14 มิ.ย. 2022 เวลา 07:53 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ผลิตน้ำประปาอย่างไรในวันที่น้ำเค็ม-น้ำกร่อย
โรงผลิตน้ำประปาบางเลน จ.นครปฐม / แม่น้ำท่าจีน
สำหรับสถานการณ์น้ำเค็ม-น้ำกร่อย มักจะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นฤดูกาลในแต่ละช่วงของปี บางปีสถานการณ์รุนแรง แต่บางปีก็อาจจะไม่รุนแรงก็ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ซึ่งอยู่ใกล้กับทะเลก็มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง
และปฏิเสธไม่ได้ว่าบางช่วงเวลาน้ำจากในแม่น้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำท่าจีน ซึ่งเป็นสายน้ำเส้นหลักที่หล่อเลี้ยงชาวไทยในพื้นที่ภาคกลางนั้น อาจจะมีค่าความเค็ม หรือน้ำทะเลหนุนเข้ามาได้ พอความเค็มเข้ามาผสมกับน้ำจากแหล่งน้ำผิวดินในแม่น้ำ ก็อาจจะทำให้เกิดสภาวะน้ำกร่อยตามมา
# คำถามคือ...แล้วต้องมีค่าความเค็มเท่าไรละ ถึงจะไม่สามารถนำมาใช้ผลิตเป็นน้ำประปาสำหรับอุปโภคบริโภคได้?
Image Credit: Pixabay.com
ตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก หรือ WHO (World Health Organization) นั้น กำหนดให้น้ำดิบจากแหล่งน้ำธรรมชาติที่สามารถนำมาผลิตน้ำประปาได้นั้น ต้องมีค่าความเค็มในรูปคลอไรด์ไม่เกิน 250 มิลลิกรัม/ลิตร หรือโซเดียมไม่เกิน 200 มิลลิกรัม/ลิตร
ส่วนค่าความกร่อยของน้ำนั้น จะเริ่มกร่อยเมื่อมีค่านำไฟฟ้า 700 ไมโครซีเมนต์/ซม. โดยจะมีความกร่อยน้อย, กร่อยปานกลาง, และกร่อยมาก เมื่อมีค่านำไฟฟ้าที่ 1,200 / 2,000 / 2,300 ไมโครซีเมนต์/ซม. ตามลำดับ
ทั้งนี้ การประปานครหลวง (กปน.) ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า “น้ำประปากร่อย” 1 แก้ว จะมีโซเดียมประมาณ 35 มิลลิกรัม ซึ่งปริมาณที่ร่างกาย (วัยผู้ใหญ่) สามารถรับได้มากที่สุดประมาณ 2,000 มิลลิกรัม/วัน หรือเทียบเท่าน้ำกร่อย 57 แก้ว
Image Credit: การประปานครหลวง
อย่างไรก็ตามหากมีประกาศเตือนเรื่องน้ำเค็ม-น้ำกร่อย จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็ควรงดนำน้ำประปามาปรุงอาหาร หรือรับประทานชั่วคราวในช่วงนั้นไปก่อนเพื่อความปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ป่วยโรคไต โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคทางสมอง ผู้สูงอายุ และเด็ก ที่อ่อนไหวต่อเรื่องนี้
# แล้ว TTW ผลิตน้ำประปาอย่างไรในช่วงที่เจอกับน้ำเค็ม-น้ำกร่อย
TTW ผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำประปาให้กับการประปาส่วนภูมิภาคในพื้นที่ จ.สมุทรสาคร-จ.นครปฐม และพื้นที่ปทุมธานี-รังสิต ก็เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่ต้องเผชิญกับช่วงเวลาที่มีค่าความเค็ม และความกร่อยของน้ำดิบที่เป็นวัตถุดิบสำคัญในกระบวนการผลิตน้ำประปา
ซึ่งโดยปกติแล้วเจ้าหน้าที่ของเราจะมีการตรวจติดตามสภาพน้ำและคุณภาพน้ำดิบเป็นรายชั่วโมงอยู่แล้ว รวมถึงมีการประสานความร่วมมือทางด้านข้อมูลข่าวสารกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง หากพบกับความผิดปกติ หรือช่วงเวลาที่น้ำมีค่าคลอไรด์ และโซเดียมเกินกว่าที่กำหนด
ทางบริษัทจะบริหารจัดการกระบวนการผลิตด้วยการลดกำลังการผลิตลงในบางช่วงเวลาที่น้ำมีค่าความเค็มสูง ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักจะไม่เกิน 2-4 ชั่วโมง และแค่ในบางช่วงเวลา โดยที่สถานการณ์แบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นในทุกวัน
หลังจากนั้นจะเร่งกำลังผลิตในช่วงน้ำลง (ค่าความเค็มลดลง) เพื่อชดเชยปริมาณการผลิตที่ลดลงในช่วงน้ำขึ้น (ค่าความเค็มสูง) เป็นผลให้ปริมาณค่าคลอไรด์และโซเดียมในน้ำประปาที่ TTW ผลิตนั้น ยังคงเป็นไปตามมาตรฐานสากลที่กำหนดไว้ และไม่ได้กระทบต่อกระบวนการผลิต และคุณภาพน้ำประปาที่ผลิตออกมาอย่างมีนัยสำคัญ
เอกสารนำเสนอ TTW: Q1'2022 http://ttw.listedcompany.com/misc/PRESN/20220518-ttw-am-1q2022.pdf
ส่วนทางด้านฝั่งของหน่วยงานภาครัฐ เช่น กรมชลประทาน ก็แก้ไขปัญหานี้ด้วยการเร่งผลักดันน้ำเค็ม (Water Hammer) ดังกล่าวลงสู่ทะเลด้วยการบริหารจัดการปล่อยน้ำจากเขื่อนต่างๆ ลงสู่แม่น้ำอย่างมีระบบอีกทางหนึ่งด้วย.
Source:
- การประปาส่วนภูมิภาค
- การประปานครหลวง
- กรมชลประทาน
- เอกสารนำเสนอ TTW: Q1'2022 http://ttw.listedcompany.com/misc/PRESN/20220518-ttw-am-1q2022.pdf
โฆษณา