Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bnomics
•
ติดตาม
15 มิ.ย. 2022 เวลา 12:19 • หุ้น & เศรษฐกิจ
“จับตาประชุม Fed” จะยอมเจ็บให้เกิด Recession เพื่อคุมเงินเฟ้อหรือไม่?
ที่ผ่านมา คุณ Powell ประธานของธนาคารกลางสหรัฐ จะหลีกเลี่ยงการใช้ยาแรงมาตลอด และหวังจะคุมเงินเฟ้อให้อยู่ โดยที่ไม่ทำร้ายเศรษฐกิจ หรือที่เรียกว่า “Soft Landing” แต่ในวันนี้ ธนาคารกลางของสหรัฐ กำลังต้องเลือกทางที่ลำบากใจ เมื่อเงินเฟ้อพุ่งสูงเกินที่คาดเอาไว้ โดยอาจจะต้องยอมให้เศรษฐกิจถดถอย เพื่อคุมเงินเฟ้อให้อยู่
กระบวนการในการคุมเงินเฟ้อให้ลดลงเหลือ 2% อาจจะต้องยอมเจ็บตัวบ้าง แต่จะเจ็บกว่านี้ ถ้าเราล้มเหลวในการควบคุมเงินเฟ้อ
และปล่อยให้เงินเฟ้อสูงต่อไป
Jerome H. Powell
1
📌 ถ้าจะลดเงินเฟ้อให้เหลือตามเป้าที่ 2% อาจต้องยอมเสี่ยงกับเศรษฐกิจถดถอย
นักเศรษฐศาสตร์หลายฝ่าย และคุณ Blinder อดีตรองประธาน Fed ได้ออกมาพูดว่า การจะลดเงินเฟ้อให้กลับมาสู่ระดับเป้าหมายที่ 2% อาจต้องยอมให้เศรษฐกิจหดตัว และ อัตราการว่างงานเพิ่มสูงขึ้น
หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก JPMorgan Chase& Co. ยังออกมาให้ความเห็นอีกว่า เขามองไม่ออกเลยว่าจะคุมเงินเฟ้อให้อยู่ได้อย่างไร ถ้าเศรษฐกิจจะไม่เข้าสู่สภาวะถดถอย
2
โดยนักเศรษฐศาสตร์ต่างก็ออกมาให้ความเห็นว่า ถ้าไม่ต้องลดเงินเฟ้อให้เหลือถึง 2% อาจช่วยให้เศรษฐกิจไม่ต้องเข้าสู่ภาวะถดถอยได้ เช่น
คุณ Ethan Harris หัวหน้าฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจโลกที่ Bank of America Corp. กล่าวว่า Fed อาจเต็มใจประนีประนอมและยอมรับอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงที่ 3% และจัดการกับเงินเฟ้ออย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งจะทำให้สหรัฐฯ สามารถหลีกเลี่ยงการเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้
ในขณะที่คุณ Olivier Blanchard อดีตนักเศรษฐศาสตร์ของ IMF กล่าวว่าธนาคารกลางควรหยุดใช้นโยบายที่เข้มงวด เมื่ออัตราเงินเฟ้อลดลงเหลือ 3% และตั้งอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายใหม่ แทนที่จะเสี่ยงต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยโดยการกดเงินเฟ้อให้เหลือ 2%
📌 เงินเฟ้อที่พุ่งสูงกว่าที่คาด อาจผลักให้ Fed ต้องขึ้นดอกเบี้ย 0.75%
หลังจากที่ตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐอเมริกาในเดือนพฤษภาคมอยู่ที่ 8.6% ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทางธนาคารกลางก็ออกมายอมรับว่า “อาจจะต้องยอมเจ็บตัวบ้าง เพื่อคุมเงินเฟ้อให้อยู่” ซึ่งคำพูดนี้ ก็รวมไปถึงอัตราการว่างงานที่อาจสูงขึ้น แต่ทาง Fed ก็ยังหลีกเลี่ยงที่จะพูดคำว่า เศรษฐกิจถดถอย
อย่างไรก็ตาม นักลงทุน และ นักเศรษฐศาสตร์ต่างก็ได้ออกมาคาดการณ์กันว่า Fed มีแนวโน้มที่จะพิจารณาการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 75 basis points หรือ 0.75% ซึ่งเป็นการขึ้นดอกเบี้ยที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ปี 1994 และจากข้อมูลของ Fed Rate Monitor Tool พบว่านักลงทุนประมาณ 94% เชื่อว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ย 0.75%
Fed Rate Monitor Tool
นอกจากนี้ตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ซึ่งเป็นตัวเลขที่บ่งบอกถึงทัศนคติของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจ และการใช้จ่ายในอนาคต กำลังอยู่ในจุดที่ต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคขาดความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจในอนาคตก็จะลดลงตามไปด้วย
สิ่งนี้ก็ยิ่งสร้างความกังวลให้กับ Fed ในการตัดสินใจเรื่องมาตรการต่อสู้กับเงินเฟ้อ และ เรียกความเชื่อมั่นของผู้บริโภคกลับคืนมา
📌 ทางเลือกที่ลำบากใจ
Alan Blinder อดีตรองประธานธนาคารกลางของสหรัฐฯ ได้ออกมากล่าวว่า ขณะนี้ทาง Fed ต้องชั่งใจให้ดีว่าจะเสี่ยงกับเงินเฟ้อ หรือ เศรษฐกิจถดถอย เพราะ ถ้ายิ่งปล่อยให้เงินเฟ้อสูงอย่างต่อเนื่อง เงินเฟ้อก็จะยิ่งฝังรากลึก และนั่นคือ สิ่งที่เกิดขึ้นกับเหตุการณ์ในช่วง 1970s
อย่างไรก็ตาม ทางอาจารย์ของมหาวิทยาลัย Princeton ออกมาบอกว่า ถ้า Fed ใช้ยาแรงเกินไป ก็สามารถผลักดันเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยที่รุนแรงมากซึ่งส่งผลให้การว่างงานสูงขึ้นได้
📌 ตลาดกังวลเฟดขึ้นดอกเบี้ยแรง 0.75%
จากแรงกดดันที่ว่า Fed จะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อสกัดเงินเฟ้อนั้น ส่งผลให้ในคืนของวันที่ 13 มิถุนายนที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐก็ได้เข้าสู่ภาวะขาลงอย่างเป็นทางการ โดย ดัชนี S&P 500 ลดลงไป 3.88% ดัชนี Nasdaq ลดลงไป 4.68% และ ดัชนี Dow Jones ลดลงไป 2.79%
ในขณะที่ตลาดพันธบัตรก็ค่อนข้างผันผวน โดยตลาดพันธบัตรสหรัฐเกิดภาวะ inverted yield curve เมื่อคืนของวันที่ 13 มิถุนายนที่ผ่านมา หลังอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปีดีดตัวสูงกว่าอายุ 10 ปี
ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนเมษายนและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 5 ปี ได้ดีดตัวสูงกว่าอายุ 10 ปีและ 30 ปี ซึ่งการเกิด Inverted Yield Curve ก็เป็นสัญญาณสะท้อนว่าจะมี Recession ในอนาคต
ก็ต้องรอดูกันว่า ในการประชุมครั้งนี้ Fed จะยอมเจ็บด้วยการทำให้เกิด Recession เพื่อให้เงินเฟ้อลงมาหรือไม่ หรือจะยังคงหลีกเลี่ยงการใช้ยาแรง และหวังว่าเศรษฐกิจจะ Soft Landing ได้สำเร็จ
ผู้เขียน : ณิศรา วาดี Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶️ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Website :
https://www.bnomics.co
Facebook :
https://www.facebook.com/Bnomics.co
Blockdit :
https://www.blockdit.com/bnomics
Line OA : @Bnomics
https://bit.ly/3eYkTJC
Youtube :
https://www.youtube.com/bnomics
Twitter :
https://twitter.com/bnomics_co
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References :
●
https://www.bloomberg.com/news/articles/2022-06-12/powell-facing-choice-between-elevated-us-inflation-and-recession?srnd=economics-vp#xj4y7vzkg
●
https://www.bloomberg.com/news/articles/2022-06-13/stocks-bonds-roiled-by-fears-of-bigger-fed-hikes-markets-wrap?srnd=premium-asia#xj4y7vzkg
●
https://www.nytimes.com/2022/05/12/business/fed-chair-powell-says-getting-inflation-down-will-cause-some-pain.html
●
https://www.reuters.com/business/huge-selloff-rocks-treasury-markets-yield-curve-inverts-2022-06-13/
fed
recession
เฟด
15 บันทึก
17
13
15
17
13
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย