30 ก.ค. 2022 เวลา 00:00 • ยานยนต์
กระแสรถ EV ที่มาแรง พร้อมกับราคาน้ำมันที่แพงติดเพดาน
เจอแบบนี้ ถอยรถ EV เลยจะคุ้มไหม KWealth รวบรวมข้อมูลมาให้คุณแล้ว
2
ลงทุนกับรถ EV คุ้มไหม?
  • ปัจจุบันรถยนต์ EV ในท้องตลาดมีหลายยี่ห้อให้เราเลือกตามความพึงพอใจ โดยเฉพาะราคาในปัจจุบันที่สามารถจับต้องได้มากขึ้นกว่าแต่ก่อน ไม่ต่างกับรถยนต์น้ำมันทั่วไปที่เราเห็นตามท้องถนน
  • รถยนต์ EV จะมีค่าใช้จ่ายในการชาร์จไฟฟ้าอยู่ที่ประมาณ 1.4 บาทต่อกิโลเมตร ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการขับขี่ และประเภทรุ่นรถยนต์ด้วย
  • รถ EV บางรุ่นระยะ 100,000 กิโลเมตรแรก มีค่าใช้จ่ายซ่อมบำรุงไม่เกิน 8,000 บาท
1
  • ประกันรถยนต์ EV ในปัจจุบันจะพบว่ารถยนต์รุ่นเริ่มต้นราคาใกล้เคียง 1 ล้านบาท จะมีค่าเบี้ยประกันเริ่มต้นประมาณ 25,000 กว่าบาท ซึ่งถือว่าใกล้เคียงกับรถยนต์น้ำมันทั่วไป
1
  • จากแอปพลิเคชันเช่ารถ EV พบว่ามีค่าเช่ารายเดือนอยู่ที่เกือบ 30,000 บาท ซึ่งร่วมค่าใช้จ่ายให้แล้วทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายการเช็กระยะ ค่าภาษี พรบ.รถยนต์ แม้กระทั่งรถเสียหรือประสบอุบัติเหตุก็เปลี่ยนให้ใหม่ รวมถึงสามารถเปลี่ยนรุ่นรถยนต์ได้เมื่อครบอายุสัญญา ​
1
ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ยุครถยนต์ EV อย่างเต็มตัว หลังจากรัฐบาลประกาศอุดหนุนราคารถยนต์ EV ผ่านการลดภาษีมากมาย ที่เป็นอุปสรรคทางราคาในการเข้าถึงรถยนต์ EV ในสมัยก่อน
1
แต่เมื่อราคารถยนต์ EV ปรับตัวลงมาแล้ว หลายคนก็ยังมีข้อสงสัยอีกหลายประเด็นถึงนาทีนี้ รถยนต์ EV เหมาะสมที่จะเป็นรถยนต์คันหลัก แทนรถยนต์สันดาปที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง และรถยนต์ Hybrid แล้วหรือไม่
1
รวมถึงสถานการ์เศรษฐกิจแบบนี้ ถ้าอยากเป็นเจ้าของรถควรซื้อ หรือเช่าดี วันนี้เราจะมาคุยเรื่องนี้กัน
2
​ทำความเข้าใจประเภทรถยนต์ EV ในประเทศไทย​​​​​ ​
1
1. รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด หรือ (HEV, Hybrid electric vehicle) เป็นรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปและมอเตอร์ไฟฟ้าในการขับเคลื่อน
โดยเมื่อแตะเบรครถ จะมีการเปลี่ยนแปลงพลังงานกลับคืนมาเป็นไฟฟ้าเข้าไปเก็บในแบตเตอรี่ ส่งผลให้รถมีอัตราการใช้น้ำมันต่ำ เมื่อเทียบกับรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน
2. รถยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด (PHEV, Plug-in Hybrid Electric Vehicle) เป็นรถยนต์ที่คล้ายกับ HEV ประเภทแรก แต่จะสามารถชาร์จไฟฟ้าภายนอกได้ตาม EV Station ในปั๊มน้ำมัน ห้างสรรพสินค้า หรือโรงแรม
ทำให้รถยนต์สามารถขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวได้โดยไม่ใช้น้ำมัน แต่ก็จะมีข้อจำกัดเรื่องของระยะทางที่วิ่งได้ไม่ไกลมากนัก ประมาณ 25-50 กิโลเมตรต่อการชาร์จ 1 ครั้ง ตามขนาดแบตเตอรี่ที่ไม่ใหญ่มาก
3. รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV, Battery Electric Vehicle) เป็นรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว ทำให้ต้องมีแบตเตอรี่ขนาดใหญ่กว่ารถประเภทอื่น สามารถชาร์จไฟฟ้าได้ทั้งที่พักอาศัย ห้างสรรพสินค้า โรงแรม หรือตาม EV Station ต่างๆ
1
ซึ่งมีทั้งการชาร์จแบบธรรมดา (Normal Charge) ประมาณ 12-16 ชม. การชาร์จแบบรวดเร็ว (Double Speed Charge) ประมาณ 6-8 ชม. และชาร์จแบบด่วน ภายในเวลา 40-60 นาที
ส่วนระยะทางต่อการชาร์จ 1 ครั้งก็ขึ้นอยู่กับแต่ละยี่ห้อรถ โดยมีระยะทางตั้งแต่ 100 กว่ากิโลเมตร จนถึงเกือบ 700 กิโลเมตร ให้เราได้เลือกกัน
​เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายรถน้ำมัน VS รถยนต์ไฟฟ้า
1
​เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายรถน้ำมัน VS รถยนต์ไฟฟ้า
1. ราคารถยนต์เริ่มต้น สำหรับรถยนต์น้ำมันในบ้านเราก็มีรุ่นให้เลือกเริ่มต้นตั้งแต่ 3 แสนบาทขึ้นไป ส่วนฝั่งรถยนต์ BEV ก็มีเริ่มต้นตั้งแต่ 3 แสนกว่าบาทเช่นกัน แต่สมรรถนะรถยนต์อาจยังไม่ใกล้เคียงกับรถยนต์ทั่วไปทั้งความเร็วสูงสุด และระยะทางที่วิ่งได้ตามขนาดแบตเตอรี่
แต่ถ้าขยับงบเริ่มต้นขึ้นมาเกือบๆล้านบาท สมรรถนะก็จะไม่ต่างกับรถยนต์ตามท้องถนนที่เราได้เห็นกัน ซึ่งก็มาพร้อมกับระยะทางที่วิ่งได้ไกลมากยิ่งขึ้นประมาณ 300 กว่ากิโลเมตรต่อการชาร์จ 1 ครั้ง
แถมปัจจุบันภาครัฐยังออกมาตรการส่งเสริมรถยนต์ EV ทำให้ราคารถยนต์บางรุ่นมีการปรับตัวลงมาประมาณ 2 แสนกว่าบาท ทำราคาใกล้เคียงกับ City Car ในบ้านเรา
2. ค่าเชื้อเพลิงรถยนต์ สำหรับรถยนต์น้ำมันที่เราเห็นกันตามท้องตลาด โดยทั่วไปจะมีค่าใช้จ่ายการเติมน้ำมันอยู่ที่ประมาณ 3-5 บาทต่อกิโลเมตร แต่ถ้าเป็นรถยนต์ EV จะมีค่าใช้จ่ายในการชาร์จไฟฟ้าอยู่ที่ประมาณ 1.4 บาทต่อกิโลเมตร
ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการขับขี่ และประเภทรุ่นรถยนต์ด้วย ซึ่งก็จะเห็นได้ว่ารถยนต์ EV มีความประหยัดเงินในกระเป๋าได้มากกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมัน
แต่ทั้งนี้ก็ยังไม่รวมเรื่องของค่าติดตั้งเครื่อง EV Charger กรณีที่ต้องการชาร์จไฟฟ้าที่บ้าน ซึ่งมีค่าใช้จ่ายเริ่มต้นประมาณ 3 หมื่นบาท ขึ้นอยู่กับฟังก์ชันการใช้งานและประเภทรถยนต์ด้วย
รวมถึงหากไฟฟ้าที่บ้านไม่เพียงพอสำหรับชาร์จรถ EV ก็ต้องทำเรื่องขอไฟฟ้าเพิ่มเติมโดยมีค่าใช้จ่ายหมื่นกว่าบาท
1
นอกจากนี้ถ้าต้องการชาร์จไฟฟ้าตามสถานีชาร์จ ก็จะมีค่าใช้จ่ายเหมือนกับการเติมน้ำมัน เช่นรถยนต์ EV ทั่วไปที่วิ่งได้ระยะทางประมาณ 300 กว่ากิโลเมตร การชาร์จไฟฟ้าเต็ม 1 ครั้งก็จะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 300 กว่าบาท
ซึ่งถูกกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันมาก แต่ก็แลกมาด้วยการเสียเวลาชาร์จหลักหลายชั่วโมง หรือเกือบชั่วโมง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับไฟฟ้าที่เหลือในแบตเตอรี่ และรูปแบบการชาร์จไฟฟ้าที่สถานีด้วย
3. ค่าซ่อมบำรุง สำหรับรถ EV จะมีชิ้นส่วนน้อยกว่ารถน้ำมันมาก เนื่องจากรถยนต์ EV ใช้มอเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งถ้าเทียบกันหมัดต่อหมัดระหว่างรถยนต์ EV กับรถยนต์น้ำมันทั่วไปราคาเกือบล้านบาท จะพบว่าค่าใช้จ่ายในการนำรถเข้าเช็กระยะถือว่าต่างกันค่อนข้างมาก
1
รถ EV บางรุ่นระยะ 100,000 กิโลเมตรแรก มีค่าใช้จ่ายไม่เกิน 8,000 บาท ไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่นเปลี่ยนยาง เปลี่ยนหลอดไฟ เป็นต้น
แต่สิ่งสำคัญที่ต้องรู้ก่อนจะครอบครองรถ EV คือค่าใช้จ่ายแบตเตอรี่ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าแบตเตอรี่จะมีความเสื่อมคุณภาพลง แม้ค่ายรถยนต์ส่วนใหญ่มีการรับประกันแบตเตอรี่ให้ประมาณ 8 ปี แต่หากพ้นระยะการรับประกันแล้ว ค่าใช้จ่ายการเปลี่ยนแบตเตอรี่ในวันนี้จะมีราคาหลักหลายแสนบาท
ซึ่งก็มีความเชื่อกันว่าแบตเตอรี่จะมีราคาที่ถูกลงมากในอนาคต แต่ทั้งนี้ก่อนออกรถก็ควรปรึกษาเรื่องค่าใช้จ่ายโดยรวมกับผู้ขายแต่ละค่ายอีกครั้ง
4. ค่าเบี้ยประกัน จากการสำรวจข้อมูลค่าเบี้ยประกันรถยนต์ EV ในปัจจุบันจะพบว่ารถยนต์รุ่นเริ่มต้นราคาใกล้เคียง 1 ล้านบาท จะมีค่าเบี้ยประกันเริ่มต้นประมาณ 25,000 กว่าบาท ซึ่งถือว่าใกล้เคียงกับรถยนต์น้ำมันทั่วไป
แต่ก็ยังมีข้อจำกัดเรื่องยี่ห้อรถยนต์ และประเภทความคุ้มครองที่อาจจะยังไม่มีให้เลือกหลากหลายมากนักเหมือนกับรถยนต์น้ำมันที่มีจำนวนมากบนท้องถนน ทั้งนี้จึงควรปรึกษาเรื่องประกันรถยนต์ กับผู้ขายรถยนต์ หรือบริษัทประกันโดยตรงก่อนตัดสินใจ
5. การขอสินเชื่อ โดยปกติแล้วการซื้อรถยนต์ทั่วไปก็จะมีทางเลือกในการซื้ออยู่ 2 ทาง คือซื้อด้วยเงินสดผ่านการจ่ายแคชเชียร์เช็ค หรือจัดไฟแนนซ์ผ่อนเป็นรายงวด
ซึ่งรถยนต์ EV ที่ขายในประเทศไทยส่วนใหญ่ก็สามารถขอสินเชื่อได้แล้ว แต่ถ้าต้องการสินเชื่อรถที่เหมาะกับเรา ก็สามารถติดต่อกับสถาบันการเงินโดยตรงได้เช่นกัน
อยากขับรถยนต์ EV เช่าหรือซื้อ​​​​​
จากการตรวจสอบค่าใช้จ่ายในการเช่ารถยนต์ EV ราคาเกือบ 8 แสนบาท จากแอปพลิเคชันเช่ารถ EV พบว่ามีค่าเช่ารายเดือนอยู่ที่เกือบ 30,000 บาท ซึ่งร่วมค่าใช้จ่ายให้แล้วทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายการเช็กระยะ ค่าภาษี พรบ.รถยนต์ แม้กระทั่งรถเสียหรือประสบอุบัติเหตุก็เปลี่ยนให้ใหม่
รวมถึงสามารถเปลี่ยนรุ่นรถยนต์ได้เมื่อครบอายุสัญญา เช่น 3 วัน 1 อาทิตย์ 1 เดือน หรือ 1 ปี ซึ่งเหมาะมากสำหรับผู้ที่ใช้รถน้อย เช่นการขับรถไปเที่ยวต่างจังหวัดเป็นครั้งคราว หรือชอบเปลี่ยนรถบ่อยมากๆ ก็จะประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้เยอะ เมื่อเทียบกับการซื้อรถ หรือผ่อนดาวน์รถที่ต้องจ่ายดอกเบี้ย
แต่ถ้าหากต้องการเป็นเจ้าของรถ และต้องการใช้รถยนต์ EV คันที่ซื้อเป็นเวลานานหลายปี การซื้อก็อาจมีความคุ้มค่ากว่า เพราะถ้าคำนวณจากค่าเช่ารถยนต์ EV คันเดิมต่อเนื่อง เป็นระยะเวลา 3 ปี จะพบว่ามีค่าใช้จ่ายประมาณ 1 ล้านกว่าบาท ซึ่งสูงกว่าการซื้อรถยนต์ EV
แต่ทั้งนี้การซื้อรถยนต์ก็ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายเรื่อง ประกันชั้น 1 ค่าบำรุงรักษา ค่าภาษี พรบ.รถยนต์ ค่าใช้จ่ายรถทดแทนกรณีรถเสีย หรือประสบอุบัติเหตุ หรือดอกเบี้ยที่เกิดจากการผ่อนรถยนต์ EV
2
คำแนะนำ​​​​​
สำหรับใครที่อ่านบทความมาถึงจุดนี้ แล้วเริ่มตัดสินใจได้ว่าอยากจะมีรถสักคันเป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะรถ EV หรือรถยนต์น้ำมันทั่วไป ทางเลือกการเช่าซื้อรถยนต์ก็เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ โดยสามารถติดต่อ KLeasing ได้โดยตรงเพื่อปรึกษาขอสินเชื่อรถยนต์ที่เหมาะกับตัวคุณมากที่สุด
รวมถึงหากใครที่อยากสร้างพอร์ตการลงทุน ให้เติบโตงอกเงยไปพร้อมกับเทรนด์รถยนต์ EV รวมถึงเทรนด์แห่งอนาคตอีกมากมายที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงโลก ไปในทิศทางที่ดีขึ้น ก็สามารถเลือกลงทุนกองทุนแนะนำอย่าง K-CHANGE
กองทุนที่เน้นลงทุนหุ้นกลุ่ม ESG ไม่ว่าจะเป็น Tesla, Moderna, TSMCผ่านกองทุนหลัก Baillie Gifford Positive Change Fund - Class B accumulation (GBP) ที่มีผลการดำเนินงานที่โดดเด่น ติดอันดับ 5 ดาว Morningstar (ข้อมูล ณ 28 ก.พ. 65) เหมาะสำหรับผู้รับความเสี่ยงได้สูง และสามารถลงทุนได้ตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : Thinkofliving ,KAsset, en.n-squared,EVme
บทความโดย K WEALTH GURU มนัสวี เด็ดอนันต์กุล
◼ ไม่อยากพลาด ข่าวสารดีดี อย่าลืมกดติดตาม คลิก : https://kbank.co/39wqyGK
#KBankLive
โฆษณา