13 มิ.ย. 2022 เวลา 12:24 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ผู้ว่าแบงก์ชาติกล่าว ถ้าไม่รีบขึ้นดอกเบี้ย เศรษฐกิจจะเสียหาย
9
หลังจากเงินเฟ้อประเทศไทยเดือนที่แล้ว พุ่งขึ้นจนทำจุดสูงสุดในรอบ 14 ปี
วันนี้ นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าแบงก์ชาติ เป็นครั้งแรกที่ได้ออกมากล่าวว่าจะพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของประเทศไทย เร็ว ๆ นี้
2
เพราะหากขึ้นอัตราดอกเบี้ยช้าไป จะไม่เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจ
ทั้งยังเสริมเรื่องการสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจของไทยด้วย
2
คำกล่าวนี้ค่อนข้างจะชัดเจน และเป็นครั้งแรกที่มีสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ยในประเทศไทยจากธนาคารแห่งประเทศไทย ที่เรียกได้ว่าช่วงที่เหลือของปีนี้ เตรียมใจไว้ได้เลย ว่าดอกเบี้ยจะขึ้น
4
แล้วผู้ว่าแบงก์ชาติ มีมุมมองต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะสรุปให้ฟัง
ผู้ว่าแบงก์ชาติเริ่มจากการอธิบายว่า การขึ้นอัตราดอกเบี้ยของประเทศไทย จะขึ้นอยู่กับบริบทของประเทศเป็นหลัก
 
โดยเราจะไม่ได้ปรับขึ้นตามทิศทางของธนาคารกลางประเทศหลัก หากธนาคารกลางสหรัฐขึ้นดอกเบี้ย เราก็ไม่จำเป็นต้องขึ้นตาม
3
อย่างไรก็ตามการที่สหรัฐฯ ขึ้นดอกเบี้ย แต่เรายังไม่ขึ้น ก็มีโอกาสส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนย้ายของเงินทุน
แต่ผู้ว่าแบงก์ชาติก็ได้ยืนยันว่าปัจจุบัน เสถียรภาพด้านต่างประเทศของเรายังไม่มีปัญหาอะไร
เงินทุนยังไม่ได้มีการไหลออก แถมยอดสุทธิยังคงไหลเข้าด้วยซ้ำ
2
เพราะอย่างนั้น สิ่งที่จะมีผลต่อการพิจารณาขึ้นอัตราดอกเบี้ย
จะอยู่ที่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ และเสถียรภาพทางการเงินของประเทศไทยเราเอง
1
โดยบริบทของไทยแตกต่างจากประเทศอื่น ๆ ความเสี่ยงของเศรษฐกิจไทย
ในปัจจุบันมาจากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจาก ฝั่งอุปทานเป็นหลัก
3
โดยเฉพาะประชาชนที่มีรายได้น้อยถึงปานกลางอย่างประเทศไทย
การบริโภคอาหาร,​ เครื่องดื่ม และพลังงาน ถือเป็นสัดส่วนที่สูงมากต่อการดำรงชีวิต
และทั้ง 3 หมวดนี้ เป็นหมวดที่ราคาปรับขึ้นในอัตราที่สูงที่สุดในปัจจุบัน
2
จากการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินสัปดาห์ก่อน
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้จำลองโมเดลทางการเงินพบว่า
ถ้าเงินเฟ้อยังคงปรับตัวขึ้นในอัตรา 4-5% เทียบกับการปรับขึ้นดอกเบี้ยอัตรา 1%
ผลกระทบจากเงินเฟ้อ ต่อภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน จะเลวร้ายกว่ามากถึง 7 เท่าตัว
2
ที่ผ่านมา ประเทศไทยใช้นโยบายการเงินผ่อนปรนมาเป็นระยะเวลานานแล้ว
เมื่อเทียบกับภูมิภาค ดอกเบี้ยนโยบายของไทยต่ำสุดในภูมิภาค
ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อกลับสูงติดอันดับในภูมิภาค
2
โดยผู้ว่าแบงก์ชาติก็ได้เปรียบเทียบนโยบายดอกเบี้ยกับการขับขี่รถยนต์
หากปล่อยให้เครื่องยนต์เงินเฟ้อติดนานเกินไป
การจะถอนคันเร่งอย่างเดียวจะไม่พอ ต้องเหยียบเบรก
ถ้ายิ่งปล่อยไว้นาน ก็ต้องยิ่งเหยียบเบรกแรงขึ้น
4
แปลว่าหากขึ้นดอกเบี้ยช้าเกินไป โอกาสที่จะต้องขึ้นดอกเบี้ยมากขึ้นอีก ก็จะตามมา
ดังนั้น แนวทางการปรับขึ้นดอกเบี้ยของไทยต่อจากนี้ ก็คือ “ต้องอย่าทำช้าเกินไป เพื่อจะได้ไม่ต้องทำแรง”
8
นอกจากนี้ ผู้ว่าแบงก์ชาติยังเสริมเรื่องการสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจของไทย 5 ด้าน ได้แก่
1
1. เสถียรภาพด้านต่างประเทศของไทย
ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี เนื่องจากหนี้ต่างประเทศระยะสั้นไม่สูงมาก
ในขณะที่เงินทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง และสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้น 2-3 เท่า
5
2. เสถียรภาพทางการคลัง
1
หนี้สาธารณะต่อจีดีพี ในปัจจุบัน เพิ่มขึ้นจาก 40% มาเป็นระดับกว่า 60%
เนื่องจากปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด 19 ที่ผ่านมา ทำให้ต้องใช้มาตรการทางการคลังในการอัดฉีดเงินเข้ามาช่วยเหลือ แต่ก็ยังไม่ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการคลัง
ซึ่งหากไม่ใช้มาตรการทางการคลังมาช่วย เศรษฐกิจไทยในปีที่ผ่านมาอาจต้องติดลบไปถึง 4%
 
3. เสถียรภาพทางการเงิน
7
ในฝั่งสถาบันการเงิน มีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงของระบบธนาคารพาณิชย์มีสภาพคล่องสูง รวมถึงการกันเงินสำรองของธนาคารพาณิชย์อยู่ในระดับสูงด้วย
แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ หนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับ 90% ต่อจีดีพีในช่วงโควิด 19
7
4. เสถียรภาพด้านราคา
ปัจจุบันอัตราเงินเฟ้อของไทยขึ้นไปสูงกว่ากรอบนโยบายการเงินระยะปานกลาง ที่ตั้งไว้ 1% - 3%
และคาดว่าจะขึ้นไปสูงสุดในช่วงไตรมาสถัดไป ก่อนที่อัตราเงินเฟ้อจะเริ่มชะลอตัวลงเข้าสู่กรอบเป้าหมายได้
อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์เงินเฟ้อที่สูงขึ้นในปัจจุบัน จึงให้น้ำหนักกับความเสี่ยงของเงินเฟ้อ มากกว่าในเรื่องความเสี่ยงจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
4
5. กลไกหรือกระบวนการดำเนินนโยบายที่ดี
กลไกที่สามารถสร้างนโยบายที่เหมาะสม สามารถปรับเปลี่ยนไปตามบริบท และสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นได้ ที่สำคัญต้องโปร่งใส และสามารถสร้างความเข้าใจต่อสาธารณชนได้
5
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ก็จำเป็นที่จะต้องหามาตรการช่วยเหลือประชาชนในด้านการเงินมารองรับด้วยเช่นกัน เช่น โครงการไกล่เกลี่ยหนี้ หรือมาตรการแก้หนี้ระยะยาวต่าง ๆ
จึงเป็นที่มาของเสถียรภาพด้านสุดท้าย คือ กลไกหรือกระบวนการดำเนินนโยบายที่ดี
โดยองค์ประกอบของนโยบายที่ดี ประกอบด้วย
- ควรเป็นนโยบายที่อิงจากพื้นฐานของข้อมูล หรือ Data-Driven Policy และมีการประเมินผลที่เหมาะสม
- ความโปร่งใสของผู้กำหนดนโยบาย
- ต้องเป็นนโยบายที่เน้นความถูกต้อง มากกว่าความถูกใจเฉพาะคนบางกลุ่ม
2
นอกจากนี้ ผู้ว่าแบงก์ชาติก็ได้ระบุเพิ่มเติมว่า นักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเที่ยวในประเทศไทยฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาดไว้ในไตรมาสที่ผ่านมา และเชื่อว่าโอกาสที่จะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในบ้านเรามีน้อยมาก
9
โดยโจทย์ของแบงก์ชาติ ก็คือจะทำอย่างไรให้การเติบโตของเศรษฐกิจไม่สะดุด หรือ “Smooth Takeoff”
ซึ่งขณะนี้ก็ได้เน้นน้ำหนักไปที่การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว
เพราะหากการท่องเที่ยวไม่ฟื้น เศรษฐกิจจะกลับมาเป็นแบบเดิมได้ยาก
แต่สถานการณ์ตอนนี้ดีขึ้นแล้ว เพราะหลังจากเปิดประเทศก็จะช่วยให้การท่องเที่ยวเริ่มกลับสู่ภาวะปกติ
สรุปของสรุปก็คือ
“ประเทศไทยกำลังจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้ว เร็ว ๆ นี้”
เพราะแบงก์ชาติมองว่ารีบขึ้นตอนนี้ จะช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศไทยกระทบน้อยกว่า และไปต่อได้ในระยะยาว
6
และคนที่ได้รับผลกระทบแทบจะทันทีสำหรับการขึ้นดอกเบี้ยก็คือ
บริษัทที่มีหนี้เยอะ คนที่มีหนี้เยอะ กำลังผ่อนรถ ผ่อนบ้าน เตรียมตัวจ่ายดอกเบี้ยที่มากขึ้น เร็ว ๆ นี้..
12
หนังสือ BRANDING THE NATION หนังสือที่เล่าถึงการสร้างแบรนด์ของแต่ละประเทศที่ทำให้ แต่ละประเทศเป็นแบบทุกวันนี้
2
เช่น ทำไมเยอรมนีเป็นประเทศแห่งรถยนต์ ทำไมฝรั่งเศสเป็นประเทศแห่งแบรนด์หรู สั่งซื้อเลยที่
1
โฆษณา