Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
พลาสติกไม่ใช่ผู้ร้าย
•
ติดตาม
13 มิ.ย. 2022 เวลา 09:45 • สิ่งแวดล้อม
ชวนวิเคราะห์รีฟิลโมเดลที่กำลังเป็นเทรนด์ของบริษัทยักษ์ใหญ่ FMCG หลายๆแบรนด์
แอดค่อนข้างชื่นชอบและสนับสนุนรีฟิลโมเดลเพราะผู้ใช้ไม่ต้องมาคอยคัดแยกขยะ หรือหาวิธีรียูสด้วยการประดิษฐ์ประดอยเอาไปประยุกต์ใช้ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์ทำจริงน้อยมากๆ
แต่เดี๋ยวก่อน...รีฟิลโมเดลหลายคนอาจจะนึกถึงถุงแบบเติม เช่น น้ำยาปรับผ้านุ่ม ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน ฯลฯ
ซึ่งมันก็เรียกว่าเป็นการรีฟิล (การเติม) แต่มันก็ยังคงเหลือขยะทิ้งไว้ที่ไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ แอดไม่ได้หมายถึงอันนั้น
รูปแบบที่แอดพูดถึงคือรูปแบบที่มาจากแนวคิดแบบเป็นขยะเป็นศูนย์(Zero-waste)คือทำอย่างไรให้ไม่หลงเหลือขยะอยู่เลยตะหาก แอดมองว่าเป็นโมเดลที่ช่วยแก้ปัญหาเรื่องขยะแบบ Single-use ได้ดีนะ เพราะอย่าลืมว่าเราเลี่ยงไม่ได้เลยบรรจุภัณฑ์แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง เราต้องเจอทางใดทางหนึ่งแน่นอน แล้วสุดท้ายเอาไปรีไซเคิลได้น้อยมาก รวมถึงค่าใช้จ่ายในการรีไซเคิลหรือจัดการขยะก็สูงขึ้นๆเรื่อยๆด้วย
มันคงจะดีกว่าถ้าสินค้าชนิดไหนเราเลี่ยงบรรจุภัณฑ์แบบใช้ครั้งเดียวได้ เราควรเลี่ยง หรือไม่ใช้เลย อาจจะหันมาลองใช้รีฟิลโมเดลกัน (ซึ่งตอนนี้ยังมีไม่เยอะ แต่อนาคตน่าจะมีมากขึ้นแหละ)
มาวิเคราะห์ข้อดีของโมเดลนี้กัน
1. ลดขยะบรรจุภัณฑ์พลาสติกแน่นอน
2. ลดค่าใช้จ่าย/ต้นทุน ของทั้งผู้บริโภคและผู้ผลิต
3. ลดคาร์บอนฟุตปริ้นท์ในเรื่องการผลิตบรรจุภัณฑ์ใหม่ การขนส่ง ฯลฯ
4. ลดภาระผู้บริโภคต้องคัดแยกขยะ
5. มีสติในการใช้สินค้าเท่าที่จำเป็น (เติมที่เท่าใช้จริง)
6. ปลูกฝังนิสัยการบริโภคสินค้าที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
ในบ้านเราก็จะเห็น refill station (จุดเติมสินค้า อาจจะเป็นร้านหรือ kiosk หรือซุ้มเล็กๆก็ได้ ) ยังมีอยู่ไม่เยอะมาก กระจายตามหัวเมืองในกรุงเทพฯ แอดมองว่าตอนนี้ถ้าไกลบ้านก็ยังไม่สะดวกเท่าไหร่
แอดหวังว่าจะมีร้านค้าแบบนี้มากขึ้น หรือแบรนด์เข้ามาทำ refill station เพิ่มขึ้นเยอะๆ แอดว่าน่ายินดีมากเลยนะ
#พลาสติกรีไซเคิล #รียูส #รีไซเคิล #ขยะใช้แล้วทิ้ง
ลดขยะ
การจัดการขยะ
แยกขยะ
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย