำให้ราคาสินค้าจะยังคงไม่ปรับลด ทรัพยากรจะยังคงถูกดึงไปใช้ในวงแคบที่มีศักยภาพสูง
ซึ่ง 2 ข้อหลังเราจะมองว่าเป็นปัญหาที่เกิดจากโครงสร้างอุปสงค์เปลี่ยนแปลงก็ได้ (structural inflation)
ในช่วงที่เศรษฐกิจเกิดรูปแบบ Stagflation อย่างในปัจจุบัน เป็นเรื่องไม่ง่ายนักที่จะแก้ไข
เพราะแม้จะเกิดเงินเฟ้อ แต่ขณะเดียวกันก็เกิดภาวะเงินฝืดไปพร้อมกัน ไม่ได้เฟ้อจากเศรษฐกิจที่แข็งแรงเติบโต เมื่อราคาสินค้าและบริการถีบตัวขึ้นสูง แต่ค่าแรงยังอยู่ในระดับต่ำ และอัตราว่างงานยังคงต่ำกว่าระดับปกติ ทำให้ ดีมานด์ ถดถอยไม่สอดคล้อง
ดังนั้น เมื่อสินค้าถีบตัวสูงขึ้น กำไรดีขึ้น แต่ปริมาณยอดขายอาจลดลง อาจทำให้สุดท้ายผลประกอบการโดยรวมไม่ได้เพิ่มขึ้น ยิ่งถ้าเป็นสินค้าที่ไม่ได้มีความจำเป็นมาก หรือเป็นสินค้าทางเลือก กำไรอาจจะไม่ได้เพิ่มขึ้นเลย
เราเรียกปัญหานี้ว่า wage price spiral แล้วก็วนลูปไปจนเป็นวงจรอุบาทว์ สุดท้ายทำให้ราคาสินค้าลอยตัวขึ้นไปต่อเนื่อง
เพื่อให้เห็นภาพ..........
ขอยกกรณีศึกษาของ ร้านอาหารญี่ปุ่น นะคะ
.
ช่วงที่ผ่านมา ปลาแซลม่อน ราคาถีบตัวสูงเป็นประวัติการณ์ จากกิโลละ 350 พุ่งขึ้นไปแตะ 700 บาท (ฟิลเลย์ตกกิโลละ 1,000) ราคาพุ่งไปเท่าตัว ภายในระยะเวลาสั้นๆ จริงอยู่ที่ร้านค้าสามารถปรับราคาสินค้าหน้าร้านได้ แต่....ในความเป็นจริง ร้านค้าจะไม่สามารถปรับราคาได้ในระดับเดียวกับราคาวัตถุดิบที่ขึ้นมา เพราะจะทำให้เกิดภาวะช็อคของตลาดทันที !!
ลองนึกภาพนะคะ ปกติเราขายซาซิมิแซลม่อนราคา 200 บาท/ขีด แล้วปรับราคาขึ้นตามวัตถุดิบ 100% เป็น 400บาท / ขีด ถ้าเราเป็นฝั่งผู้ซื้อจะรู้สึกยังไง แน่นอนค่ะ ดีมานด์ลดลงทันที
ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงคือ
ผู้ค้าจะปรับราคาได้ระดับนึง ไม่สัมพันธ์กับราคาวัตถุดิบที่พุ่งขึ้นมา ยอมลดกำไรลง เพื่อให้ขายได้ เห็นไหมคะจากเมื่อกี้ที่คิดว่ากำไรจะเพิ่มขึ้น กลายเป็นกำไรลดเพราะแบกต้นทุนเพิ่ม ราคาที่ปรับขึ้น ย่อมกดดันต่อ ดีมานด์ สุดท้ายมันก็ส่งผลกลับไปที่ ซัพพลาย เช่นกัน
1
การเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิตทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อที่ส่งผลให้การผลิตซบเซา จัดว่าเป็น aggregate supply ที่สมบูรณ์
วันนี้คร่าวๆก่อนนะคะ ไว้มีเวลาว่างๆคุยกันใหม่
เพื่อนๆมีความคิดเห็นอย่างไร แชร์กัน แลกเปลี่ยนกันได้นะคะ
** สนใจบทความ เกี่ยวกับ stagflation. กดที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้นะคะ https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1603108283379263&id=100010403208238
**สนใจบทความ #การจัดพอร์ตสู้เงินเฟ้อ กดที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้นะคะ
มิ้วๆนะ
โฆษณา