17 มิ.ย. 2022 เวลา 08:42 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ทำไมทองคำ และ แร่โลหะมีค่า ถึงเหมาะลงทุนในช่วง “Stagflation”
เมื่อโลกกำลังเข้าสู่ช่วงภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวไปพร้อมกับเงินเฟ้อที่สูงขึ้น จนทำให้เกิดภาวะ Stagflation (ภาวะเศรษฐกิจคงที่ หรือถดถอย ซึ่งเกิดจากอัตราเงินเฟ้อ และอัตราว่างงานที่สูง) ซึ่งมีสาเหตุมาจากปัจจัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลกในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีหลังมานี้ ไม่ว่าจะเป็น
  • การระบาดของโรคโควิด 19
  • สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน ที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกก๊าซธรรมชาติไปทั่วทั้งโลก
  • ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) มีมติในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.5% เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ที่ผ่านมา
การเกิดภาวะ Stagflation ย่อมส่งผลต่อสภาพคล่องและตลาดการลงทุน ที่เกิดการชะลอตัวไปด้วย ทำให้นักลงทุนรายใหญ่และรายย่อย ต้องปรับกลยุทธ์ในการลงทุนรอบใหม่ไปด้วยเช่นกัน
หากมองผ่านประวัติศาสตร์ทางการเงินที่ผ่านมา ก็จะเห็นได้ว่ายังมีสินทรัพย์บางประเภท ที่สามารถช่วยลดความผันผวนทางการเงิน และการลงทุนจากภาวะ Stagflation อยู่เช่นกัน
ซึ่งสินทรัพย์ประเภทนั้นก็คือ “ทอง และแร่โลหะมีค่า” ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจนั่นเอง
แล้วทำไมสินทรัพย์ 2 ประเภทนี้ ถึงเป็นสินทรัพย์ที่เข้ามาช่วยเพิ่มสภาพคล่อง และลดความผันผวนจากการลงทุนในตลาดได้
นั่นเพราะทองคำยังเป็นสินทรัพย์ที่ได้รับความนิยม และเป็นสินทรัพย์หลักของทุนสำรองระหว่างประเทศ ของธนาคารกลางอีกด้วย
ส่วนแร่โลหะมีค่าต่าง ๆ อย่างแร่แพลตตินัม แร่เงิน ก็มีความสำคัญต่อภาคเศรษฐกิจทั้งในประเทศ และนอกประเทศ เพราะสามารถนำไปแปรรูปเพื่อใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของผู้คนได้ เช่น ยานพาหนะ และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ
นอกจากนี้ ทองคำ และแร่โลหะมีค่า ยังถือเป็นสินทรัพย์โภคภัณฑ์ที่ราคา มักจะสวนทางกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวอยู่เป็นประจำ โดยจะเห็นได้จากบทความของ The Balance เว็บไซต์ทางการเงินจากสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 2021 ที่ภาวะ Stagflation ที่เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1974-1975 ทำให้มีอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นอยู่ที่ระหว่าง 10-12% ในช่วงระยะเวลาแค่ 1 ปีเศษ
และส่งผลให้ราคาน้ำมัน มีการปรับฐานราคาที่สูงขึ้น รวมถึงฐานราคาของทองคำ กับแร่โลหะมีค่าด้วยเช่นกัน
เมื่อเศรษฐกิจปัจจุบันมีแนวโน้มการเติบโตที่ชะลอตัวลง สินทรัพย์อย่างทองคำ และแร่โลหะมีค่า จึงเริ่มมีทิศทางของราคาที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
อย่างกรณีเหตุการณ์การบุกเข้าสู่ประเทศยูเครนโดยประเทศรัสเซีย เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 ทำให้ส่งผลต่อราคาทองคำในประเทศไทย โดย ณ เดือนมีนาคม ค.ศ. 2022 ราคาทองคำ จำนวน 1 บาท ได้มีราคาที่พุ่งขึ้นไปสูงถึง 32,100 บาท ซึ่งถือว่าเป็นราคา ณ จุดสูงสุดใหม่ (All time high) ในประเทศไทยเลยทีเดียว
และด้วยความที่ทรัพย์สินเหล่านี้สามารถรักษามูลค่า และไม่เสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา จึงทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่ มองว่าทองคำ กับแร่โลหะมีค่า คือหนึ่งในหลักประกันในการลงทุน ในช่วงที่สินทรัพย์อื่นต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากความผันผวนทางเศรษฐกิจ
แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนที่จะเข้าถึงสินทรัพย์เหล่านี้ได้ง่าย ๆ เพราะการที่จะเข้าถึงสินทรัพย์อย่างทองคำ หรือแร่โลหะมีค่าได้ โดยเฉพาะในช่วงภาวะ Stagflation นั้น ล้วนต้องใช้ต้นทุนทางการเงินเพื่อเข้าถึงในราคาที่สูงขึ้นเป็นเท่าตัว แถมยังต้องลุ้นกับภาวะตลาด ที่เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติเมื่อไร
ฉะนั้น การลงทุนกับกองทุนรวม ที่ลงทุนในสินทรัพย์อย่างทองคำ หรือแร่โลหะมีค่านั้น จึงเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกสำคัญสำหรับนักลงทุน เพราะใช้เงินลงทุนไม่เยอะ และยังสามารถลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุนได้ โดยเฉพาะในภาวะ Stagflation
หากคุณสนใจที่จะลงทุนในกองทุนที่ลงทุนในสินทรัพย์อย่างทองคำ และแร่โลหะมีค่า ขอแนะนำกองทุนเปิด KTAM Gold Fund (KT-GOLD)
และ กองทุนเปิด KTAM World Gold and Precious Equity Fund (KT-PRECIOUS) โดยเน้นการลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับผลตอบแทนของสินทรัพย์โภคภัณฑ์ และสามารถช่วย
ลดความผันผวนที่เกิดขึ้นในพอร์ต จากการลงทุนกับกองทุนกองอื่น ๆ ได้
สำหรับกองทุนเปิดเคแทม โกลด์ ฟันด์ (KT-GOLD) มีนโยบายหลักในการลงทุนกับหน่วยลงทุนของกองทุน SPDR® Gold Trust เพียงกองทุนเดียว โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุน ซึ่งกองทุนมีนโยบายการลงทุนที่มุ่งลงทุนในทองคําแท่ง เพื่อสร้างผลตอบแทนของกองทุนให้ใกล้เคียงกับผลตอบแทนของราคาทองคํา หักด้วยค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายในการจัดการทั้งหมดของกองทุน
และกองทุนเปิดเคแทม เวิลด์ โกลด์ แอนด์ เพรเชียส เอคควิตี้ (KT-PRECIOUS) เป็นกองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรม ซึ่งมีการลงทุนกระจุกตัวในกลุ่มอุตสาหกรรมประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับทองคําและโลหะมีค่า จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจํานวนมาก โดยกองทุนเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Franklin Gold and Precious Metals Fund (กองทุนหลัก) เพียงกองทุนเดียว
ซึ่งกองทุนหลักมีนโยบายการลงทุนที่จะสร้างผลตอบแทนระยะยาวจากการเติบโตของเงินลงทุน ตามศักยภาพการลงทุนในหุ้นของบริษัททั่วโลกที่ดําเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นทองคํา และโลหะมีค่า เช่น แพลตตินัม แพลเลเดียม แร่เงิน เป็นต้น
สำหรับท่านใดที่สนใจหรือต้องการ Fund Fact Sheet สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
กองทุนเปิดเคแทม โกลด์ ฟันด์ : http://bitly.ws/saMM
กองทุนเปิดเคแทม เวิลด์ โกลด์ แอนด์ เพรเชียส เอคควิตี้ : http://bitly.ws/saMP
ลงทุนออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน KTAM Smart Trade ง่าย สะดวก ปลอดภัย
ดาวน์โหลด:
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ ธนาคารกรุงไทย ผู้สนับสนุนการขาย หรือ บลจ.กรุงไทย โทร 02-686-6100 กด 9
คำเตือน:
ปัจจัยความเสี่ยงที่สำคัญ: ความเสี่ยงทางตลาด (Market risk) / ความเสี่ยงจากการดำเนินงานของผู้ออกตราสาร (Business risk) / ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน (Currency risk) / ความเสี่ยงของประเทศที่ลงทุน (Country risk) เป็นต้น
กองทุนนี้มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ กองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ในกรณีที่กองทุนไม่ได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุน หรืออาจจะได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
References:
โฆษณา