16 มิ.ย. 2022 เวลา 04:00 • สิ่งแวดล้อม
เพื่อลูกปลาทู! ประกาศผิดอ่าวไทยตอนใน ฟื้นฟูฤดูวางไข่สัตว์น้ำใน
ปัญหาการทำประมงเกินขนาดและการจับสัตว์น้ำวัยอ่อน ทำให้ประชากรสัตว์น้ำฟื้นฟูจำนวนไม่ทันและสามารถขาดแคลนกลายเป็นวิกฤตอาหารทะเลได้ หลังจากวิกฤตโควิด-19ได้ผ่านไป การประมงกลับมาคึกครื้นมากขึ้นในการจับสัตว์น้ำ
แม้ในช่วงการปิดพื้นที่และการท่องเที่ยวในภาคใต้ช่วงการระบาดของโควิด-19 จะทำให้สัตว์น้ำได้ฟื้นฟูไปมาก แต่ปัญหาการจับสัตว์น้ำเกินขนาดและการจับสัตว์น้ำวัยอ่อนขึ้นมาก็ยังคงมีอยู่และยังคงเป็นปัญหาที่กรมประมงต้องหาทางเร่งแก้ไขให้เร็วที่สุด
ดังนั้น กรมประมงจึงได้ใช้มาตรการปิดอ่าวไทยเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ ซึ่งมาตรการดังกล่าวได้รับการยืนยันทางวิชาการแล้วว่า การบังคับใช้สอดคล้องกับวงจรชีวิตปลาทู สามารถฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำได้อย่างยั่งยืน และขอความร่วมมือพี่น้องชาวประมงปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด และให้ความร่วมมือกับทางภาครัฐเพื่อการดูแลบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์ของประเทศให้ยั่งยืน
เพื่อการอนุรักษ์ต่อประชากรสัตว์น้ำที่กำลังลดลงเรื่อย ๆ กรมประมงจึงประกาศใช้มาตรการการบริหารจัดการทรัพยากรในช่วงที่สัตว์น้ำเริ่มวางไข่และเลี้ยงดูตัวอ่อนในทะเลอ่าวไทยตอนใน (อ่าวรูปตัว ก) ประจำปี 2565 โดยมีทั้งหมด 2 ช่วง คือ
ช่วงที่ 1 : ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน – 15 สิงหาคม 2565 ในพื้นที่จับสัตว์น้ำอ่าวไทยตอนใน บางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพรชบุรี สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร
ช่วงที่ 2 : ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม – 30 กันยายน 2565 ในพื้นที่จับสัตว์น้ำอ่าวไทยตอนใน ด้านเหนือบางส่วนของจังหวัดสมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา และชลบุรี โดยเริ่มจากอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร และสิ้นสุดที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1,650 ตารางกิโลเมตร
การปิดอ่าวฯ จะส่งผลให้การจับปลาหรือสัตว์น้ำเศรษฐกิจโดยรวมให้ได้รับการปรับตัวสูงขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของกลุ่มปลาผิวน้ำ เช่น ปลาสีกุนเขียว ปลาหลังเขียว และปลาตะเพียนน้ำเค็ม และสำหรับปลาทู ลูกปลาที่เกิดใหม่จะเริ่มว่ายเข้าหาฝั่ง ซึ่งกรมประมงได้ประกาศปิดอ่าวต่อเนื่องบริเวณเขตชายฝั่งของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี ในช่วงเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน เพื่ออนุรักษ์ลูกปลาทูที่เกิดใหม่
หลังปลาทูสาวออกหากินและสามารถเลี้ยงตัวเองได้ จนพวกมันมีขนาดประมาณ 11-12 ซม. หลังจากนั้นพวกมันจะเริ่มเคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่อ่าวไทยตอนใน หรือก็คืออ่าวไทยรูปตัว ก และฝั่งตะวันตกในช่วงเดือนมิถุนายน - กรกฎาคมในช่วงเวลาดังกล่าวเราจะพบปลาทูที่มีขนาด 14-15 ซม. ซึ่งเรียกว่า ปลาทูสาว
ปลาทูสาวที่อยู่หากินในพื้นที่ จะค่อย ๆ เพิ่มจำนวนมากขึ้นเป็นลำดับ และเริ่มเคลื่อนเข้าสู่ก้นอ่าว หรือพื้นที่ปิดฝั่งเหนือช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ในช่วงเวลาดังกล่าวพบปลาทูมีขนาด ประมาณ 16-17 ซม. ซึ่งเป็นขนาดพ่อแม่พันธุ์ เริ่มมีไข่ ปลาทูกลุ่มนี้จะเลี้ยงตัวอยู่ในบริเวณอ่าวไทยตอนในจนปลายปี เมื่อมีความพร้อมที่จะวางไข่ ปลาทูกลุ่มนี้จึงเริ่มอพยพเคลื่อนตัวลงสู่แหล่งวางไข่ในอ่าวไทยตอนกลางอีกครั้ง
เมื่อมาพิจารณาผลจับปลาทูจากเครื่องมือประมงพาณิชย์เฉพาะในพื้นที่อ่าวไทยตอนใน พบว่าปี 2564 มีปริมาณการจับเท่ากับ 3,849 ตัน เพิ่มขึ้นมากกว่าปี 2563 ถึง 2,159 ตัน (ปี 2563 ที่มีผลจับปลาทู 1,690 ตัน) ซึ่งเป็นผลจากการกำหนดมาตรการ
ดังนั้น การดำเนินตามมาตรการจึงต้องมีต่อไป เพื่อคุ้มครองสัตว์น้ำมิให้ถูกจับก่อนที่จะมีโอกาสได้ผสมพันธุ์และวางไข่ หรือถูกจับก่อนวัยอันควร ซึ่งเป็นการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจบนฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้สมดุลภายในขีดความสามารถของระบบนิเวศ และจะเป็นหนทางในการนำปลาทูกลับฟื้นคืนความสมบูรณ์
แต่ยังมีการอนุญาตให้ทำประมงได้ แต่ต้องใช้เครื่องมือประมงให้ถูกประเภทและตามกำหนด สามารถอ่านลิสต์ประเภทเครื่องมือประมงที่อนุญาตได้ที่ >>>
โฆษณา