18 มิ.ย. 2022 เวลา 13:13 • สิ่งแวดล้อม
ตามรายงานของกรมควบคุมมลพิษฯ 10 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีขยะพลาสติกเกิดขึ้น ร้อยละ 12 ของปริมาณขยะทั้งหมด หรือคิดเป็น 2 ล้านตัน นำกลับมาใช้ประโยชน์เฉลี่ยประมาณปีละ 0.5 ล้านตันเท่านั้นเอง ส่วนที่ไม่ได้นำกลับมาใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่เป็นพลาสติกใช้ครั้งเดียว (Single-use plastic)
อาทิ ถุงร้อน ถุงเย็น ถุงหูหิ้ว แก้วพลาสติก หลอดพลาสติก กล่องโฟมใส่อาหาร และถูกทิ้งแบบไม่ได้คัดแยกขยะ กลายเป็นขยะมูลฝอยและไปสู่หลุมฝัง
กลบในที่สุด ขยะเหล่านี้จะใช้พื้นที่ในการกลบมากกว่านี้ขยะประเภทอื่น ทำให้สิ้นเปลืองพื้นที่และงบประมาณในการจัดการอย่างมาก หรืออย่างแย่ก็ไม่ได้ถูกทิ้งให้ถูกต้อง กระจัดกระจายไปตามท่อน้ำ แม่น้ำ ลำคลอง และไปสู่ทะเล
หลายคนคงทราบแล้วว่ารัฐบาลได้มีแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติก ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563 - 2565) ต้นปี 2563 เริ่มมีการแบนถุงพลาสติก แล้วก็พลาสติก Single-use บ้างแล้ว โดยมีหลักการว่าเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
จากรายงานพบว่าการใช้พลาสติกเพื่อผลิตบรรจุภัณฑ์ (Packaging) มีปริมาณมากที่สุด 2.32 ล้านตัน หรือร้อยละ 38.02 ซึ่งบรรจุภัณฑ์พลาสติกเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว (Single-use Plastic) ปัญหาที่ว่าก็เลยเป็นที่มาของการเริ่มแบนการใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง
ซึ่งแผนการก็เริ่มมาตั้งแต่ปี 63 จนถึงปีนี้ 2565
สิ่งที่เราเห็นชัดก็คือ
-แบนถุงหูหิ้วแบบบางที่ได้จากห้าง, ร้านสะดวกซื้อ ฯลฯ
-ห้ามนำเข้า ขายหรือผลิต สินค้าที่มีไมโครบีดส์จากพลาสติก
-เลิกใช้พลาสติกหุ้มฝาขวดน้ำ ดื่ม (Cap Seal)
ในส่วนของแผน แต่ยังเห็นว่ายังใช้เกลื่อนก็มี
-ลด เลิกใช้ กล่องโฟมบรรจุอาหาร (ยังเห็นใช้กันเกลื่อน)
-ลด เลิกใช้ แก้วพลาสติกใช้ครั้งเดียวแบบบาง, หลอดพลาสติก (ยังเห็นใช้กันทั่วไป)
1 ในแผนของกรมควบคุมฯก็คือ สร้างความรู้ความเข้าใจกับทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมป้องกันและแก้ไข โดยเฉพาะลด เลิก พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single-use Plastic) รวมถึงกระตุ้นให้เกิด การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ (Infographic) การลดขยะพลาสติกจากการบริการส่งอาหาร (Food Delivery) และสินค้าออนไลน์
เพื่อเผยแพร่เป็นแนวปฏิบัติให้กับประชาชน ผู้บริโภค ทางสื่อต่างๆ อาทิ เฟสบุ๊ค ไลน์ เว็บไซต์
แต่เพื่อนๆว่ามั้ยว่าหลายคนยังไม่รู้เลย..
เพื่อนๆสามารถเข้าไปอ่านแผนการทั้งหมดได้ที่นี่
แอดจะสรุปทิ้งท้ายว่า ตามแผนปฏิบัติการ ระยะที่ 1 2563-2565 นั้น ภายในปี 2565 มีเป้าหมายว่าจะลด เลิกใช้พลาสติกตามรายการเหล่านี้ ให้ได้ 100%
1. ถุงพลาสติกหูหิ้วแบบบาง (หนาน้อยกว่า 34 ไมครอน)
2. กล่องโฟมบรรจุอาหาร
3. แก้วพลาสติกแบบบาง (หนาน้อยกว่า 100 ไมครอน)
4. หลอดพลาสติก
มาดูกันว่าจะทำได้หรือไม่ แต่ทั้งนี้ก็เป็นความรับผิดชอบของผู้บริโภคทุกคนที่ต้องให้ความร่วมมือกันด้วย ร้านค้าบางร้านอาจจะไม่รู้ก็บอกเล่ากันด้วยนะ
Food delivery นี่ยังใช้กันอยู่เพียบเลยล่ะ
โฆษณา