13 มิ.ย. 2022 เวลา 23:10 • หนังสือ
On Happiness ว่าด้วยความสุข : ธเนศ วงศ์ยานนาวา
 
On Happiness เป็นหนังสือเชิงวิชาการ ที่ชวนไปไล่หาคำตอบกันว่า ความสุขคืออีหยังหนออออ ในมิติของรัฐศาสตร์กับปรัชญา (แน่นอนสิ คำถามทางปรัชญาจ๋า ๆ ขนาดนี้) รวมถึงไล่ย้อนกลับไปให้เห็นประวัติศาสตร์ที่มาที่ไปของความสุขในยุคกรีกและมิติของศาสนาคริสตร์ที่เข้ามามีส่วนสำคัญกับแนวคิดเรื่องของสุข
ถ้าพูดถึงความสุขคืออะไร? เราคงตอบกันได้ชิล ๆ ว่าก็กินอิ่ม นอนหลับ มีเงินใช้ รวยๆ อะไรเทือก ๆ นี้ แต่จริง ๆ การเมืองเข้ามีส่วนกับการเซ็ทความสุขกับเราผ่านโยบายสาธารณะ ต่าง ๆ เพราะเราคือแรงงานสำคัญของรัฐนั่นเอง
เราเคยพูดเล่น ๆ กับเพื่อนว่า ลองหลับตาดิ แล้วจินตนาการว่าโลกของเราล่มสลาย จินตานาการออกป่ะ ซึ่งออก แล้วหลับตาอีกที รอบนี้ลองจินตนาการว่าทุนนิยมล่มสลายดิ แกเห็นภาพบ่ ซึ่งคำตอบคือไม่! 55555
การถูกเซ็ทให้มีความสุขหรือตัวชี้วัดให้มีความสุขก็คือ ต้องทำงานหนัก ๆ เพื่อมีเงินเยอะ ๆ จะได้เอาเงินไปซื้อความสุข ซึ่งนั่นก็คือกับดักของทุนนิยม ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เช่น การเพิ่มวันหยุดเพื่อให้พนักงานมีเวลาในการพักผ่อนเพิ่มขึ้น ลดเวลาทำงาน บลา ๆ มองโดยผิวเผินแล้ว อาจจะคิดว่าเพื่อเพิ่มความสุขให้ประชาชน แต่จริง ๆ แล้วก็เพื่อจะสร้างแรงงานที่ดี เพราะแรงงานที่ดีเท่ากับผลลัพธ์ที่ดีก็จะตามมานั่นเอง
สังเกตได้จาก การวัดความสุขมวลรวมของประเทศ หรือ GDP ที่จะเอาตัวเลขด้านเงินเดือนของคนในประเทศมาบวก ๆ แล้วคำนวนอิกมาเป็นรูปธรรม GDP ยิ่งดีเศรษฐกิจดี ประเทศร่ำรวยเท่ากับคนจนน้อย คนก็จะมีความสุข แต่ไม่ใช่ทั้งหมด บางประเทศไม่ได้วัดกันแค่เกณฑ์ความยากจนเท่านั้น
อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือเรื่อง ปิแอร์ เกสซองดิ กับการรื้อฟื้นความคิดแบบอีพิคูเรียน
แน่นอนว่าศาสนาคริสตร์เป็นศาสนาที่เชื่อในเรื่องพระเจ้าสร้างโลก แต่แนวคิดของอีพิคูเรียนดันบอกว่า ไม่ใช่โว้ยยย แนวคิดศาสนากับเรื่องพระเจ้าสร้างโลกถูกเมคขึ้นมาโดยพวกสมองใสเพื่อใช้เป็นเครื่องมือของรัฐโน้น ซึ่งเป็นแนวความคิดที่เป็นขั้วตรงข้ามศาสนาคริสตร์ไปเลย
โดยไอ้เจ้าแนวคิดอีพิคูเรียนถูกรื้อฟื้นอีกทีตอน ค.ศ. 17 โดยปิแอร์ เกสซองดิ พ่อหนุ่มนักปรัชญาชาวฝรั่งเศส ที่เสนอแบบกลางๆไว้ว่า "ความสุขคือการแสวงหาความพึงพอใจ โดยหลีกเหลี่ยงความเจ็บปวด แต่ไม่ได้สนองหาอัตตาในแบบตัดขาดจากสังคม"
ประเด็นสุดท้ายที่อาจารย์ธเนศ เขียนไว้ในหนังสือเล่มนี้คือ ความสุขมันคือความย้อนแย้ง (paradox) การคาดคะเนถึงความสุขในอนาคต คือ "การไล่ลาหาความสุข" และการไล่ลาหาความสุขไปเรื่อย ๆ ก็คือความสุขอย่างหนึ่ง ยิ่งไม่ได้ครอบครองยิ่งมีความสุขนั่นเอง
โฆษณา