27 มิ.ย. 2022 เวลา 12:00 • ไลฟ์สไตล์
ตารางเก้าช่องแบบทรีซ ประกอบขึ้นมาจากตารางเก้าช่องที่ผสมผสานระหว่าง
“ตารางแนวนอนสามช่อง” ที่แบ่งตามแกนเวลา (ลำดับก่อนหลังของเวลา) กับ “ตารางแนวตั้งสามช่อง” ที่แบ่งตามแกนระบบ (ขนาดของมุมมอง)
คีย์เวิร์ดตรงนี้คือ “ซ้ายหน้าขวาหลัง” ช่องตรงกลางเป็นเกณฑ์ ซ้ายมือเป็นช่วงเวลาก่อนหน้า ขวามือเป็นจุดเวลาในภายหลัง
เวลาวาดแกนเวลาโดยทั่วไป ยิ่งแกนไปทางซ้ายเท่าไหร่ยิ่งแสดงเวลาก่อนหน้า ยิ่งไปทางขวาเท่าไหร่ยิ่งแสดงเวลาในอนาคต ดังนั้น เห็นแกนแล้วจะเข้าใจทันที
การสร้างนิสัยให้คิดโดยเรียงตามจุดเวลาที่ต่างกันสามแบบในแนวนอน จะได้ผลลัพธ์ดีกว่าที่จินตนาการ เพราะเดิมทีสมองมนุษย์มีกลไกการจำที่เรียกว่า “ความจำแบบอาศัยเหตุการณ์” และถนัดเรื่องการนึกตามลำดับเวลา
แต่ปัจจุบัน โดยเฉพาะในช่วงที่สภาพธุรกิจมีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สิ่งสำคัญคือการ มองสภาพที่เกิดขึ้นในจุดเวลาที่ต่างกัน และคิดแบบภาพอนาคตย้อนกลับ (Backcasting)
สำหรับเรื่องซับซ้อนและวกวน การคิดย้อนกลับจากจุดหมายมายังจุดเริ่มต้น จะแก้ปัญหาได้ง่ายกว่า
เช่น การเตรียมสอบเข้า แทนที่จะเรียนตามลำดับเนื้อหาในหนังสือไปเรื่อย ๆ ให้เริ่มจาก “มาตรการและแนวโน้ม” ที่น่าจะเกิดในอนาคต โดยดูจากข้อสอบเข้าในอดีตของโรงเรียนนั้น และเตรียมสอบ โดยเน้นจุดที่มีความสำคัญชัดเจน น่าจะง่ายกว่าการทำข้อสอบตัวอย่างเฉย ๆ กับการทำข้อสอบตัวอย่าง โดยกำหนดสาขาที่จะให้ความสำคัญ การวิเคราะห์ผลลัพธ์และการจัดการต่อจากนี้น่าจะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
ลองหันมาตระหนักถึงเวลา แล้วสัมผัสถึงความเพิ่มพูนสิ่งใหม่จากการแบ่งส่วนเวลากันดู
เทคนิคจากหนังสือ “TRIZ คิดออกทุกอย่างด้วยตาราง 9 ช่อง”
ทาคางิ โยชิโนริ เขียน
ธนัญ พลแสน แปล
สำนักพิมพ์ Amarin HOW-TO
โฆษณา