17 มิ.ย. 2022 เวลา 07:01
การทำหน้าที่ของพนักงานอัยการ
กรณีที่ผู้เสียหายฟ้องคดีความผิดอาญาแผ่นดินด้วยตนเอง
1 สิทธิในการดำเนินคดีของพนักงานอัยการ แยกต่างหากจากกันกับสิทธิการฟ้องคดีของผู้เสียหาย ซึ่งหมายถึงว่า พนักงานอัยการสามารถฟ้องคดีได้ตามข้อหาความผิดที่ได้สอบสวนและแจ้งข้อกล่าวหา
2 เมื่อมีคดี 2 คดีในการกระทำความผิดเดียวกันอยู่ระหว่างการพิจารณาคดีในศาล ย่อมเป็นฟ้องซ้อน ซึ่งนั่นหมายถึง
คดีที่ผู้เสียหายยื่นฟ้องคดีไว้ก่อนแล้ว แต่ยังไม่ได้ไต่สวนมูลฟ้อง ศาลยังไม่มีคำสั่งประทับรับฟ้องคดีของผู้เสียหาย
หากอัยการยื่นฟ้องเข้าไปอีก
ศาลจะสั่งฟ้องของอัยการอย่างไร?
ป.วิอาญา มาตรา 162
"ถ้าฟ้องถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ให้ศาลจัดการสั่งต่อไปนี้
(1) ในคดีราษฎรเป็นโจทก์ ให้ไต่สวนมูลฟ้อง แต่ถ้าคดีนั้นพนักงานอัยการได้ฟ้องจำเลยโดยข้อหาอย่างเดียวกันด้วยแล้ว ให้จัดการตามอนุมาตรา (2)
(2) ในคดีพนักงานอัยการเป็นโจทก์ ไม่จำเป็นต้องไต่สวนมูลฟ้อง แต่ถ้าเห็นสมควรจะสั่งให้ไต่สวนมูลฟ้องก่อนก็ได้
ในกรณีที่มีการไต่สวนมูลฟ้องดั่งกล่าวแล้ว ถ้าจำเลยให้การรับสารภาพให้ศาลประทับฟ้องไว้พิจารณา"
เนื่องจากฟ้องคดีของผู้เสียหายและคดีของพนักงานอัยการ เป็นคนละข้อหา ศาลก็จะรับฟ้องคดีของอัยการไว้พิจารณาสอบคำให้การจำเลยว่าจะรับสารภาพหรือปฏิเสธ
แล้วข้อหาในคดีของอัยการ เป็นข้อหาที่มีโทษต่ำกว่าคดีที่ผู้เสียหายฟ้อง ดังนั้น การฟ้องคดีของพนักงานอัยการจึงอาจส่งผลเสียหายในรูปคดีการกระทำผิดของจำเลย อันจะมีผลต่อคดีของผู้เสียหายซึ่งคดีอยู่ระหว่างการไต่สวนมูลฟ้องแน่นอน
หากอัยการฟ้องข้อหาเดียวกันที่ผู้เสียหายฟ้อง โดยไม่มีการสอบสวนความผิดในข้อหานั้นมาก่อน ฟ้องของอัยการก็ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พยานหลักฐานที่พนักงานสอบสวน สอบสวนรวบรวมมาส่งให้พนักงานอัยการนั้นไม่ทำให้ถึงขนาดที่จะฟ้องในข้อหาความผิดตามที่ผู้เสียหายฟ้องคดีเองได้
อัยการจะทำอย่างไร ?
เพราะ ม.162 (1) ถ้าผู้เสียหายฟ้องคดี และอัยการฟ้องข้อหาเดียวกันก็ไม่จำต้องไต่สวนมูลฟ้อง แต่เมื่อ ผู้เสียหายฟ้องคนละข้อหาก็ต้องไต่สวนมูลฟ้องในข้อหาที่ผู้เสียหายฟ้องนั้นก่อน
กรณีจึงเกิดการดำเนินการฟ้องคดีคดีอาญา 2 คดี
โดยผู้เสียหาย และพนักงานอัยการนี้ ไม่ว่าจะศาลเดียวกันหรือจะต่างศาลกันเพราะความผิดเกี่ยวพันระหว่าศาลสองศาลขึ้นไป
ปัญหามีเกิดขึ้นได้ตามสิทธิของกฎหมาย
เพราะผู้เสียหายไม่พอใจกับข้อหาที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาไว้นั้น เป็นข้อหาที่ผู้เสียหายเห็นว่ามีระวางโทษเบากว่า ผู้เสียหายจึงใช้สิทธิฟ้องคดีเอง หรือผู้เสียหายเห็นว่าการสอบสวนมีความล่าช้า จึงตัดสินใจฟ้องคดีด้วยตนเองโดยไม่รอความเห็นของพนักงานอัยการ ก็เป็นสิทธิโดยชอบตามกฎหมายของผู้เสียหาย
ปัญหาเกิดความเสียหายจากกรณีนี้คือ
1 ผู้เสียหายอาจใช้การฟ้องคดีเองเป็นช่องทางตกลงกับผู้กระทำความผิด ซึ่งแม้ว่าอัยการจะเข้าร่วมเป็นโจทก์กับผู้เสียหายได้ แต่ก็ใช้คำฟ้องคดีของผู้เสียหายเป็นหลัก ทำให้อาศัยเป็นช่องทางให้เกิดความไม่ยุติธรรมกับสังคมได้ เพราะเมื่อมีการตกลงสมยอมกัน ผู้เสียหายก็อาจถอนฟ้องหรือแก้ไขข้อหาให้เบาและให้จำเลยรับสารภาพไปในข้อหาเบากว่า หากเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว ก็คงถือว่าผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความกันต่อไป
แต่หากเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน จำเลยก็จะรอดจากการถูกลงโทษตามข้อหาที่ได้กระทำความผิดจริง ก็จะไม่ถูกหลักความยุติธรรมโดยรวมของสังคม ส่งผลให้ผู้กระทำความผิดไม่เกรงกลัวบทกฎหมาย
2 เมื่อมีการพิพากษาคดีของผู้เสียหายแล้ว ก็ถือว่าศาลได้พิพากษาในความผิดที่ได้กระทำลงแล้ว หากอัยการขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมก็จะผูกพันตามคำพิพากษานั้น และไม่สามารถฟ้องคดีใหม่ได้ในข้อหาที่ได้แจ้งข้อกล่าวหาในชั้นสอบสวน ตาม ป.วิอาญา มาตรา 39(4)
3 หากผู้เสียหายถอนฟ้องคดี คดีนั้นก็จบไป และถ้ากรณีอัยการเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีผู้เสียหายฟ้องเอง ก็ไม่สามารถฟ้องคดีใหม่ได้อีกแม้จะเป็นความผิดต่อแผ่นดิน เพราะการที่อัยการยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับผู้เสียหาย เมื่อศาลอนุญาตแล้ว เท่ากับอัยการได้ยื่นฟ้องคดีแล้ว
พนักงานอัยการจึงมักไม่ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีของผู้เสียหาย แม้จะเป็นความผิดต่อแผ่นดินก็ตาม
หลักพื้นฐานของกฎหมายนี้ แม้ไม่ได้เขียนบัญญัติไว้ชัดแจ้ง แต่ก็เป็นหลักพื้นฐานที่ผู้กระทำความผิดจะต้องได้รับการพิจารณาในความผิดที่ได้กระทำลงนั้นครั้งเดียว
อย่างไรก็ตาม ตามป.วิอาญา มาตรา36(3) จะให้สิทธิพนักงานอัยการฟ้องคดีอาญาแผ่นดินที่ผู้เสียหายใช้สิทธิดำเนินคดีเองและได้ถอนฟ้องไปจากศาลแล้ว ก็เพราะการถอนฟ้องมีผลลบล้างคำฟ้องเสมือนว่าไม่เคยยื่นฟ้องคดีนั้นมาก่อน
กฎหมายจึงให้สิทธิพนักงานอัยการฟ้องคดีได้ แต่ก็ต้องทำการสอบสวนและแจ้งข้อกล่าวหาแก่ผู้กระทำผิดโดยชอบด้วยกฎหมายนั่นเอง
และพนักงานอัยการย่อมไม่มีทางรู้โดยเอกสารอย่างเป็นทางการแน่นอนว่า ผู้เสียหายได้ฟ้องคดีอาญาด้วยตนเองแล้ว ในทางปฏิบัติแล้ว พนักงานอัยการก็ถือว่าเป็นบุคคลภายนอกคดีของคดีที่ผู้เสียหายใช้สิทธิฟ้องคดีเองต่อศาล
ก็ไม่อาจตรวจขอคัดเอกสารในสำนวนศาลได้ ยกเว้นมีส่วนได้เสียซึ่งต้องร้องขอให้ศาลอนุญาตเสียก่อน หรือร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับผู้เสียหายในคดี
คดีอาญาซึ่งได้ถอนฟ้องจากศาลไปแล้ว จะนำมาฟ้องอีกไม่ได้ตามป.วิอาญา มาตรา36 แต่มีข้อยกเว้น ตามมาตรา 36 (1)(2)(3)
เมื่อผู้เสียหายถอนฟ้องคดีอาญาแผ่นดินก็ไม่ตัดสิทธิพนักงานอัยการที่จะฟ้องคดีภายใต้อายุความ ตามป.วิอาญา มาตรา 36(3) และหากพบข้อเท็จจริงว่ามีการสมยอมตกลงกันในคดีอาญาระหว่างผู้เสียหายกับผู้ต้องหา อัยการก็ต้องบรรยายในประเด็นนี้ในการฟ้องคดีด้วย ให้ศาลพิจารณาถึงความเสียหายต่อความผิดของแผ่นดินตามกฎหมาย และเหตุที่ทำให้พนักงานอัยการนำคดีกลับมาฟ้องคดีในการกระทำความผิดนั้นใหม่
หากกรณีเป็นความผิดต่อส่วนตัว เมื่อผู้เสียหายถอนฟ้องคดีก็จบ อัยการไม่สามารถใช้สิทธิฟ้องคดีได้อีก ตาม ป.วิอาญา มาตรา 36 (3)
ย้อนกลับมาว่า กรณีหากพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีภายหลังจากที่ผู้เสียหายฟ้องคดีแล้ว แม้จะเป็นคนละข้อหาความผิดแต่เมื่อเป็นการกระทำเดียวกัน ก็ถือว่าเป็นฟ้องซ้อน
ปัญหานี้เกิดขึ้นได้ เพราะต่างฝ่ายก็ใช้สิทธิฟ้องคดีตามกฎหมาย เมื่อมีสองคดีในการกระทำความผิดเดียวกัน คู่ความก็มักจะขอให้ศาลสั่งรวมพิจารณา หรือศาลอาจใช้ดุลพินิจสั่งให้รวมพิจารณา เมื่อศาลเห็นชอบโดยพลการ ตาม ป.วิอาญา มาตรา 33
กรณี อัยการฟ้องคดีจำเลย ในการกระทำความผิดเดียวกัน ข้อหาเดียวกัน ภายหลังจากผู้เสียหายฟ้องคดีด้วยตนเอง ศาลจะสั่งอย่างไร?
ในความผิดการกระทำเดียวกัน ข้อหาเดียวกัน หรือต่างข้อหากันแต่เป็นความผิดที่เกี่ยวพันกัน
ศาลก็จะมีคำสั่งรับฟ้องคดีของอัยการไว้พิจารณา
คู่ความโดยเฉพาะจำเลยก็ต้ิงรักษาสิทธิที่ไม่ให้มีการพิจารณาการกระทำเดียวกัน หลายครั้งหลายคดี ก็จะร้องขอให้ศาลรวมพิจารณาคดีไป ตามมาตรา 33 ป.วิอาญา
แต่กรณี ศาลยังไม่ประทับรับฟ้องคดีของผู้เสียหาย ที่ฟ้องเอง แล้วศาลสั่งรับฟ้องคดีที่พนักงานอัยการฟ้อง
คดีของผู้เสียหายก็ไม่จำต้องไต่สวนมูลฟ้อง หากเป็นการฟ้องในข้อหาเดียวกัน
แต่กรณีหาก ผู้เสียหายฟ้องคดีในข้อหาที่มีโทษหนัก แต่พนักงานอัยการฟ้องคดีตามที่ได้ความากการสอบสวนเป็นข้อหาที่มีโทษเบากว่า
ศาลอาจใช้ดุลพินิจรอสั่งคำฟ้องของพนักงานอัยการและเมื่อศาลไต่สวนมูลฟ้องได้ความอย่างไรในคดีที่ผู้เสียหายฟ้องเอง ศาลก็ค่อยมาสั่งคำฟ้องสำนวนของอัยการฟ้อง ก็อยู่ในดุลพินิจ แต่คำสั่งศาลแบบนี้คงไม่ถนัด และไม่ใช่คำสั่งชั้นตรวจรับคำฟ้องที่จะชลอการสั่งฟ้องของอัยการ
ศาลจะสั่งอย่างไร ? ล่ะ
ศาลคงไม่ได้สั่ง เพราะเมื่อความปรากฏแก่พนักงานอัยการ
พนักงานอัยการ จะรอให้ศาลมีคำสั่งไต่สวนมูลฟ้องในคดีที่ผู้เสียหายฟ้องคดีเองหรือไม่ ตรงนี้น่าคิด ?
ในหลักการทางปฏิบัติแล้ว การฟ้องคดีของอัยการหลังจากที่ผู้เสียหายใช้สิทธิฟ้องคดีเองแล้ว คงไม่เป็นธรรมกับผู้กระทำความผิด แม้ว่าในชั้นพิจารณาคดีของศาล ศาลอาจมีคำสั่งรวมพิจารณาคดีได้
กฎหมาย วิ.อาญา มาตรา 33 จึงใช้คำว่า "เมื่อศาลเห็นชอบโดยพลการ" คือให้อำนาจศาลสั่งรวมพิจารณาได้ไม่จำต้องฟังคู่ความ
ด้วยอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการที่ต้องอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน ตาม พรบ.อัยการฯ และ
การฟ้องคดีอาญามีผลต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน
อัยการจะสั่งคดีอย่างไร เมื่อทราบว่าผู้เสียหายฟ้องคดีเอง
ก็อาจยุติการทำความเห็นสั่งฟ้องคดี เพราะผู้เสียหายได้ใช้สิทธิเองแล้ว กลับไปดูในขณะร้องทุกข์กล่าวโทษ ถือว่าผู้เสียหายร้องขอให้ทางการดำเนินคดีตามการกระทำความผิด
เมื่อผู้เสียหายไปใช้สิทธิทางศาลด้วยตนเองก็ถือว่าไม่ประสงค์ให้อัยการดำเนินการฟ้องคดีให้ตามกฎหมาย ก็อาจยุติชั้นตอนการสอบสวน การสั่งคดีตามกฎหมายไว้
ดังนั้น ตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น การพิจารณาสั่งฟ้องในสำนวนสอบสวนของพนักงานอัยการ
พนักงานอัยการคงต้องเลือกว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร ?
สั่งฟ้องน่ะคงมีความเห็นฟ้องคดีแน่นอน
คดีใกล้ขาดอายุความหรือไม่ ? คำตอบคือ ยัง.
คดีจะพ้นอำนาจควบคุมตัวตามกฎหมายหรือไม่ ?
ผู้ต้องหาทุกคนได้รับการประกันตัวระหว่างการสอบสวน จึงไม่ต้องพิจารณาว่า เวลาควบคุมตัวผัดฟ้องจะหมดลงหรือไม่
เมื่อผมอธิบายได้อย่างนี้ จึงเกิดตำถามให้นักกฎหมาย
พิจารณาว่า พนักงานอัยการจะทำอย่างไร ?
เมื่อโดยทางการแล้วนั้น การที่ผู้เสียหายฟ้องคดีเองต่อศาล
ยังไม่มีข้อเท็จจริงในสำนวนสอบสวน แต่เมื่อมีข่าวปรากฏทางสื่อ พนักงานอัยการอาจต้องเรียกผู้เสียหายมาสอบสวนเพิ่มเติมในประเด็นนี้เพื่อประกอบการพิจารณาทำความเห็น
จะเรียกอย่างไร ก็คงให้พนักงานสอบสวน เรียกผู้เสียหายมาสอบเพิ่มเติมในประเด็นนี้ พร้อมขอสำเนาเอกสารคำฟ้องของผู้เสียหายมาพิจารณาประกอบ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับดุลยพิพิจของพนักงานอัยการ
และเมื่อคิด คิด และคิด
หรือว่า นี่เป็นเพียงกลยุทธการศึกที่ได้วางแผนมาแล้ว หรือไม่ อย่างไร?
ใครดูไม่ออก คิดไม่ได้ ก็สุดแต่ใครจะไขว่คว้า....
ส่วนผม ทนายยง กลับคำนึงว่า...
หากเป็นกลยุทธในเชิงคดี
จะแก้ไขจังหวะทางคดีนี้อย่างไร ?
คดีนี้จะเป็นอีกหนึ่งคดีที่จะ
ทำให้เกิดการอุดช่องว่างของกฎหมาย
อันอาจส่งผลถึงความยุติธรรม ที่เรียกว่า
The gap of the Law.
Legal Mind by TanaiYONG
ทนายยง
ภาพประกอบจากเวบไซท์ www.istockphoto.com
โฆษณา