Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กฎหมายรอบตัวเรา
•
ติดตาม
15 มิ.ย. 2022 เวลา 01:08 • สุขภาพ
ยกฟ้อง คดีโรงพยาบาลเอกชนฟ้องกระทรวงพาณิชย์ควบคุมราคายาและค่าบริการ
"Healthcare Costs" by Images_of_Money is licensed under CC BY 2.0. To view a copy of this license, visit https://creativecommons.org/licenses/by/2.0/?ref=openverse.
คดีนี้สืบเนื่องจาก คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2565 ว่า "ศาลปกครองสูงสุดพิพากษายกฟ้อง ในคดีที่สมาคมโรงพยาบาลเอกชน และโรงพยาบาลเอกชน ยื่นฟ้องขอเพิกถอนประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการที่กำหนดให้ยารักษาโรคและเวชภัณฑ์เกี่ยวกับการรักษาโรคเป็นสินค้าควบคุม และกำหนดให้บริการรักษาพยาบาล บริการทางการแพทย์และบริการอื่นของสถานพยาบาลเกี่ยวกับการรักษาโรคเป็นบริการควบคุม"
จริงๆ ประเด็นมีเรื่องเดียว คือ รพ.เอกชนขอให้ยกเลิก ประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2562 เรื่อง การกำหนดสินค้าและบริการควบคุมการกำหนดสินค้าและบริการควบคุม ลงวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2562 และฉบับที่ 53 พ.ศ. 2562 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2562 (ฉบับนี้ยกเลิกฉบับที่ 1) ซึ่งออกตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542
แต่มีรายละเอียดข้อต่อสู้แยกเป็นหลายเรื่อง ดังนี้
คำฟ้องโดยสรุป รพ.เอกชนเห็นว่าการยา ยารักษาโรค เวชภัณฑ์เกี่ยวกับการรักษาโรค และบริการรักษาพยาบาล บริการทางการแพทย์ และบริการอื่นของสถานพยาบาลเกี่ยวกับการรักษาโรค ไม่ควรถูกควบคุมราคา ด้วยเหตุผลต่างๆนานา แต่ทุกข้อที่ยกมาฟ้องนั้น ศาลยกฟ้องทั้งหมด
จริงๆมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกเล็กน้อย แต่สรุปประเด็นสำคัญละกัน
😒 ข้อต่อสู้แรก
คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) มีอำนาจออกประกาศหรือไม่ ? โดยอ้างว่ารัฐธรรมนูญ (รธ.) ห้ามจำกัดสิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพ ซึ่งการออกประกาศดังกล่าวไม่ใช้กับ รพ.รัฐ จึงไม่เป็นธรรม
⚖️ ศาลว่า ทำได้เนื่องจาก รธ.ให้อำนาจกฎหมายต่างๆที่ตราขึ้นมีข้อยกเว้นเรืองการจำกัดเสรีภาพได้ ซึ่งพ.ร.บ.ว่าด้วยสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 ก็กำหนดไว้ นอกจากนั้น รธ.มาตรา 56 และ 60 ยังกำหนดให้ผู้บริโภคต้องได้รับความคุ้มครอง และรัฐต้องจัดมาตรการและกลไกดังกล่าวให้ด้วย จึงไม่ขัดกับ รธ. (เวลาดูกฎหมายก็ต้องดูให้ครอบคลุมทั้งฉบับ...ผู้เขียน)
😒 ข้อต่อสู้ที่ 2
อำนาจออกประกาศควบคุมนั้น ซ้ำซ้อนกับอำนาจกระทรวงสาธารณสุข คือ พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ. 25421 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
⚖️ ศาลว่า ไม่ซ้ำซ้อนเนื่องจาก พ.ร.บ. สถานพยาบาล มีวัตถุประสงค์ในทางการแพทย์ กำหนดมาตรฐานในการรักษาพยาบาล ไม่มีอำนาจควบคุมราคาสินค้า ต่างกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 ประเด็นนี้ชัดเจนตรงๆ
😒 ข้อต่อสู้ที่ 3
"ยา" ไม่ใช่สินค้า เพราะผู้ได้รับยาต้องผ่านการวินิจฉัยจากแพทย์ก่อน ส่วน การรักษา หรือบริการทางการแพทย์ ไม่ใช่ "การบริการ" ตามนิยามในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542
ดูนิยามกันหน่อย
“สินค้า” หมายความว่า สิ่งของที่อาจใช้ในการอุปโภคหรือบริโภค รวมทั้งเอกสารแสดงสิทธิในสิ่งของ
“บริการ” หมายความวา การรับจัดทําการงาน การให้สิทธิใดๆ การให้ใช้หรือให้ประโยชน์ในทรัพย์สินหรือกิจการใด ๆ โดยเรียกค่าตอบแทนเป็นเงิน หรือผลประโยชน์อื่น
⚖️ ศาลว่า ยาหรือเวชภัณฑ์ ก็คือปัจจัยสี่ในการดำรงชีพ ประชาชนจำเป็นต้องใช้ในการอุปโภคบริโภค จึงเป็นสินค้า ส่วนการรักษาหรือบริการทางการแพทย์ เป็นลักษณะการทำงานโดยเรียกค่าตอบแทนเป็นเงิน จึงเป็นบริการ ตามนิยามกฎหมาย ข้ออ้างนี้ก็ฟังไม่ขึ้น
จริงๆ ประเด็นเรื่อง การบริการทางการแพทย์ เคยมีการวิจารณ์กันกว้างขวางเมื่อ พ.รบ. วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ออกมาแล้ว ซึ่งสุดท้าย ศาลก็ถือว่า การบริการทางการแพทย์อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาล และเหตุผลก็ทำนองเดียวกันกับคดีนี้
😒 ข้อต่อสู้ที่ 4
การประชุมเพื่อออกประกาศดังกล่าว ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากมีกรรมการคนหนึ่งพ้นวาระไปและไม่มีการแต่งตั้งใหม่เข้าร่วมประชุม
⚖️ ศาลว่า กรรมการมี 12 คน ออกไป 1 คน เหลือ 11 คน ก็ไม่เป็นไรหรอก ในเมื่อองค์ประชุมเกินกว่ากึ่งหนึ่ง ตามกฎหมายก็ ok ไม่ต้องมาประชุมครบทุกคนก็ได้นะ (ผมแปลเป็นภาษาพูดเลยนะ)
จริงๆก็มีประเด็นปลีกย่อยอื่นอีก ดังที่เกริ่นไว้แล้ว แต่ไม่ขอกล่าว หากต้องการดูคำพิพากษาฉบับเต็ม ดูที่อ้างอิงได้เลยครับ
สรุป ผู้บริโภคก็สบายใจเรื่องค่ารักษาพยาบาลได้ ว่าถูกควบคุมไว้ได้ระดับหนึ่งแล้ว แต่ประกาศเรื่องการควบคุมนี้ จะต้องต่อทุกปี ดังนั้น คนที่เกี่ยวข้องคงต้องติดตามต่อเรื่อยๆนะครับ อย่าชะล่าใจ
อ้างอิง
คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด
https://drive.google.com/file/d/1yD2Hr8EcD5-Jdh4jPAFZM9ihI1Tjn2YT/view?fbclid=IwAR1_O1ytkfU0z8y8nDVSPIO6MpRHgkPgOjOoQ1QJpVKPDHvrxv1EZ2crNTY
drug
price
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย